21 ก.ค. เวลา 12:12 • ประวัติศาสตร์

เมื่อโลกตกอยู่ในความมืดมิดเป็นเวลานานถึง 18 เดือน อารยธรรมก็ถึงคราวล่มสลาย

หลายคนอาจจะคิดว่าปีค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) หรือเมื่อห้าปีก่อน เป็นปีที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์โลกแล้ว
ในปีนั้นเป็นช่วงเวลาที่โควิด-19 กำลังพีค เศรษฐกิจแทบล่มสลาย ผู้คนนับล้านล้ม เกิดความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของผู้คน
แต่อันที่จริง ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) ยังไม่นับว่ามืดมนที่สุดหรือแย่ที่สุดครับ
ปีที่นักประวัติศาสตร์หลายคนยกว่าเป็นปีที่ “มืดมน” ที่สุด คือปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079)
แล้วทำไมปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) จึงเลวร้ายถึงขนาดนั้น?
ปีนั้นไม่ได้เป็นแค่ช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับทวีปใดทวีปหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นหายนะระดับโลก ความทุกข์แผ่ขยายจากยุโรปถึงเอเชีย
-อารยธรรมหยุดชะงัก
-ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก
-ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้เกิดความวุ่นวายและโกลาหล
-ผู้คนทั่วโลกเผชิญกับความหิวโหย หนาวเหน็บ และไร้ความหวัง
ในเวลาเพียงปีเดียว โลกทั้งใบเหมือนเข้าสู่ความมืดมนทั้งทางกายและจิตใจ
แล้วทำไมปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) จึงเลวร้ายถึงขนาดนั้น?
ผมจะเล่าให้ฟังครับ
ในปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) ดวงอาทิตย์ยังคงส่องแสง หากแต่ปราศจากความสว่าง แสงของดวงอาทิตย์ดูหม่นมัวเหมือนแสงจันทร์ในคืนข้างแรม ดูราวกับดวงอาทิตย์กำลังถูกบดบังตลอดเวลา ลำแสงที่ส่องออกมานั้นมีแต่ความมืดมัว
เป็นเวลา 18 เดือนเต็มที่ดวงอาทิตย์อยู่ในสภาพนั้น แสงของดวงอาทิตย์ไม่ใช่ทั้งกลางวันและก็ไม่ใช่กลางคืน เป็นภาวะระหว่างกลางที่น่าอึดอัด
ลองจินตนาการว่ามีสุริยุปราคาตลอดเวลา แค่สัปดาห์เดียวก็คงยากจะทนไหวแล้ว แต่ในเวลานั้น มนุษย์ต้องอยู่กับความมืดครึ่งๆ กลางๆ นานกว่าปีครึ่ง
และผู้คนในยุคนั้นก็ไม่สามารถเข้าใจพฤติกรรมประหลาดของธรรมชาติ หลายคนเชื่อว่ามีเมฆฝุ่นมหาศาลปกคลุมดวงอาทิตย์ไว้ โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าหมู่บ้านในแถบตะวันออกและตอนกลางของสวีเดนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้ชาวสแกนดิเนเวียต้องละทิ้งเมืองทั้งเมือง บางเมืองก็ร้าง ไร้ผู้คน
ในวันนี้ เรามีความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาและมีเครื่องมือวิเคราะห์ฟ้าอันมืดมิดได้ แต่ในปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) มนุษย์ปราศจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีแต่ความกลัว ความไม่เข้าใจสิ่งรอบตัว ทำให้เกิดความสับสนอลหม่าน ความตื่นตระหนกและความหวาดหวั่นแพร่กระจายราวกับโรคระบาด ผู้คนเฝ้าครุ่นคิดถึง “เมฆแห่งเคราะห์กรรม” บนฟ้า และตีความว่านี่อาจเป็นคำสาปจากพระเจ้า
ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ ในยุโรปยังมีสงคราม
2
คนไม่ได้เผชิญแค่สภาพอากาศที่เป็นภัย แต่ยังต้องรบกันเอง ท่ามกลางความหิวโหยและมืดมนทางใจอย่างรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคกลาง
2
สิ่งที่เข้ามาซ้ำจากนั้นคือ “ความอดอยาก”
3
หากมีเพียงแค่ความมืดเรื่องเดียว โลกอาจยังพอทนได้
แต่สิ่งที่ตามมาคือ “ความอดอยาก” ซึ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม เป็นหายนะซ้อนหายนะ
1
ความมืดที่ยาวนานส่งผลโดยตรงต่อการเกษตร ทำให้พืชผลไม่สามารถเจริญเติบโตได้เพราะไม่มีแสงแดดเพียงพอ อุณหภูมิโลกลดลงถึง 2.5 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้
6
สิ่งที่ตามมาก็คือฤดูเพาะปลูกล่มสลาย พืชผลไม่งอกงามตามปกติ แผ่นดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็กลับกลายเป็นพื้นที่ครึ่งตาย ครึ่งรอด
1
ความอดอยากแผ่ขยายตั้งแต่อังกฤษ ไอร์แลนด์ ยุโรป ไปจนถึงจีน ผู้คนหิวโหย อารยธรรมเริ่มล่มสลายจากพื้นฐานของอาหาร และผลกระทบของวิกฤตนี้ก็ลากยาวนานหลายสิบปี
1
นี่ไม่ใช่แค่ฤดูกาลที่เลวร้าย แต่มันคือช่วงเวลาที่โลกทั้งใบไม่อาจเลี้ยงดูตัวเองได้
หลังจากความมืดและความอดอยาก โรคระบาดก็ตามมาซ้ำเติมมนุษยชาติ
โรคระบาดไม่เพียงแต่พรากแสงสว่าง ไม่เพียงทำลายอาหาร แต่เริ่มพรากชีวิตผู้คนอย่างไร้ความปรานี
โรคระบาดเริ่มต้นที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยวันแรกมีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน วันที่สอง 10,000 คน วันที่สาม 15,000 คน และตัวเลขก็พุ่งขึ้นทุกวันจนผู้ตรวจนับศพตามแนวชายแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้หยุดนับ และประเมินยอดผู้เสียชีวิตไว้ที่ 300,000 คน
ถามว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตหยุดอยู่แค่ 300,000 คนหรือ? เปล่าเลย เพียงแต่ไม่มีการนับต่อแล้วเพราะทางการเหนื่อยเกินกว่าจะนับไหว จำนวนไม่สำคัญอีกต่อไป
และโรคระบาดก็ไม่เลือกเป้าหมาย มันเริ่มจากคนยากจนในตลาด ก่อนจะแพร่ไปถึงพ่อค้าและขุนนาง
1
แม้แต่ในวังหลวงเองก็ไม่มีใครรอด
1
อาการของโรคระบาดครั้งนั้นก็ได้แก่ มีแผลเจ็บที่ฝ่ามือ ขาบวมและหนองค่อยๆ ไหลออกมาอย่างทรมาน
เมืองทั้งเมืองเริ่มเน่าเหม็นจากกลิ่นศพที่ไม่มีใครฝัง ศพถูกโยนลงทะเล
“จักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian I)” จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ มีรับสั่งให้เคลื่อนย้ายศพออกจากเมือง
2
จักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian I)
แต่ปัญหาก็คือ ใครจะเป็นคนทำ? เนื่องจากผู้คนต่างก็ล้มตายกันหมดหรือไม่ก็ติดโรคเองไปหมดแล้ว
เมื่อโรคระบาดแพร่กระจายไปถึงอียิปต์ เมืองทั้งเมืองก็ถูกลบหายจากแผนที่ ผู้รอดชีวิตเหลือเพียงชายเจ็ดคนกับเด็กชายอีกหนึ่งคนเท่านั้น
นี่คือ “โรคระบาดแห่งจัสติเนียน (Plague of Justinian)” โรคระบาดที่คร่าชีวิตคนนับล้านทั่วทั้งจักรวรรดิ และกลายเป็นหนึ่งในวิกฤตมนุษยชาติที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
นอกจากโรคระบาด นักประวัติศาสตร์ยังได้ค้นพบเถ้าถ่านในแกนน้ำแข็งทั้งจากขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ซึ่งจากหลักฐานนี้ พวกเขาได้สรุปว่าภูเขาไฟลูกหนึ่งในประเทศเอลซัลวาดอร์ คือจุดเริ่มต้นของ “ยุคน้ำแข็งขนาดย่อม (Little Ice Age)” ในปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079)
การระเบิดครั้งนั้นถือเป็นการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ระดับโลก โดยเถ้าภูเขาไฟถูกพ่นกระจายไปทั่วโลก ปกคลุมท้องฟ้าเป็นม่านหมอกหนาทึบ โลกที่เคยมืดอยู่แล้วจากสภาพอากาศผิดปกติ
กลับถูกถล่มซ้ำด้วยความมืดมิดที่หนักหนายิ่งกว่าเดิม
แสงสว่างหายไป อุณหภูมิดิ่งลง และนี่เองที่ทำให้ยุคแห่งความมืดในประวัติศาสตร์มืดมิด มืดทั้งทางกายภาพและจิตใจ
โลกเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความหนาวเหน็บและสิ้นหวัง
ที่จีนนั้น นอกจากจะเผชิญกับความมืดมิดต่างๆ เหมือนที่ทั่วโลกเผชิญ แต่มีสิ่งที่แตกต่างจากที่อื่น
ผู้คนในจีนพบว่ามีสิ่งคล้ายเถ้าสีเหลืองตกลงมาจากท้องฟ้า และในปีเดียวกันนั้นเอง จีนก็ต้องเผชิญกับหิมะกลางฤดูร้อน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประหลาดที่ไม่อาจอธิบายได้
สภาพอากาศอันโหดร้ายได้ทำลายพืชผลในหลายมณฑล นำไปสู่ความอดอยากครั้งใหญ่ ทำให้ประชากรล้มตายถึง 80%
ขณะเดียวกันที่เมโสโปเตเมีย หรืออิรักในปัจจุบัน ก็ต้องเผชิญกับความปั่นป่วนเช่นกัน
ฤดูร้อนกลับมีน้ำค้างแข็งและหิมะตกหนัก ความเย็นผิดธรรมชาติรุนแรงถึงขั้นที่นกนับพันตัวตายทันทีกลางอากาศ
โลกทั้งใบตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทั้งแสงอาทิตย์ที่แปลกประหลาด อากาศวิปลาส และความอดอยากระดับหายนะ ทำให้ปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) ถูกขนานนามโดยนักประวัติศาสตร์หลายคนว่าเป็น “ปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ”
แล้วผู้คนในปัจจุบันทราบได้อย่างไรว่าในปีนั้นเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้?
นั่นก็เพราะว่าในปีค.ศ.2018 (พ.ศ.2561) เรื่องราวของปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) ได้รับความสนใจอีกครั้ง โดยทีมนักประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ว่าปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) เป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจริงหรือไม่
ทีมวิจัยได้ใช้วิธีวิจัยสหวิทยาการ โดยเฉพาะการวิเคราะห์วงปีของต้นไม้ โดยได้ตรวจสอบวงปีจากต้นไม้ในประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งผลลัพธ์ก็แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาหนึ่งที่การเจริญเติบโตของต้นไม้ชะงักลงอย่างชัดเจน
สิ่งนี้ชี้ถึงเหตุการณ์ระดับหายนะที่ส่งผลให้โลกชะงักตัวลง
ข้อมูลจากวงปีระบุว่า โลกทั้งใบเย็นลงอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่องนาน 15 ปี และในช่วงนั้น อุณหภูมิโลกก็แตะระดับต่ำสุดเท่าที่เคยบันทึกได้
นอกจากนั้น กลุ่มนักวิจัยยังวิเคราะห์แกนน้ำแข็ง ซึ่งบันทึกชั้นบรรยากาศย้อนหลังได้เป็นพันปี แลเพวกเขาก็พบว่าโลกค่อย ๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่กระบวนการนั้นกินเวลายาวนานกว่า 100 ปีกว่าทุกอย่างจะฟื้นตัว
1
นั่นหมายความว่าปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ปีที่มืดมิด แต่เป็นจุดเริ่มต้นของศตวรรษแห่งความหายนะที่กระทบโลกทั้งใบ ทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด และการล่มสลายของอารยธรรมหลายแห่งพร้อมกัน
บางคนอาจจะคิดว่าค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) คือช่วงเวลาที่ดำมืดที่สุดแล้ว อีกหลายๆ คนอาจจะมีปีอื่นอยู่ในใจ
แต่จะมีอะไรมืดมนไปกว่าการไม่รู้เลยว่าโลกจะได้เห็นแสงอาทิตย์อีกครั้งหรือไม่?
จะมีอะไรเลวร้ายไปกว่าช่วงเวลาที่ธรรมชาติโจมตีจากทุกทิศทุกทาง?
การเรียนรู้เรื่อง “ยุคมืด” อาจทำให้เราหยุดคิด
แท้จริงแล้ว เวลาที่ยากลำบากในปัจจุบันอาจไม่ใช่ช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของการมีชีวิตอยู่
ปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) และช่วงต่อๆ มานั้นคือหายนะระดับโลก เป็นปีที่โลกทั้งใบต้องจดจำ ปีที่ไม่มีคำตอบให้กับคำว่า “ทำไม” “เกิดอะไร” หรือ “จะจบเมื่อไร”
ผู้คนล้มตายด้วยความสับสน ความตื่นตระหนก และความเครียด จากโลกนี้ไปในสภาพที่น่าสงสารที่สุดโดยไม่มีแม้แต่ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
แต่วันนี้ เรายังมีคำอธิบาย มีเทคโนโลยี มีวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญ เรามี “ความหวัง”
การมองย้อนกลับไปยังปีค.ศ.536 (พ.ศ.1079) ทำให้เราตระหนักว่า ทุกสิ่งที่เรามีในปัจจุบัน นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและโชคดีเพียงใด
โฆษณา