Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Histofun Deluxe
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 พ.ค. เวลา 13:00 • ประวัติศาสตร์
• ทำไมไทยมีตราแผ่นดินเป็นรูปครุฑ?
ถ้านึกถึงตราครุฑ เชื่อว่าเราจะต้องนึกถึงตราแผ่นดินของประเทศไทย รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนเอกสารราชการ ว่าแต่เคยสงสัยหรือไหมว่า ทำไมครุฑถึงถูกเลือกให้เป็นตราแผ่นดินของไทย
ประเทศไทยเริ่มปรากฏการใช้ตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตอนนั้นจะใช้ตราแผ่นดินที่เรียกว่า ‘พระราชลัญจกรประจำแผ่นดินสยาม’ หรือเรียกย่อ ๆ ว่าตราอาร์ม ซึ่งตรานี้ก็ได้รับอิทธิพลมาจากตราแผ่นดินแบบที่ประเทศตะวันตกนิยมกันในตอนนั้น
อย่างไรก็ตามเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ตราแผ่นดินแบบเดิมก็ได้ถูกเปลี่ยนเป็น ‘พระราชลัญจกรครุฑพ่าห์’ หรือตราครุฑพ่าห์ (พ่าห์หมายถึงพาหะหรือพาหนะ) ซึ่งจริง ๆ แล้วตราครุฑพ่าห์ปรากฏในหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และเป็นตราตั้งห้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
ครุฑถือเป็นสัตว์พาหนะประจำตัวของพระนารายณ์ และด้วยความที่ไทยมีคติความเชื่อในเรื่องของสมมติเทพและเทวราชา ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียและขอมโบราณ อันเป็นความเชื่อที่ว่า กษัตริย์เป็นร่างอวตารของพระนารายณ์ ดังนั้นครุฑที่เป็นพาหนะของพระนารายณ์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ไปด้วย
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์มีการระบุว่า กษัตริย์ของอยุธยามีตราประจำพระองค์ โดยสัณนิษฐานว่า ตราที่ว่านี้เป็นตรานารายณ์ทรงครุฑหรือตราครุฑพ่าห์
นอกจากนี้ครุฑยังเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความทรงอำนาจ ความเป็นอมตะ และการปกป้องจากสิ่งชั่วร้ายที่เข้ากับบทบาทราชการไทย ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมประเทศไทยมีตราแผ่นดินเป็นรูปครุฑนั่นเอง
ติดตามช่องทางอื่น ๆ ของ Histofun Deluxe
X
http://bit.ly/3AfKmf2
Blockdit
https://bit.ly/4e25dQX
LINE TODAY
https://bit.ly/48uQvRp
Website
https://bit.ly/4fnCVBB
YouTube
https://bit.ly/3YEkhzB
อ้างอิง
• Brandthink. เมืองไทยเมืองพุทธ ทำไมใช้ ‘ครุฑ’ เป็นตราราชการ?.
https://www.brandthink.me/content/inthailandthebuddhistcitywhyusegaruda
• The Cloud. ตราตั้งห้าง
เรื่องราวของตราสัญลักษณ์จากพระเจ้าแผ่นดิน ที่แสดงบรรษัทภิบาลที่ดีแบบสมัยโบราณ.
https://readthecloud.co/scoop-20/
#HistofunDeluxe
ประวัติศาสตร์
5 บันทึก
15
3
5
15
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย