15 ก.ค. เวลา 13:00 • ธุรกิจ

2025 สร้างธุรกิจที่อยู่รอดต้องมี 4 อย่างนี้!!

สรุปมุมมองจาก “โจ้-ธนา” ในหัวข้อ มองเศรษฐกิจไทย หมดยุคโปรโมชั่น แม่น้ำเปลี่ยนทิศ โลกไม่เหมือนเดิม จากงานสัมมนา “คนพลิกวิกฤต”
สภาพเศรษฐกิจตอนนี้เป็นอย่างไร?
ปีนี้ (2025) เป็นปีที่ดีมาก?? ฮะดียังไงกัน??
พี่โจ้เฉลยต่อว่าเป็นปีที่ดีมาก ในอีก 5 ปีข้างหน้า!!
(ไม่อยากคิดเลยอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นไง)
ธุรกิจที่ยังดีคือ มอเตอร์ไซส์ดี มือถือดี ดีเพราะเงินผ่อน
พี่โจ้แนะนำว่าเราต้องเข้าใจภาพใหญ่ อะไรที่มันเปลี่ยนไปแล้ว จะรับมืออย่างไร และเราจะต้องพลิกเกมส์อย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนแบบนี้ พร้อมแล้ววตามไปอ่านกัน
ประเทศไทยในวันที่แม่น้ำเปลี่ยนทิศ
1. การท่องเที่ยว
จีนที่เป็นกลุ่มหลัก ได้เปลี่ยนความสนใจจากเราไปแล้ว
สิ่งที่เป็นสิ่งกดดันให้การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนทิศไปแล้ว เพราะโครงสร้างหลายอย่างที่เอาเปรียบนักท่องเที่ยว มุมมองจากต่างชาติที่มองว่าเราเป็นประเทศที่มีธุรกิจสีเทา อยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจในการเดินทางมาเที่ยว
พี่โจ้ ยกตัวอย่างเรื่องของแท็กซี่ ที่เอาเปรียบยังพบได้เป็นประจำ ไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง (เรามองเป็นสิ่งปกติ ยอมรับได้ไปแล้ว!!)
จุดนี้ทำให้เห็นว่าเราขาดความมุ่งมั่นที่พัฒนา ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง (นี้แค่ตัวอย่างหนึ่ง)
2. ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยแบบ Super Aging
เมื่อประชากรมากกว่า 30% ของประชากรจะมีอายุเกิน 60
และอัตราการเกิดใหม่ที่ต่ำมากๆ
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กก็น่าจะหดตัวลงไปด้วยในอนาคต กำลังซื้อหดตัว ความสามารถในการผลิตก็มีแนวโน้มลดลง โครงสร้างแบบนี้จะเกิดการเปลี่ยนทิศของธุรกิจ
3. ตลาดหุ้นไทย
ตลาดหุ้นประเทศไทยมีการเติบโตที่ต่ำ ปกติจะเติบโตด้วยเงินจากต่างชาติ ซึ่งมุมมองความสามารถในการแข่งขันไทยแย่ลงมาก เทียบกับเพื่อนบ้านก็ลดลง ทำให้เงินทุนก้อนนี้อาจจะไม่ไหลกลับมา
เงินของนักลงทุนไทยที่คอยประคองตลาด ก็มีโอกาสมากขึ้นในต่างประเทศ เมื่อก่อนลงทุนยากเดี๋ยวนี้มีหลายช่องทาง เงินไหลออกยิ่งทำให้ตลาดหุ้นกลับมายาก
4. ตัวกลางการซื้อขายในประเทศ (ถูกยึดครองหมดแล้ว)
ปัจจุบันแพลตฟอร์มต่างชาติเป็นพ่อค้าคนกลาง/ตัวกลางในการซื้อขายของประเทศอย่างเต็มระบบ ทั้งการซื้อของ จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน ระบบการทำงานต่างๆ ของบริษัท เช่นระบบบัญชี
เมื่อเราถูกยึดแบบเบ็ดเสร็จ ความสามารถในการต่อรองของไทยจะหมดไป จะเห็นว่าตอนนี้แพลตฟอร์มต่างๆ ขึ้นราคา แบบที่เราก็ต้องยอมใช้ต่อไป
5. โลกหมดยุคโปรโมชั่น (อันนี้ ดร.ต้นสน ให้มุมมองมา)
