Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thairath Online - ไทยรัฐออนไลน์
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 พ.ค. เวลา 06:30 • ไลฟ์สไตล์
เงินเข้าไว ออกไว เริ่มเครียด นอนไม่หลับ สังเกต 5 สัญญาณอันตราย ที่เราใกล้จะเผชิญปัญหา “หนี้เสีย
เช็ก 5 สัญญาณอันตราย ว่าเราอาจเข้าใกล้ปัญหา “หนี้เสีย” เปิด10 ข้อต้องรู้ ใช้บัตรเครดิตอย่างไร? ไม่ให้เป็น “หนี้” บานปลาย
รู้หรือไม่ว่า 99.7% ของครัวเรือนไทยมีหนี้สิน โดยเป็นหนี้บัตรเครดิตมากที่สุด ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์น่าเป็นห่วง เนื่องจาก หนี้บัตรเครดิต หนี้บริโภค ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และ มีดอกเบี้ยสูงกว่าหนี้บ้านหรือหนี้รถหลายเท่าตัว
อีกทั้งบางคน กำลังสร้าง “วิกฤตหนี้ครัวเรือนถาวร” ด้วยการจ่ายขั้นต่ำทำให้หนี้พอกพูน และติดกับดักหนี้ เป็น “หนี้เสีย”ในระยะยาว
ข้อมูลจาก CardX แพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัล ระบุว่า คำว่า “หนี้” ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากถูกนำไปใช้ให้เกิดรายได้หรือก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต แต่หากก่อหนี้อย่างไม่ระมัดระวังก็อาจเผชิญกับ “หนี้เสีย (Non-Performing Loan หรือ NPL)”
ซึ่งเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินคืนได้ตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกำหนด มักเกิดจากการบริหารการเงินที่มีความผิดพลาดหรือการขาดวินัยทางการเงิน และอาจส่งผลกระทบร้ายแรงที่หลายคนมองข้าม
เช่น การกู้สินเชื่ออื่น ๆ ในอนาคตยากขึ้น เพราะขาดความน่าเชื่อถือทางการเงิน และหากปล่อยหนี้ไว้นาน ดอกเบี้ยสะสมที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งเป็นภาระหนัก ทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลง
นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความน่าเชื่อถือทางการเงิน หนี้เสียทำให้คุณถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง (High Risk) ในสายตาสถาบันการเงินอีกด้วย
5 สัญญาณอันตราย เข้าใกล้ "หนี้เสีย"
สำหรับข้อสังเกต 5 สัญญาณอันตราย ที่อาจสะท้อนได้ว่า เราใกล้จะเผชิญปัญหา “หนี้เสีย” แล้ว มีดังนี้
1. จำยอดหนี้ของตัวเองไม่ได้ เน้นรูดบัตรไม่เน้นจำยอดหนี้ พอรู้ตัวอีกทียอดบัตรเครดิตก็พุ่งสูงเกินงบประมาณไปไกลแล้ว
2. ไม่มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน เงินเข้าไว ออกไว ไม่มีเงินสำรองในบัญชี เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วกลับมาดูในบัญชีกลับไม่มีเงินสำรองเพียงพอในการใช้จ่าย
3. ยอดหนี้สูงเกิน 45% ของรายได้ นี่เป็นสัญญาณอันตรายที่แสดงว่ากำลังมีปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง
4. กู้หนี้ใหม่เพื่อโปะหนี้เก่า เมื่อเริ่มกู้เงินมาใหม่เพื่อใช้หนี้เก่า หนี้ก็จะพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ
5. เริ่มเครียด นอนไม่หลับ หากมีความเครียดจากการเงินทำให้เราขาดสมาธิในการทำงาน นอนไม่ค่อยหลับจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องใช้เงินอย่างระวังที่สุด ต้องรีบปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายทันที
หากเกิดหนี้เสียขึ้นแล้วจะเริ่มแก้ปัญหาอย่างไรดี?
1. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว หากมีหนี้หลายที่การนำหนี้ต่าง ๆ ที่มีอยู่มารวมกันเป็นก้อนเดียวจะช่วยให้ง่ายต่อการชำระคืน ลดอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย และทำให้บริหารเงินได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือควรกำหนดลำดับการชำระหนี้อะไรก่อนหรือหลัง
2. ไม่สร้างหนี้เพิ่ม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ไม่ควรสร้างหนี้เพิ่ม และกำหนดค่าใช้จ่ายรายเดือนของตนเองอย่างเคร่งครัด
3. เจรจาเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หากภาระหนี้หนักเกินกำลังในการชำระแล้ว การขอเจรจากับทางสถาบันทางการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ คุณอาจได้รับข้อเสนอที่ช่วยลดภาระดอกเบี้ย หรือปรับแผนการชำระหนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
Checklist 10 ข้อ ใช้บัตรเครดิตให้ไม่เป็น “หนี้” บานปลาย
- มีการวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือน จดรายรับ รายจ่าย และยอดหนี้ของตัวเองไว้ทั้งหมด
- ชำระหนี้บัตรเครดิตตรงวันครบกำหนดชำระ
- ชำระเต็มจำนวนตามยอดเรียกเก็บอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่เคยชำระค่าบัตรเครเครดิตแบบขั้นต่ำเลย
- ไม่กดเงินสดจากบัตรเครดิต
- เลือกใช้บัตรที่มีไลฟ์สไตล์ และโปรโมชันเหมาะสมกับตัวเอง
- ตรวจสอบโปรโมชันจากบัตรเครดิตก่อนใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
- มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
- ยอดหนี้ไม่เกิน 45% ของรายได้ในแต่ละเดือน
- มีสติทุกครั้งที่รูดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
ที่มา : CardX
อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney
อ่านเพิ่มเติม
thairath.co.th
เงินเข้าไว ออกไว เริ่มเครียด นอนไม่หลับ สังเกต 5 สัญญาณอันตราย ที่เราใกล้จะเผชิญปัญหา “หนี้เสีย
เช็ก 5 สัญญาณอันตราย ว่าเราอาจเข้าใกล้ปัญหา “หนี้เสีย” เปิด10 ข้อต้องรู้ ใช้บัตรเครดิตอย่างไร? ไม่ให้เป็น “หนี้” บานปลาย
บันทึก
5
4
5
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย