Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
2 ก.ค. เวลา 10:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมดอลลาร์สหรัฐผันผวน ป่วน HKMA อุ้ม ‘ดอลลาร์ฮ่องกง’ ไม่ให้หลุด Peg
ทำไม ‘ดอลลาร์สหรัฐ’ ผันผวน ถึงป่วน HKMA ต้องทุ่มเงินกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง แทรกแซง ‘ดอลลาร์ฮ่องกง’ ไม่ให้หลุด Peg สู่ช่องทางนักลงทุนทำกำไรด้วย Carry Trade
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานความเคลื่อนไหวธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) เข้าซื้อสกุล “เงินดอลลาร์ฮ่องกง” อย่างต่อเนื่อง เพื่อปกป้องระบบผูกติดค่าเงิน (currency peg) ที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเงินดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา
ล่าสุด HKMA ได้เข้าซื้อเงินดอลลาร์ฮ่องกงจำนวน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท) เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินแข็งค่า หลังจากที่เงินดอลลาร์ฮ่องกงได้ทะลุเพดานการซื้อขายที่กำหนดไว้ ซึ่งการเข้าซื้อในรอบนี้มีมูลค่ามากกว่าการซื้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ 9,420 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงถึงสองเท่า
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นในเดือนพ.ค. เมื่อ HKMA ตัดสินใจอัดฉีดเงินสดจำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงิน เหตุผลก็คือ เพื่อ ควบคุมไม่ให้เงินดอลลาร์ฮ่องกงแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินไป ในช่วงที่เงินดอลลาร์สหรัฐกำลังอ่อนค่าลง การทำเช่นนี้เป็นการทำให้เงินดอลลาร์ฮ่องกงมีสภาพคล่องสูงขึ้นและกลับมาอยู่ในกรอบ Currency Peg
📌 อะไรทำให้ “ดอลลาร์ฮ่องกง” ปั่นป่วน
สถานการณ์ที่ HKMA กำลังเผชิญอยู่นั้นมีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากปัญหาที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ในเอเชียต้องเจอเมื่อ “เงินดอลลาร์สหรัฐ” อ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้สกุลเงินท้องถิ่นอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้น ซึ่งทำให้ธนาคารกลางเหล่านั้นต้องพยายามเข้ามา สกัดกั้นไม่ให้สกุลเงินของตนแข็งค่ามากเกินไป เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
แต่สำหรับค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง นั้นถูก “ตรึงค่า” ไว้กับ เงินดอลลาร์สหรัฐ มาตั้งแต่ปี 1983 โดย HKMA มีหน้าที่รักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ฮ่องกงให้อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้คือ 7.75 ถึง 7.85 ดอลลาร์ฮ่องกง ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น เมื่อใดที่ค่าเงิน HKD เคลื่อนไหวแตะหรือทะลุขอบเขตของกรอบนี้ HKMA จะเข้าแทรกแซงทันทีด้วยการซื้อหรือขายเงินดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อดึงค่าเงินกลับเข้ามา
กลไกหลังจากที่ HKMA ซื้อดอลลาร์ฮ่องกงจากธนาคารพาณิชย์ จะทำให้เงินดอลลาร์ฮ่องกงที่อยู่ในระบบหมุนเวียนก็จะลดลง เมื่อปริมาณเงินดอลลาร์ฮ่องกงในระบบลดลง ต้นทุนในการกู้ยืมเงินดอลลาร์ฮ่องกงก็จะสูงขึ้น หรืออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
📌 นักลงทุนทำกำไร ด้วย "Carry Trade"
เมื่อต้นทุนการกู้ยืมเงินในฮ่องกงหรืออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าในสหรัฐ ทำให้นักลงทุนหรือเทรดเดอร์จะเห็นโอกาสในการทำกำไร ด้วย "Carry Trade" ซึ่งเป็นการแสวงหากำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย โดยการกู้ยืมเงินดอลลาร์ฮ่องกง แล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงกว่า
การที่ HKMA เข้าแทรกแซงตลาดเงินดอลลาร์ฮ่องกงทำให้สายตาของเทรดเดอร์จับจ้องไปที่ อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารของฮ่องกง หรือ Hibor อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของต้นทุนการกู้ยืมในตลาดฮ่องกง
ยกตัวอย่างเช่น หลังจากที่ HKMA เข้าแทรกแซงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ย Hibor ระยะ 1 เดือน ได้ปรับตัวสูงขึ้นไปที่ 0.97% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการดำเนินการของ HKMA ที่พยายามจะเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมในตลาด
อ้างอิง:
https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-07-01/hong-kong-steps-up-defense-of-fx-peg-as-fixed-range-tested-again?srnd=homepage-asia
4 บันทึก
5
4
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย