12 มิ.ย. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม

"แก้วบุษรา" พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้

แก้วบุษรา Codonoboea filicalyx (B.L.Burtt) D.J.Middleton เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสั้น มีไหลทอดนอนยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร มีขนกำมะหยี่สีขาวปกคลุมทั่วทั้งต้น
ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ชิดกันที่ปลายยอด รูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีแถบสีขาวตามแนวเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ
ช่อดอก กระจุกลดรูปมีดอกเดียว ดอกรูปกรวย สีขาวอมเหลือง ด้านในคอหลอดมีตุ่มเล็ก ๆ กลีบปากด้านล่างมีแถบสีเหลืองเข้ม 2 แถบ กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ผลทรงกระบอก เมื่อแก่แตกแนวเดียวด้านบน
เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พบตามสันเขาในป่าดิบชื้น ขึ้นบนซากพืช ในที่มีแสงรำไร ความสูง 300-1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล
📷 : Chit Manokitudom
ที่มา : อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จังหวัดปัตตานี
#แก้วบุษรา #อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว #ปัตตานี
#สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่6สาขาปัตตานี #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา