29 มิ.ย. เวลา 01:00 • ธุรกิจ

Dunning Kruger Effect — จะปรับใช้อย่างไร? + คำแนะนำช่วงท้าย*สำคัญ

หัวข้อเรื่อง Dunning Kruger Effect — คนที่มีประสบการณ์กับการ Trade ก็คงคุ้นหูกันมาระดับนึงแล้ว ผมก็อาจจะไม่ลงลึกถึงรายละเอียดมากอาจจะแตะคร่าวๆนะครับ เน้นเข้าใจและนำไปใช้
เข้าเรื่องกัน — Dunning Kruger Effect เป็นเรื่องของความรู้และความมั่นใจครับ ซึ่งมันก็เป็นสาเหตุว่า ทำไมตอนที่เราเริ่ม Trade เรากดเข้า Trade แบบคิดน้อยได้ตังไว (แต่ความจริงก็เสียตังไวด้วย) พอเวลาผ่านไป กด Trade เรากลับกลัว นอนไม่หลับ มือเปียก ใจสั่น เพราะความมั่นใจที่เราเคยมีมันหายไปครับ
Dunning Kruger Effect จะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง (เป็นช่วงที่อธิบายการพัฒนาการของการเรียนรู้ครับ)
1. Unconscious incompetence (ไม่รู้สึกตัว ไม่มีความรู้) > จะเป็นช่วงที่เรามีความมั่นใจสูงมากกก(ไม่รู้ตัว) เพราะเกิดจากความไม่รู้ ไม่รู้ขนาดที่ว่าไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร ก็จะทำให้เราไม่คิดมากเวลาตัดสินใจทำอะไรครับ
2. Conscious incompetence (รู้สึกตัวแต่ไม่มีความรู้) > หลายๆคนจะอยู่ในช่วงนี้ และ เป็นช่วงที่ยาวนานมาก ครับ โดยเป็นช่วงที่เราเริ่มมีความรู้ขึ้นมาระดับนึง แต่ความมั่นใจในการ Trade ร่วงลงพื้น เพราะว่า เรารู้ตัวเองแล้วว่ามีหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ครับ
ซึ่งจุดนี้แหละครับที่เป็นจุดสำคัญ การ Trade มันต้องใช้ความมั่นใจครับ (อย่างน้อยก็ต้องมีระดับนึง) หากเราไม่มีความมั่นใจสิ่งที่จะตามมา คือ ความกลัว และ ความกังวล แม้ว่ามันจะน้อยแต่ถ้ามันทะลุมามีผลต่อการตัดสินใจของเราแม้แต่เล็กน้อย ผลของ Trade นั้นก็เปลี่ยนไปได้เลยครับ *เป็นเรื่อง Micro Influences ที่แยกพูดได้ต่ออีกเรื่องเลย รอติดตามนะครับ
ทำให้เหมือนทุกอย่างมันทับถมเราไปหมดเลยครับ Trade ก็ไม่ค่อยดี จิตใจก็เสีย ความเครียดก็มา แล้วก็วนลูปให้การ Trade มันแย่กว่าเดิมครับ
3. Conscious competence (รู้สึกตัวและมีความรู้) > เป็นช่วงที่เราสังสมความรู้มาได้ระดับนึง และ แน่นอนว่าความมั่นใจก็ค่อยๆเพิ่มตามขึ้นมา จากความรู้ที่เรามี ถ้าเทียบขั้นตอนนี้กับ Qualification แล้ว ก็คงเป็นช่วงที่เราเพิ่งได้ Qualification มาหมาดๆ แต่ยังขาดประสบการณ์การ Trade ในตลาดจริง(Live Market) อยู่ แต่เราก็มีความมั่นใจในตัวเอง หรือ มั่นใจในระบบตัวเองขึ้นมาระดับหนึ่งครับ
4. Unconscious competence (ไม่รู้สึกตัวแต่มีความรู้) > เป็นช่วงที่ความรู้ความสามารถที่เราสังสมมา เข้าไปในส่วนจิตใต้สำนึกแล้วครับ ซึ่งจะทำให้ Trader ที่ไปถึงจุดนั้นได้ จะ Trade โดยที่มีความเครียดต่ำหรือไม่มีเลย เพราะ เขาเข้าใจอย่าง “ถ่องแท้” ว่าความเป็นไปได้ของเขาอยู่ที่จุดไหนตั้งความคาดหวังไว้ที่ไหน และ แผนการหรือระบบของเขาเป็นอย่างไรครับ
(ถ้าสังเกตุจาก Chart เส้นตามที่แนบมาก็จะสังเกตุว่าแม้ว่าเรารู้แค่ไหนความมั่นใจเราจะไม่เท่าเดิมเหมือนช่วงที่เราเริ่มครับ มันก็มาจากการที่พอเรามีความรู้เราก็จะมีความระมัดระวังบางอย่างที่ต้องผ่านการคิดไตร่ตรองก่อนตามธรรมชาติครับ)
แล้วเราจะปรับใช้กับการ Trade ได้อย่างไร??
พอได้เห็น Concept ของการเรียนรู้แล้วก็จะเห็นได้ว่า “มันไม่เห็นตรงกับชีวิตจริงเลย” ใช่ครับ… คุณอ่านไม่ผิด มันไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดเดียวคือความรู้ได้ได้ เพราะว่า ในความมั่นใจในทุกๆอย่างไม่ว่าการทำงาน กิจกรรมต่างๆ(รวมถึงการ Trade) สิ่งที่มีผลกับความมั่นใจในความเป็นจริงแล้วมันมีปัจจัยอีกหลายส่วนที่เข้ามาเล่นกับเรานอกจากความรู้ครับ เช่น สภาพจิตโดยรวม สภาพแวดล้อม ความเครียดสะสม และ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ดังนั้นมันก็อาจจะปรับใช้ได้ไม่ 100% ครับ
(เป็นแนวทางที่จะช่วยทำให้เรามองเห็นตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้นครับว่าเราอยู่ตรงไหน)
เช่น สมมติในกรณีตัวผมเอง (จากประสบการณ์ตาม Concept) ช่วงเวลาการ Trade ของผมมันจะมีช่วงที่เรียกได้ว่า Peak performance มากจะ Win จะ Loss มาได้หมดนิ่งสงบไม่สั่นไหว เพราะ รู้ในใจลึกๆว่าระบบเราออกแบบมาเป็นแบบไหน มั่นใจแต่ไม่มั่นหน้า แต่แน่นอนครับ สมมติว่า มีปัญหาการนอน หรือ ความเครียดสะสม(อาจจะมาจากความเครียดตามธรรมชาติของการ Trade ก็ได้) มันก็ทำให้สภาพจิต หรือ ความมั่นใจเราก็น้อยลงไปได้ แม้เรามีความรู้ที่มากพอปัจจัยอื่นๆภายนอกก็อาจทะลุเข้ามามีผลกับการ Trade ได้อยู่บ้างครับ
ดังนั้น Trader ที่ประสบความสำเร็จเลยต้องมีมาตรการบางอย่าง (เห็นไหมครับ “วางแผนก่อน”) เพื่อจัดการในส่วนนี้ครับ เช่น ถ้าสภาพจิตใจเราไม่พร้อม(จากตัวชี้วัดอะไรบางอย่าง) จะพัก 2 วัน หรืออะไรก็ว่าไป เพื่อรองรับสภาพจิตใจตรงนั้น ให้มันไม่กระทบกับการ Trade ครับ อย่าลืมคิดส่วนนี้เข้าไปด้วยนะครับ
*คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับคนแต่ละช่วง
1. Unconscious incompetence (ไม่รู้สึกตัว ไม่มีความรู้) แน่นอนว่าตื่นรู้ให้เร็วที่สุดครับ (คนที่เพิ่งเริ่มต้นยังเสียหายไปไม่เยอะยังทันครับ) ว่า การ Trade มันยาก(ถ้าง่ายก็คงรวยกันหมดแล้ว) และ ไม่ใช่หนทางรวยเร็ว(แต่ละคนใช้เวลาไม่เท่ากันเร็วช้าไม่เหมือนกัน ส่วนของคุณเดี๋ยวมันแสดงให้เห็นเองครับว่าช้าหรือเร็ว)
2. Conscious incompetence (รู้สึกตัวแต่ไม่มีความรู้) หลายๆคนที่อยู่ใน Phase นี้(แล้วก็เป็นช่วงที่ล้มเลิกกันมากที่สุด) มีคำแนะนำดังนี้ครับ
ประการแรก ถ้าพอเริ่มศึกษาแล้วคิดว่า “เราไม่ได้ชอบ Trade ขนาดนั้น” หรือ “ทางนี้มันไม่ใช่ทางของเรา” แนะนำให้เลิก Trade ให้เร็วที่สุดครับแล้ว ไม่ต้องหันหลังกลับมา (มันไม่ต่างอะไรกับตอนที่คุณทนทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบเลย ทรมาณครับ)
ประการที่สอง ถ้าเห็นแล้วยังรู้สึกอยู่ว่า “มันคืออาชีพที่เราอยากเป็นจริงๆ” หรือ “ชอบการ Trade” (ไม่ใช่ชอบแค่เงิน) ไปต่อครับ แบกคำพูดที่คุณมีไปด้วยมันจะเป็นเชื้อเพลิงให้คุณสามารถเดินหน้าต่อได้ครับ แล้วเรียนรู้ต่อไป
(เช่น ยังไม่มี Qualification ก็ไปหา Qualification ก่อน หรือ มี Qualification แล้วแต่ยังมีปัญหาด้านจิตวิทยาอยู่ก็ค่อยๆแก้ครับ ไม่ต้องกดดันว่าต้องแก้แต่ก็อย่าปล่อยให้มันเป็นปัญหาเรื่อยๆครับ)
ข้อสังเกตุ คือ ความคิดนึงที่ผมมี พอพยายามไปจุดนึงแล้วมันไม่ประสบความสำเร็จซักที มันก็มีความคิดว่า “มันใช่ทางของเราไหม” โดยที่ยังรู้โดยลึกๆภายในจิตใจว่าผมอยากทำมันให้เป็นอาชีพของผมเอง (ฟีลเหมือนเราเลือกทางนี้ แต่ ”ทาง” จะเลือกเราเหมือนกันไหม) ให้ซะคิดว่า “เราขับรถ ถนนไม่ได้เลือกเราครับ เราเลือกถนน” มันเป็นแค่ความรู้สึกท้อแท้ปกติที่มีได้ครับ — เดินมุ่งหน้าต่อไปในถนนของ Trader นะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ
3. Conscious competence & 4. Unconscious competence > คุณมาถูกทางแล้วครับเดินหน้าต่อไป Maintain ในสิ่งที่คุณต้องทำไปเรื่อยๆครับ
-----------------------------------------------------
ถ้าอ่านมาถึงจุดนี้ได้คุณเก่งมากเลยครับ Keep going นะครับอย่าให้ไฟที่มีมันมอดไปซะก่อน
มีอะไรสงสัยส่งข้อความมาถาม หรือ คอมเม้นได้เลยนะครับยินดีตอบ (ถ้าคอมเม้นจะดีมากครับจะได้แบ่งปันความรู้ หรือ Idea กันนะครับ)
Tiel Trader มี Fanpage ด้วยนะครับจะโพสรวมบทความ + เนื้อหาจิปาถะ
โฆษณา