24 พ.ค. เวลา 03:00 • การตลาด

สูตรเล่า Storytelling “ละครสั้นจีน” ยิงโฆษณา ให้เรายอมเสียเงินดูต่อ เทคนิคที่ปรับใช้ได้กับ การตลาด

-เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็น หรือเคยถูกยิงโฆษณาโปรโมต “ละครสั้นจีน” ที่มีความยาวตอนละประมาณ 2-10 นาที จากแพลตฟอร์มสตรีมมิง เช่น DramaBox หรือ ShotShort ผ่านตากันมาบ้าง
ที่น่าสนใจคือ โฆษณาที่ถูกยิงมา มักจะมีฉากจบแบบ “ค้างคาใจคนดู” ทำให้คนดูอดใจไม่ไหว จนต้องสมัครสมาชิกแพลตฟอร์มนั้น ๆ เพื่อดูต่อ..
รู้หรือไม่ ? เทคนิคตัดจบเนื้อเรื่องในฉากสำคัญ มีชื่อเรียกว่า “Cliffhanger”
ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่น่าสนใจมาก ๆ ในมุมการตลาด เพราะสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับงานโฆษณาได้หลายแบบ
1
แล้ว Cliffhanger สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานโฆษณาแบบไหนได้บ้าง ?
Cliffhanger แปลตรงตัวว่า “คนกำลังโหนหน้าผา”
เป็นเทคนิคการเล่าเรื่องอย่างหนึ่ง ที่ผู้สร้างจะจงใจจบเนื้อหาของตอน หรือบางช่วงของเนื้อเรื่องในแบบที่ค้างคาใจคนดู เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง
 
