25 มิ.ย. เวลา 05:55 • การเมือง
เดี๋ยวนะ...ได้ทำการศึกษาข้อมูล หรืออ่านข่าวสารภาครัฐไหมคะ? วางเรื่องการเมืองลงก่อนค่ะ
1. การกำหนดค่าแร่งขั้นต่ำของไทยว่าควรจะเป็นเท่าใด จะต้องเกิดจากมติคณะกรรมการค่าจ้างของไทย ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะบทบาทประธาน ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล 4 คน และผู้แทนจากฝ่ายนายจ้าง และจากฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน
นอกจากนี้ คณะกรรมการค่าจ้าง จะต้องแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 5 คน เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงาน การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม หรือกฎหมาย
จะเห็นได้ว่า มีการวางระบบกลไกคณะกรรมการค่าจ้างไว้เพื่อให้เกิดการคานและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
2. ค่าแรงขั้นต่ำในไทยที่ 400 บาท ถูกบังคับใช้ ตามประกาศมาตั้งแต่ต้นปี 2568 แต่กำหนดเฉพาะแรงงานที่ต้องทำงานในพื้นที่เขตศก.พิเศษ หรืออุตสาหกรรมพิเศษ นั่นคือ ภูเก็ต ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง เกาะสมุย และสุราษฎร์
ทั้งนี้ นับแต่ 1 ก.ค. 2568 ที่จะถึงนี้ ค่าแรงขั้นต่ำในเขตกทม. จะขยับตามเป็น 400 บาทต่อวัน จากเดิมที่ทยอยปรับรอบแรก 353 บาทต่อวัน มาเป็น 372 บาทต่อวัน และปรับจนกระทั่งมาถึง 400 บาทต่อวัน ตามประกาศ
3. จะเห็นได้ว่าภาครัฐ มีการวางระบบกลไกการคานอำนาจไว้ดีแล้ว ตามมาตรฐานสากลระดับโลก โดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO ที่ไทยเราเป็นสมาชิกอยู่ค่ะ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถวิเคราะห์จากมุมมองแรงงานทั่วไปเพียงถ่ายเดียวได้
การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำไม่มีใครได้ใครเสียแท้จริง
ในฐานะนายจ้าง ต้นทุนคชจ.แรงงานเพิ่ม
ก็ย่อมจะมีผลต่อผลประกอบการโดยรวม
ในฐานะลูกจ้าง รายได้ที่เพิ่มขึ้น อาจไม่เพิ่มจริง
เพราะราคาสินค้าบางส่วนจะปรับตัวสูงขึ้น
ลูกจ้างที่มีรายได้เพิ่ม หมายถึงฐานภาษีที่เพิ่มขึ้น
................................
นายกฯ คณะรัฐมนตรี สส. นักการเมือง
มีแต่ได้กับได้ค่ะ
หากค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น บอกว่าผลงานรบ.
ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ขึ้น บอกว่ารบ.ได้ผลักดันแล้ว
ทั้งที่ ไม่ได้มีอำนาจเต็ม 100
ในการเข้ามาก้าวก่ายใดๆตั้งแต่แรก
โฆษณา