10 ก.ค. เวลา 01:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ

💼 กบข. คืออะไร?

กบข. (กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) เป็น “กองทุนการออมเพื่อเกษียณ” สำหรับข้าราชการที่รัฐจัดให้โดยเฉพาะ เมื่อสมัครเป็นสมาชิก กบข. เงินเดือนจะถูกหักส่งเข้าไป และรัฐก็จะ “ช่วยออม” ให้ด้วย
ข้อดีของ กบข.:
• เป็นแหล่งเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ
• มีเงินจากรัฐช่วยสมทบ
• เงินสะสมสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
📌 เงินที่เข้า กบข. มาจากไหนบ้าง?
✋ ฝั่ง “สมาชิก” (เรา)
1. เงินสะสม (บังคับ) หักจากเงินเดือน 3% ทุกเดือน
2. เงินสะสมส่วนเพิ่ม (สมัครใจ)
o จะออมเพิ่มก็ได้ หรือไม่เพิ่มก็ได้
o สามารถเลือกสะสมเพิ่มได้ ตั้งแต่ 1% ถึง 27% ของเงินเดือน
✅ เงินสะสมทั้งหมด (สะสม + สะสมส่วนเพิ่ม)
สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ รวมกับ RMF และประกันบำนาญ
แต่ไม่เกิน 500,000 บาท/ปี
🏛️ ฝั่ง “รัฐ” (ช่วยออมให้เรา)
1. เงินสมทบ
o รัฐสมทบให้ 3% ของเงินเดือน
o จะสะสมเพิ่มแค่ไหน รัฐก็ยังสมทบแค่ 3% เท่าเดิม
2. เงินชดเชย
o รัฐช่วยส่งเพิ่มอีก 2% ของเงินเดือน
o แต่!! จะ ได้รับส่วนนี้เมื่อเลือกรับแบบบำนาญเท่านั้น
💹 การลงทุนใน กบข.
เงินที่เราและรัฐส่งเข้า กบข. จะถูกนำไปลงทุน
โดยสมาชิกสามารถเลือกแผนลงทุนได้เอง มีให้เลือกหลายแบบ เช่น
✅ แผนการลงทุน:
1. แผนสมดุลตามอายุ (default สำหรับสมาชิกใหม่หลัง 20 มี.ค. 66)
• จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์อัตโนมัติตามอายุ
• ตอนอายุน้อยจะมี “หุ้นมาก” เพื่อโอกาสโต
• ตอนอายุมากขึ้นจะเน้น “ตราสารหนี้” เพื่อลดความเสี่ยง
2. แผนหลัก (default เดิมก่อนปี 66)
• ตราสารหนี้ ~60%
• หุ้น ~25%
• สินทรัพย์อื่น ~15%
3. แผนอื่นๆ ที่เลือกเองได้มีทั้งแบบลักษณะแผนที่เป็นการจัดสัดส่วนสินทรัพย์ลงทุน และแบบลงทุนสินทรัพย์เดียว ซึ่งแบบแผนสินทรัพย์เดียวจะเหมาะกับการที่เรานำมาจัดและปรับพอร์ตสัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนเอง เป็นแบบผสมแผนด้วยตนเอง
📌 เปลี่ยนแผนลงทุนได้ สูงสุด 12 ครั้ง/ปี และการเปลี่ยนจะมีผลกับเงิน “ทุกก้อน” ที่อยู่ใน กบข.
💰 ได้เงินอะไร ตอนออกจากราชการ?
เราจะได้รับเงินจาก 2 แหล่งใหญ่
1. จากกรมบัญชีกลาง (เงินบำเหน็จ / บำนาญ) เงินบำเหน็จหรือบำนาญ จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งอันนี้จะได้หรือไม่ได้ ได้เท่าไหร่ จะขึ้นกับเหตุที่ออก อายุราชการ และขึ้นกับเราจะรับบำเหน็จหรือบำนาญ
2. จาก กบข. ถ้าเราออกจากสมาชิก กบข. ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ไม่ว่าเราจะทำงานมากี่ปีก็ตาม ส่วนเงินที่เราได้จาก กบข. คือ เงินสะสม เงินสะสมส่วนเพิ่ม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวด้วย แต่ในส่วนของเงินชดเชย และ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว จะได้ก็ต่อเมื่อเลือกรับเป็นบำนาญเท่านั้น
🧾 ภาษี
✅ ยกเว้นภาษี ถ้าออกจากราชการด้วย 5 กรณีนี้:
1. เกษียณอายุ (ครบ 60 ปีบริบูรณ์)
2. สูงอายุ (ลาออกตอนอายุ 50 ปีขึ้นไป)
3. ทดแทน คือ ออกจากราชการ เพราะทางราชการยกเลิกหรือยุบตำแหน่ง หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด
4. ทุพพลภาพ
5. เสียชีวิต
➡️ เงินที่ได้รับ (รวมผลประโยชน์) ไม่ต้องเสียภาษี
❗ ถ้าออกก่อนเกษียณ และไม่เข้าเงื่อนไขข้างบน
• ต้องเสียภาษีในส่วนของ ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ
🔄 หลังออกจากราชการ เลือกได้หลายแบบ
เมื่อออกจากราชการ:
• จะ คงเงินไว้ใน กบข. ก็ได้
• จะ ขอถอนบางส่วนหรือทั้งหมด ก็ได้
• สามารถ เปลี่ยนแผนลงทุน ได้เหมือนเดิม
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #กบข #กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ #ข้าราชการ
โฆษณา