22 พ.ค. เวลา 01:08 • สัตว์เลี้ยง

ตอนที่ 9 : 🕸️ รู้มั้ย ? ว่าแมวก็มี Social Distance นะ! 🐈🐈‍⬛

รู้มั้ย? แมวก็มี Social Distance นะ!
ไม่ใช่แค่คนที่ต้องเว้นระยะห่าง… น้องแมวเองก็มี “วงพื้นที่ส่วนตัว” ที่ซับซ้อนและชัดเจนสุด ๆ
แถมถ้าใครเข้าใกล้ผิดจังหวะ ระยะนั้นอาจหมายถึง “หนี” หรือ “ปะทะ“ ได้เลยน้า !
วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “ระยะทางสังคม” ของแมว ว่าแมวแต่ละตัวมองโลกเป็นชั้น ๆ ยังไง ใครเข้าใกล้ได้บ้าง แล้วอาณาเขตของน้องสำคัญขนาดไหน…?
🐾 CAT SOCIAL DISTANCE 🩺
1. Home range (พื้นที่ที่ใช้ทำกิจวัตรหรือสำรวจประจำวัน)
• คือพื้นที่ที่แมวเดินสำรวจหรือใช้ชีวิตเป็นปกติ เช่น เดินเล่น หาอาหาร นอน ฯลฯ
• ลักษณะไม่ตายตัว อาจเป็นวงกลมหรือผิดรูปก็ได้
• ตัวผู้จะมี home range ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยเฉพาะถ้าไม่ได้ทำหมัน (โดยเฉลี่ยมากกว่าตัวเมีย 3.5 เท่า)
• แมวที่มีอาหารเพียงพอ จะใช้พื้นที่เล็กลง
• Home range ของแมวบางตัวอาจทับซ้อนกันได้ (โดยเฉพาะแมวตัวเมียในกลุ่มเดียวกัน แก๊งแมวสาว Gossip girl 😻😻)
2. Territory (อาณาเขตที่ปกป้อง)
• พื้นที่ที่แมวจะปกป้องจริงจัง หากมีแมวแปลกหน้าเข้ามาจะมีแนวโน้มเกิดการ ‘ ปะทะ ‘ 🥊
• อาจซ้อนทับกับ home range ได้ในแมวเลี้ยงในบ้าน
• ถ้าไม่ทับซ้อน โดยทั่วไป territory จะเล็กกว่า home range
• แมวตัวผู้ จะมีพฤติกรรม marking และ patrol อาณาเขตเป็นประจำ
*** patrol : การตรวจตราพื้นที่
3. Social distance (ระยะสังคม)
• ระยะที่แมวรู้สึกปลอดภัยในระดับหนึ่ง “ยอมให้เข้าใกล้ได้“ ทั้งสัตว์ตัวอื่นและคนที่น้องไม่กลัว
• อาจอยู่ห่าง ๆ กันโดยไม่มีการตอบโต้ ไม่ถึงกับเล่นด้วย แต่ไม่ปฏิเสธ
• ถ้าใครเข้ามาในระยะนี้แล้วไม่ถูกใจ น้องอาจส่งสัญญาณเตือน เช่น ขู่ใส่
4. Personal distance (ระยะที่ยอมให้สัมผัสตัวได้🤍)
 
• สำหรับคนหรือสัตว์ที่น้องแมวไว้วางใจสูง เช่น เจ้าของหรือแมวที่อยู่ร่วมกันนาน ๆ
• ยอมให้เข้ามาแตะตัว กอด หรือนอนใกล้กันได้
• แต่ ! ถ้าใครอยู่ในระยะนี้แล้วถูกข่วน เท่ากับน้องอาจเคยไว้ใจ แต่คุณอาจทำอะไรบางอย่างให้น้องไม่พอใจแล้วก็ได้
5. Flight distance (ระยะที่ถอยหนี)
• ระยะที่น้องแมวจะถอยหนีเมื่อมีคนหรือสัตว์ที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาใกล้
• เป็นสัญญาณว่าน้องแมวรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ยังไม่ถึงขั้นก้าวร้าว
• โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 6 ฟุต (ประมาณ 1.8 เมตร) หรือระยะอาจมากกว่านี้ในลูกแมว
6. Critical distance (ระยะที่แมวจะสู้!)
• ระยะที่แมวไม่สามารถหนีได้หรือถูกบีบให้เข้าใกล้เกิน flight distance
• จะเข้าสู่โหมดป้องกันตัวพร้อมบวก เช่น ขู่ ตี หรือกัด คือน้องเลือกที่จะ ‘สู้’ ในระยะนี้
❕ เกร็ดที่น่าสนใจ:
• แมวหลายตัวเลือกเส้นทางเดินซ้ำ ๆ และหากเจอกันตรงจุดตัดเส้นทาง มักจะ “รอให้กัน” ผ่านไปก่อน
• การจัดทรัพยากรในบ้าน เช่น ห้องน้ำ อาหาร ที่นอน ให้เพียงพอและแยกโซน คือกุญแจป้องกันความเครียดจาก “อาณาเขตทับซ้อน”
• แมวบางตัวชอบอยู่ร่วมกับบางตัว แต่ก็มีอีกหลายตัวที่แค่อยู่ร่วมโลกกันได้เฉย ๆ ไม่ได้ผูกพันกัน
🐾 สรุปง่าย ๆ
แมวไม่ใช่สัตว์สังคมแบบหมา แต่มันมีระบบพื้นที่ในหัวซับซ้อนมาก ถ้าเราเข้าใจเรื่องพวกนี้ จะวางเลย์เอาท์บ้านให้แมวอยู่สบายขึ้น ลดปัญหาตีกัน แย่งถาด หรือแม้แต่ “อึฉี่ผิดที่” ได้ดีเลยทีเดียว
แต่พฤติกรรมทางสังคมของแมวนั้นก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาณาเขตหรือบ้านเพียงอย่างเดียว น้องแมวแต่ละตัวมี “วงความสัมพันธ์” ที่ซ้อนทับกันแบบซับซ้อน เราอาจจะต้องค่อยๆสังเกตพฤติกรรมของน้องแมวที่บ้าน ความสัมพันธ์แต่ละตัว เพื่อที่จะได้ประเมิณความสนิทกันได้นั่นเอง
💖 ถ้าอยู่ในระยะ Personal = ไว้ใจ
😺 ถ้าอยู่ในระยะ Social = ยอมรับ
😾 ถ้าเข้าไปใน Critical = ระวังโดนข่วน!
FB : Petจิตสัมผัส
IG : Petจิตสัมผัส
Lemon8 : @petjitsamphas
Youtube : Petจิตสัมผัส [CatscratchPODCAST]
Blockdit : Petจิตสัมผัส [CatscratchPODCAST]
#Petจิตสัมผัส #พฤติกรรมสัตว์เลี้ยง
#พฤติกรรมแมว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา