21 ก.ค. เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์

เปิดเส้นทางปั้น ไอดอลเกาหลี ทุนวัฒนธรรมและชื่อเสียง สู่กระแสฮันรยู

[ เรื่องโดย : พัทธนันท์ ทรัพย์เจริญ ]
การสร้างไอดอลคือยุทธศาสตร์ Soft Power ของเกาหลีใต้ ที่รัฐและเอกชนร่วมกันผลักดัน ทั้งเพื่อส่งออกวัฒนธรรม และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผ่านภาพลักษณ์ รูปลักษณ์ ความสามารถ และพลังของ “แฟนคลับ”
เบื้องหลังแสงไฟ ไอดอลต้องผ่านระบบฝึกฝนเข้มข้น บางคนใช้เวลากว่า 5 ปี เด็กฝึกต้องถูกคัดกรอง พัฒนาทักษะ ควบคุมรูปร่าง-บุคลิก และแข่งขันในระบบที่ใช้ “ความสมบูรณ์แบบ” เป็นเกณฑ์วัด
ภาพไอดอลที่สดใสไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่คือผลผลิตจากแรงกดดัน การประเมิน และการควบคุม บางคนฝึกเกินวันละ 12 ชม. จนนำไปสู่ปัญหาทางกายและจิตใจ เช่น กรณีจงฮยอน (SHINee) และซอลลี่ (f(x)) ที่จบชีวิตจากภาวะซึมเศร้า
ระบบนี้ผลิตไอดอลให้เป็น “ทุนวัฒนธรรม” ทั้งในรูปภาพลักษณ์ (Embodied) และระบบฝึก (Institutionalized) เพื่อดึงดูดผู้ชม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และทำให้ศิลปินกลายเป็นสัญลักษณ์วัฒนธรรมระดับโลก
แต่ชื่อเสียงเหล่านั้นอาจแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ ความเหนื่อยล้า และแรงกดดันจากสาธารณชน หากไทยต้องการปั้น Soft Power ควรเลือกสินค้าที่ชัด ลดการปิดกั้น และสร้างแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ พร้อมส่งเสริมสุขภาพจิตในระบบสร้างคน
โฆษณา