เหมือนเรากำลังดูหนังสักเรื่อง จนมาถึงฉากไคลแม็กซ์ ที่ตัวเอกกำลังจะตกหน้าผา แต่อยู่ดี ๆ หนังก็ตัดจบแบบดื้อ ๆ โดยที่เรายังไม่รู้ว่าตัวเอกจะรอดหรือไม่รอด เพื่อกระตุ้นให้เราอยากดูภาคต่อ
1
ซึ่งถ้าใครดูละครสั้นจีนบ่อย ๆ ก็จะเห็นได้เลยว่า ละครสั้นจีน โดยเฉพาะตอนที่เอามาโฆษณาตามโซเชียลมีเดีย จะมีการใช้เทคนิค Cliffhanger ที่เล่าเรื่องแบบไม่เคลียร์ และตัดจบในตอนที่กำลังถึงจุดพีกเสมอ
1
ยกตัวอย่างพล็อตที่นิยมมาก ๆ เช่น พระเอก มักจะเป็นตัวละครที่รวยมาก ๆ และเป็น CEO บริษัทที่นางเอกทำงาน แต่มีเหตุต้องปกปิดตัวจริงเอาไว้
ซึ่งในตอนต้นเรื่อง พระเอกมักจะเป็นฝ่ายกลั่นแกล้งนางเอก แต่เมื่อรู้ความจริงว่านางเอกเป็นคนดี ขยัน ที่มักถูกคนอื่น ๆ ในบริษัทดูถูกและกลั่นแกล้ง จึงพยายามหาทางช่วยเหลือนางเอก
3
จุดพีกอยู่ตรงที่ว่า วันหนึ่งนางเอกกำลังถูกกลั่นแกล้งอย่างหนัก หรืออาจถูกไล่ออกจากบริษัท เป็นเหตุให้พระเอกต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง
ซึ่งในตอนหลังจากเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงนี้เอง ที่จะมีการ “ตัดจบตอน”
ใครที่อยากดูต่อว่า หลังจากนี้เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ก็ต้องไปเสียเงินสมัครสมาชิกแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพื่อดูต่อ
ปัจจุบันแพลตฟอร์มที่สตรีมมิงละครสั้นจีน ก็มีเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น DramaBox, ShotShort, ShortMax, NetShort และ ShortsWave
1
โดยโมเดลการคิดค่าบริการก็แตกต่างกันออกไป มีทั้งแบบ “สมัครสมาชิกรายเดือน (Subscription)” คล้ายกับโมเดลธุรกิจของ Netflix
2
และอีกระบบคือ “Coins” ที่ให้เราซื้อเหรียญก่อน เพื่อนำไปปลดล็อกละครสั้นแต่ละตอน ซึ่งข้อดีของระบบแบบนี้คือ เราสามารถข้ามตอนที่ไม่อยากดูได้ โดยที่ไม่เสียเงิน
ยกตัวอย่างแพลตฟอร์ม DramaBox จะมีทั้งการเรียกเก็บค่าบริการแบบ Subscription อยู่ที่ราคา 299 บาทต่อสัปดาห์ และ 2,990 บาทต่อปี
1
รวมถึงยังมีโมเดล Coins เช่น 500 Coins ในราคา 199 บาท
ซึ่งละครสั้นแต่ละตอนก็จะใช้จำนวน Coins แตกต่างกันออกไป ตามความยาวหรือตามเนื้อหาของตอนนั้น ๆ
- ทีนี้มาดูกันว่า เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Cliffhanger จะเอาไปประยุกต์ใช้กับการตลาดและโฆษณาได้อย่างไร ?
ต้องบอกก่อนว่าในมุมจิตวิทยา การตัดจบแบบ Cliffhanger จะทำให้คนดูเกิดความรู้สึกค้างคา และอยากดูเนื้อเรื่องต่อ
ซึ่งความรู้สึกตรงนี้จะเป็นตัวกระตุ้นชั้นดี ให้เกิดปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า “Zeigarnik Effect” หรือภาวะค้างคาจากการทำอะไรไม่สำเร็จ และเราจะจดจำเรื่องนั้น ๆ ได้ดีกว่าเรื่องอื่น
1
เหมือนกับว่าเรามีงานค้างที่ยังทำไม่เสร็จ แต่เราเลือกพักงานเอาไว้แล้วไปเที่ยวทะเล
แบบนี้เราจะมีความรู้สึกว่า “ต้องทำงานให้เสร็จ” ตลอดการเที่ยวทะเล ไปจนกว่าเราจะกลับมาทำงานต่อ
โดยเรื่องนี้เคยมีการทดลองกันอย่างจริงจัง เมื่อปี ค.ศ. 1927 โดยนักจิตวิทยาชื่อว่าคุณ Bluma Zeigarnik ที่ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความสามารถในการจดจำสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์
ด้วยการให้ผู้ร่วมทดลองราว ๆ 20 คนมาทำภารกิจแก้ไขปริศนาต่าง ๆ หลายชุด เช่น ร้อยลูกปัด, แก้โจทย์คณิตศาสตร์ และอื่น ๆ โดยจะคอยขัดจังหวะการแก้ปริศนาของผู้ร่วมทดลองไปด้วย
1
และตอนท้ายของการทดลอง คุณ Zeigarnik จะถามผู้ร่วมทดลองว่าจำปริศนาชุดไหนได้บ้าง ?
ผลก็คือผู้ร่วมทดลองจะสามารถจำ “ปริศนาที่ถูกขัดจังหวะ” ได้ดีกว่าปริศนาแบบปกติถึงสองเท่า
1
สะท้อนให้เห็นว่าคนเราจะมีแนวโน้มจดจำ “สิ่งที่ถูกขัดจังหวะ” ได้ดีกว่าเรื่องปกติ
1
โดยปรากฏการณ์ตรงนี้ ถ้าเอามาใช้ในมุมการตลาดจะเป็นประโยชน์มาก ๆ โดยเฉพาะกับการสร้าง Awareness ให้ลูกค้าจำแบรนด์ได้นาน ๆ
ที่ผ่านมาก็มีหลายเคสที่เอาเทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Cliffhanger ปล่อยให้คนค้างคา มากระตุ้นให้เกิด Zeigarnik Effect ไปประยุกต์ใช้กับงานการตลาดให้เห็นกันบ่อย ๆ
ยกตัวอย่างเช่น
- McDonald’s แบรนด์อาหารฟาสต์ฟูดชื่อดัง เคยทำป้ายโฆษณา ที่โชว์โลโกตัว “M” จากคำว่า McDonald’s แค่ครึ่งเดียว
1
เพื่อกระตุ้นให้คนไปคิดต่อว่าส่วนที่ขาดไปคืออะไร ทำให้ชื่อแบรนด์มีโอกาสอยู่ในหัวลูกค้านานขึ้น
- คุณ Brandon Stanton นักเขียนจาก Humans of New York บล็อกชื่อดังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
วิถีชีวิตของผู้คน ที่เคยนำเทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Cliffhanger มาใช้กับโพสต์บน Instagram
ด้วยการเล่าเรื่องแบบไม่จบในโพสต์เดียว แต่จะหยุดไว้ตรงจุดพีกของเรื่อง จากนั้นจะเว้นช่วงประมาณ 4-6 ชั่วโมง หรือเป็นวัน ก่อนปล่อยตอนต่อไป
1
ผลคือการโพสต์ลักษณะนี้ทำให้เกิด Engagement สูงกว่าปกติ ทั้งในแง่ของคอมเมนต์และยอดแชร์ ที่เยอะกว่าโพสต์แบบปกติ
1
อ่านถึงตรงนี้ สรุปง่าย ๆ อีกครั้ง คือ ละครสั้นจีนจะใช้เทคนิค Cliffhanger มาเล่าเรื่องให้คนดูค้างคาใจ ซึ่งมีผลเชิงจิตวิทยา ทำให้คนอยากดูต่อ และเทคนิคนี้สามารถเอามาใช้กับการตลาดได้
 
แต่ต้องเตือนก่อนว่าการใช้เทคนิค Cliffhanger นั้นอาจจะไม่ได้ง่าย เหมือนแค่ว่า การเล่าเรื่องอะไรสักอย่างให้ไม่จบในตอนเดียว
1
เพราะความท้าทายอย่างหนึ่งของการใช้เทคนิค Cliffhanger ก็คือการทำอย่างไรก็ได้ ให้คนรู้สึกว่าอยากติดตามสิ่งที่เราพยายามจะสื่อสารต่อให้ได้ต่างหาก..
โฆษณา