Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 พ.ค. เวลา 10:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไม 'ทองขึ้น' จะขึ้นอีกนานไหม แล้วใครอยู่เบื้องหลัง ?
#ราคาทองคำ ปรับตัวขึ้นในภาพรวม แม้ในระยะสั้นจะปรับตัวลง นักลงทุนแห่เข้าซื้อ ผู้เชี่ยวชาญเตือนราคาอาจผันผวนรุนแรงหากเป็นภาวะฟองสบู่เช่นเดียวกับปี 1980
"ทองคำ" กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีราคาพุ่งกว่า 40% ในปีที่ผ่านมา และเมื่อไม่นานมานี้ ราคาทอง ก็ได้ทะลุแนวต้านที่ 3,500 ดอลลาร์ (ประมาณ 1.23 แสนบาท) ต่อทรอยออนซ์ (หน่วยวัดโลหะมีค่า) ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้จะคำนวณปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้วก็ตาม โดยทำลายสถิติเดิมเมื่อ ม.ค. ปี 1980 ซึ่งขณะนั้นมีราคาอยู่ที่ $850 หรือเทียบเท่าประมาณ $3,493 ในปัจจุบัน (ประมาณ 2.9 หมื่นบาทและ 1.22 แสนบาท ตามลำดับ)
นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า สาเหตุการพุ่งขึ้นของราคาทองคำ ว่า มีหลายปัจจัย โดยมีปัจจัยหลักคือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดเดาได้ของนโยบายการค้าสหรัฐภายใต้รัฐบาลทรัมป์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดการเงิน ในทางกลับกัน ทองคำถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่มั่นคงสำหรับใครหลายคน
นอกจากนี้ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ก็ยิ่งเพิ่มแรงดึงดูดให้นักลงทุนจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญกับความมั่นคงของทองคำเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่น แม้ในอดีตวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดังจะเคยกล่าวถึงทองคำไว้ว่า “ไร้ชีวิตชีวา” และ “ไม่สร้างมูลค่าในอนาคต” เมื่อเทียบกับการลงทุนในธุรกิจที่สร้างผลกำไร
ลูอีส สตรีท นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสจาก สภาทองคำโลก ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ กล่าวว่า “ในสถานการณ์นี้ถือได้ว่าเป็น มรสุมแบบเต็มรูปแบบ หรือ Perfect Storm ของทองคำเลยก็ว่าได้”
“ประเด็นสำคัญคือแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่างก็รุนแรงขึ้น ซึ่งเห็นได้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่พึ่งทำการปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจเมื่อไม่นานมานี้...”
📌 อะไรคือปัจจัยที่จุดประกาย ‘การตื่นทอง’?
ด้วยความหายาก ทองคำจึงถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ นอกจากนี้อุปทานทองคำทั่วโลกมีอยู่อย่างจำกัด โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการขุดทองคำขึ้นมาทั้งหมดประมาณ 216,265 ตัน ตามข้อมูลจากสภาทองคำโลก แม้ปัจจุบันตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นอีกราว 3,500 ตันต่อปี ดังนั้นด้วยความหายากทำให้ทองคำถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ที่สามารถรักษามูลค่าไว้ได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ในฐานะสินทรัพย์เพื่อการลงทุน ทองคำเองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ทองคำ ต่างจากหุ้นที่จะไม่จ่ายเงินปันผลเลย และไม่เหมือนกับพันธบัตรเพราะทองคำไม่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงและคาดการณ์ไม่ได้ นอกจากนี้ การใช้งานทองคำในภาคอุตสาหกรรมก็ถือว่าค่อนข้างจำกัดเช่นเดียวกัน
สิ่งที่เป็นที่ดึงดูดของทองคำคือการเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ และอยู่แยกออกจากระบบธนาคาร นอกจากนี้ ทองคำยังถูกใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ เนื่องจากสกุลเงินมักจะสูญเสียมูลค่าไปตามกาลเวลา ในขณะที่ทองคำกลับไม่เป็นเช่นนั้น
“ทองคำไม่สามารถถูกพิมพ์ขึ้นมาโดยธนาคารกลาง และไม่สามารถเสกขึ้นมาจากอากาศได้” รัส โมลด์ ผู้อำนวยการด้านการลงทุน จากเอเจ เบลล์ บริษัทนายหน้าซื้อขายหุ้น กล่าว พร้อมอธิบายเสริมว่า
“ในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเกิดวิกฤติ สิ่งที่ธนาคารกลางมักทำคือ นโบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยการลดดอกเบี้ยอย่างหนัก เพิ่มปริมาณเงินในระบบ และพิมพ์เงิน ดังนั้น ทองคำจึงถูกมองว่าเป็นที่หลบภัยจากสิ่งเหล่านี้ และยังเป็นสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้”
โกลด์แมน แซคส์ ได้คาดการณ์ว่าราคาทองคำจะแตะ 3,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ประมาณ 1.3 แสนบาท) ภายในสิ้นปี 2025 และพุ่งถึง 4,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 1.4 แสนบาท) ภายในกลางปี 2026
ส่วนบทวิเคราะห์ดังกล่าวยังเสริมว่า หากสหรัฐเผชิญภาวะถดถอย หรือสงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น ราคาทองคำอาจพุ่งถึง 4,500 ดอลลาร์ (ประมาณ 1.57 แสนบาท) ภายในปลายปีนี้เลยทีเดียว
แดน สตรูเวน อธิบายว่า “ตลาดหุ้นสหรัฐมีขนาดใหญ่กว่าตลาดทองคำถึง 200 เท่า ดังนั้น แม้จะมีการเคลื่อนย้ายเงินออกจากตลาดหุ้นหรือจากตลาดพันธบัตรขนาดใหญ่ เพียงเล็กน้อย ก็จะเท่ากับการเพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ใหญ่ในตลาดทองคำซึ่งมีมาร์เก็ตแคปเล็กกว่ามาก”
พูดอีกอย่างก็คือ ไม่จำเป็นต้องเกิดความปั่นป่วนครั้งใหญ่ในตลาดการลงทุนก็ยังคงสามารถดันราคาทองคำให้พุ่งสูงขึ้นได้
อ่านเพิ่มเติม
bangkokbiznews.com
ทำไม ‘ทองขึ้น’ จะขึ้นอีกนานไหม แล้วใครอยู่เบื้องหลัง ?
″ราคาทองคำ” ปรับตัวขึ้นในภาพรวม แม้ในระยะสั้นจะปรับตัวลง นักลงทุนแห่เข้าซื้อ ผู้เชี่ยวชาญเตือนราคาอาจผันผวนรุนแรงหากเป็นภาวะฟองสบู่เช่นเดียวกับปี 1980
อ้างอิง: http://%20https//www.bbc.com/news/articles/c5ygyjy7kz5o
5 บันทึก
7
3
5
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย