1 ก.ค. เวลา 06:00 • ข่าวรอบโลก

ทำไม นโยบายเศรษฐกิจ ของ 'ซูบียันโต' กำลังทำร้ายอินโดนีเซีย

ประธานาธิบดี “ปราโบโว ซูบียันโต” ให้คะแนนผลงานตัวเองในช่วงหกเดือนแรกของการปฏิบัติงานที่ 6 คะแนนจาก 10 คะแนน ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ตัดภาพมาดูที่ข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2025 แสดงผลงานที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ปี 2021 โดยนักธุรกิจในกรุงจาการ์ตาแสดงความกังวลต่อการขาดแคลนความเชื่อมั่นทางธุรกิจ อย่างการเดินทางในช่วงวันหยุดยาวทางศาสนา “เทศกาลวันอีฎิลฟิตริ” ลดลง 24% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศที่ปกติมักขยายตัวในช่วงเวลาดังกล่าว
“ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค” หดตัวลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนธ.ค. โดยยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลง 3% ในช่วงเดือนม.ค.ถึงเม.ย. เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ดัชนีหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลดลงมากกว่า 10% นับตั้งแต่ประธานาธิบดีประโบโวเข้ารับตำแหน่งในเดือนต.ค.
สกุลเงินรูเปียห์อ่อนค่าลง 7% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย. ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เคยแตะในช่วงวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-1998 ขณะที่ส่วนต่างของ Credit Default Swap ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นสะท้อนความกังวลของนักลงทุนต่อความยั่งยืนทางการคลัง
"โครงการอาหารกลางวันฟรี" ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงหลักของประธานาธิบดีปราโบโวกลายเป็นประเด็นท้าทายสำคัญ พี่ชายของประธานาธิบดีแถลงในเดือนม.ค.ว่าเขาสัญญาว่าจะใส่เงินอีก 6 พันล้านดอลลาร์สำหรับโครงการนี้ ซึ่งจะทำให้งบประมาณทั้งโครงการแตะ 1 แสนล้านบาท
📌 กฎหมายอนุญาติขาดดุลได้แค่ 3%
กฎหมายปี 2003 กำหนดให้การขาดดุลงบประมาณไม่เกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ขณะที่งบประมาณปี 2025 คาดการณ์การขาดดุลที่ 2.5%ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม แผนการใช้เงินทั้งหมดของรัฐบาลอาจมีค่าใช้จ่าย 0.9% ของจีดีพี ตามการประเมินของ Euben Paracuelles จากธนาคาร Nomura
บทวิเคราะห์ของดิอีโอโนมิสต์ ระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้ตัดลดงบประมาณแบบครั้งเดียว (one-time efficiency savings) มูลค่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการลดงบประมาณของกระทรวงโครงการสาธารณะลง70% รัฐบาลอินโดนีเซียคาดหวังว่าจะเก็บภาษีได้มากขึ้น 11% ในปี 2025 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า โดยประธานาธิบดีปราโบโวจัดตั้ง “หน่วยงานรายได้ของรัฐ” ที่รายงานตรงต่อตัวเขาเอง
กระทรวงการคลังเปิดตัวระบบออนไลน์ชื่อ Coretax เพื่อช่วยในการยื่นแบบและจัดเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ประสบปัญหาเทคนิค 34 จุด และในสองเดือนแรกของปีจนทำให้อินโดนีเซียมีการขาดดุลงบประมาณที่ไม่คาดคิด เนื่องจากรายได้จากภาษีลดลง 30% เพราะประชาชนและธุรกิจยื่นภาษีไม่ได้หรือยากลำบาก
นอกจากนี้ การเปิดตัวกองทุนความมั่นคั่งแห่งชาติ Danantara ในเดือนก.พ.เพิ่มความสับสนให้กับนักลงทุนเพราะการจัดตั้งกองทุนใหม่ในช่วงที่เศรษฐกิจประสบปัญหาอาจสร้างความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางการบริหารจัดการสินทรัพย์ของรัฐ
ความท้าทายทั้งหมดพิจารณาประกอบกับการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศแผนการเก็บภาษีศุลกากร 32% จากสินค้าส่งออกของอินโดนีเซียไปยังสหรัฐอเมริกา โดยนางศรี มูลยานี อินทราวาตี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแสดงความกังวลว่าภาษีศุลกากรอาจลดอัตราการเติบโตระยะยาวของอินโดนีเซียลง 0.5
จากข้อมูลที่อธิบายมาทั้งหมดจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าท่ามกลางปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่เกิดจากการทำนโยบายของบราโบโวแล้ว อินโดนีเซียก็กำลังเผชิญกับความท้าทายนอกจากประจากภาษีศุลกากรของโดนัลด์ ทรัมป์เช่นเดียวกัน
โฆษณา