ในรอบ 80 ปีที่ผ่านมาโลกอยู่ที่สงบ เป็นโปรโมชั่น จากการที่คนผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง ยุค baby boomer ลำบาก ทำให้ผู้คนขยาด ไม่อยากอยู่ในสภาวะวุ่นวายแบบนั้นอีก จริงมีการตั้งองค์กรหรือเครื่องมือที่จะสามารถช่วยทำให้โลกอยู่บนกติกาบางอย่าง เช่น UN WTO
ต่อไปจะไม่เป็นแบบนี้อีกแล้ว โลกจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ regionalism, nationalism และ billectural ในที่สุด (ชัดเจนมากตั้งแต่ผู้นำสหรัฐคนใหม่รับตำแหน่ง)
แล้ววต้องทำอย่างไระรอดในยุคนี้
ธุรกิจจะรอดต้อง อึด ทึก ทน
โจ้-ธนา
ธุรกิจรุ่นใหม่จะรอดต้องมี 4 กระบวนท่า
1. เข้าใจ Megatrend
ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่ trend ระดับโลกอย่างที่เราคุ้นเคยเท่านั้น
แต่คือความสามารถในการเห็นน้ำขึ้นน้ำลง
ถ้าเราสามารถทำธุรกิจที่สอดคล้องไปกลับช่วงที่น้ำเป็นขาขึ้นได้ ยังไงก็มีโอกาสรอด
อะไรที่เป็นขาขึ้นบ้าง? เช่นปัจจุบันที่เห็นว่าเป็นขาขึ้น เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เพราะพื้นที่ในบ้านมีน้อยลง ทำให้คนต้องออกมาหาที่ซักด้านนอก
หรืออย่าง Hand Roll ของคุณปลา ก็เป็นการจับเทรน
โดยใช้มุมมองแบบ Better Cheaper Faster เพราะคนเริ่มมองหาประสบการณ์ใหม่ๆที่จะมาแทนนพวกโอมากาเสะ ที่มีราคาสูงและใช้เวลานาน
2. ใช้ Business Model สร้างความต่าง
ยุค Average is over เราอยู่ในยุคที่ทำได้กลางๆ อาจจะไม่รอด เช่นเวลาเราไปเลือกทานอาหาร หรือจองโรงแรม เวลาที่เราดูรีวิวตอนนี้ ได้คะแนน 7 เต็ม 10 คนอาจจะไม่เลือกซื้อของเราก็ได้
สมัยนี้คนคาดหวังมากขึ้น
Business model ของเราต่างจากคนอื่นอย่างไร?
การบินไทย เมื่อก่อนขายตัวแบบ point to point เดี๋ยวนี้วาง Business model เป็นแบบฮับหรือ connect point การมีเครือข่าย ทำให้การบินไทยขายตั๋วครอบคลุมได้กว้างขวาง แม้ลูกค้าจะไม่มาเที่ยวไทยก็ยังขายตั๋วได้ (เพราะซื้อตั๋วมาเปลี่ยนเครื่องที่เมืองไทย ไปยังจุดหมายอื่น)
อีกตัวอย่าง Wash Express ก็มี Business model ที่ต่างมองรายได้มาจากการบริการ ทำให้การปรับระบบการให้บริการทำได้ง่าย ขณะที่เจ้าอื่นใช้โมเดลแบบการขายของ
สุกี้ตี๋น้อยก็เป็นโมเดลที่น่าสนใจ ใช้ราคาต่ำ ทำให้คนติด จะเกิดเป็น volume มหาศาล ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการต่อรอง กับซัฟพลายมีมากขึ้น
3. มอบสินค้าบริการที่ลูกค้าต้องการสูงสุด (ลูกค้าคือพระเจ้า)
เราไม่ได้ต้องการผู้ติดตาม 1 ล้านคน แต่เราต้องการแฟน 1000 คน
คุณจะสร้างแฟนของธุรกิจคุณได้ คุณจะต้องอยู่กับลูกค้า ต้องมองความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก คุณต้องหาทางสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าให้มากที่สุด เข้าใจ customer journey ผ่านการพูดคุย การสังเกตเมื่อลูกค้าใช้สินค้า
เคสคลาสสิคในการเข้าใจลูกค้าที่ได้ยินบ่อยๆ คือการแอบฟังขขอฃคุณตัน อิชิตัน ชอบแอบไปฟังลูกค้าในห้องน้ำของร้านในช่วงที่บุกเบิกธุรกิจบุฟเฟต์
เราอินกับลูกค้าขนาดไหน?
อะไรที่คุณจะอิน คุณต้องสักไว้เลย!!
เช่น Amazon จะมีเก้าอี้ว่างหนึ่งตัวในห้องประชุม เผื่อเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของลูกค้า หนึ่งในการตัดสินใจที่ใช้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง คือการที่ Amazon อยากจะเพิ่มกำไร แต่พบว่าลูกค้ามักยกเลิกการซื้อสินค้า จึงตัดสินใจว่าจะทำปุ่มยกเลิก ให้มีขนาดเล็กหายาก
ก่อนลงมติ เจฟ เบซอสก็ให้ลองถามลูกค้า (เก้าอี้ที่ว่างอยู่) ว่าชอบไหม? เมื่อทุกคนใส่หมวกของลูกค้าก็พบว่า ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ แล้วลูกค้าชอบอะไร? ลูกค้าชอบปุ่มยกเลิกใหญ่ สุดท้าย Amazon ก็ตัดสินใจทำให้ปุ่มยกเลิกใหญ่ๆ เห็นชัดๆ
หรือ JIB เห็นโอกาสของธุรกิจจากการไปทำตัวให้เข้าใจลูกค้า เพราะเมื่อไปลองซื้อของออนไลน์เจ้าอื่นจะต้องใช้เวลา 3-5 วัน เขาเห็นว่ามันมีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้ของในทันทีหรือไม่อยากลอง ทำให้ JIB พัฒนาเป็นส่งด่วน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้
2
การที่เรารักและเข้าใจลูกค้าในระดับนี้ จะทำให้เราสร้างธุรกิจที่ชนะได้
4. ใช้จิตวิญญาณเถ้าแก่ในการทำงาน
มืออาชีพ ต้องทำอะไรมีเหตุผล เถ้าแก่ไม่ต้อง ทำให้สามารถทำอะไรที่จะแตกต่างได้
เช่นตอนที่พี่โจ้ทำ โรบิ้นฮูด ทางธนาคารก็จ้างที่ปรึกษาระดับโลกมาช่วยดู มุมมองของมืออาชีพบอกว่าแบบที่โรบิ้นฮูดทำที่มันไม่ถูกนะ เติบโตไม่ได้
พี่โจ้ สงสัย แล้วแบบไหนละที่ถูกต้อง
โมเดลของมืออาชีพก็จะเป็นแบบ Grab ไง!!!
พี่โจ้สรุปไว้ได้ดีมากว่า ทำธุรกิจในยุคนี้ต้องใส่ความเป็นเถ้าแก่ให้มากๆ ไม่ต้องมีเหตุผล แต่ทำเพื่อลูกค้าเป็นหลัก
เมื่อแม่น้ำเปลี่ยนทิศ การทำอะไรแบบที่เคยทำกันมา อาจจะไม่ได้ทำให้เราสำเร็จได้
✅ ต้องมีความสนใจ Trend หาจังหวะน้ำขึ้นให้เจอ
✅ สร้างความแตกต่างผ่าน Business Model
✅ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด
✅ ใส่ความเป็นเถ้าแก่ลงไปเยอะๆ
ถ้าเพื่อนอ่านแล้วชอบ ฝากช่วยแชร์ต่อนะครับ
โฆษณา