22 ก.ค. เวลา 01:42 • ปรัชญา
..สำรวจตรวจสอบ สิบสวนอารมณ์นึกคิด ที่ปรุงแต่งกาย..แล้วในการตรวจสอบ เค้าก็อาศัยคำว่า ปัญญาสมาธิ รวบรวมจิตให้เป็นหนึ่ง ที่เค้าว่า เอกัตคตาจิต กายนิ่ง จิตนิ่ง ให้เกิดขึ้น ต้องสร้างสติของจิตขึ้นมา จะได้แยกแยะ กาย อารมณ์ จิตได้ชัดเจน..ยิ่งอารมณ์ที่เนื่องด้วยวิญญาณทั้งหก ไปสัมผัสมา เกิดอะไรขึ้นมา ในกายนี้
ในกายนี้ .มันมีอารมณ์ สลับสับเปลี่ยน .เกิดตัวกระทำ ตัวไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ตัวโกรธเกลียด ตัวไม่ได้ดังใจ ตัวไม่ยอม ตัวทิฐิ ตัวหวาดระแวง ตัวตัว ตัวอับอาย ตัวเสียหน้า ไตัวไม่ได้ห้วหน้า ตัวง่อยเหงา ไม่มีใครติใครชม ยกยอ ตัวโศกเศร้า ตัวเสียใจ มันเกิดได้สาระพัดในกายนี้ ไม่ได้ไปเกิดทีข้างนอกกาย .
..ลึกลงไปเค้าเรียกว่านิสัยที่เราใช้อยู่กับกายที่เป็นกรรม เรากายกรรมที่จิตอาศัย ก็เป็นเรื่องของจิตที่อาศัย .นั้นจะแก้ไข หรือไม่แก้ไข มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นตัวกรรม ..ที่จิตไปยึดถือเป็นนิสัย. ยึดไปทำให้จิตนั้นสร้างแต่กรรม. นำพาจิตนั้นใช้กายไปสร้างกรรม ..นั่น
..เค้า จึงมีการแนะนำให้ใช้กายนี้ สร้างบุญกุศลบารมีขึ้นมา ที่มีคำว่า ศีลสมาธิปัญญา ..ก็ใช้กายนี้มาฝึกหัด หากไม่ฝึกหัด .จิตนั้นก็ไม่สามารถ ทำความรู้จัก กายอารมณ์จิตได้ เลย ..เหมือนว่า โอ้ว .กายอารมณ์จิต.. ใครๆก็พูดได้ ..แต่มีใครบ้างที่ทำได้ ..ด้วยจิตของตัวเอง
เรื่อง ถูก หรือ ผิด นั้น เราไม่ได้ไปสอบสวนข้างนอก เราสอบสวนอยู่ภายในกายนี้ ทำดี ทำชั่ว มันรู้ได้้ ทำถูกทำผิด .เราก็สอบสวน ตัวเราเอง ยิ่งความคิด .ดี หรือ ไม่ดี ..ที่มันเกิดในกายนี้ เราก็สอบสวน หาเหตุผล ทำไมคิดดีชั่ว ในกายนี้มันมาจากไหน เราก็สวนสวน มีการเปรียบเทียบ บางครั้งเราก็มีการเผลอสติ ทำไปตามอารมณ์ที่นำพาไป ..อารมณ์ที่เรายึดถือ ที่สืบเนื่องจากการที่ใช้วิญญาณ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ..ไปคลุกเคล้า ไปดึงอารมณ์
เรื่ิองคนนี้นคนนี้เข้ามา แล้วก็ปลดเปลื้องออกไปไม่ได้ .. อยู่ในกายนี้แหละ ให้ยึดถือ ..ว่าอย่างนี้ถูกอย่างนี้ผิด .แล้วจิตมันก็หนักไปเรื่อยๆ หนักด้วยอารมณ์กรรมตัวกระทำที่สะสม แล้วเรื่องถูกเรื่องผิดที่ยึดถืออยู่นั้นมันก็เป็นอารมณ์ ..มันก็ไปหยุดยั้ง ความแก่เจ็บตายไม่ได้
.ฉะนั้น จิตต้องสร้างสติขึ้นมา แล้วก็ใช้สตินั้น ให้เท่าทันต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น .ที่ชีวิตทุกวันตื่นมาอารมณ์นึกคิดก็ปรุงแต่งจิตไปเรื่อยๆ ทั้งวัน ..มุ่งมั่นหา วัตถุสิ่งของ อาหารการกิน กินแล้วนอน แต่เราก็ไม่เคยสำรวจตรวจสอบอารมณ์ในตัวตนเลย ที่มันปรุงแต่งไปเรื่อยๆ .เราจึงต้องหมั่นสำรวจอยู่ภายในกายนี้ ดีขั่ว คิดถูกคิดผิด .ก็อยู่ในกายนี้ ที่อารมณ์หลอกจิคให้ยึดถือ ..
แล้วในการสืบสวน ตรวจสอบ จิตของตนเอง .เราก็ถือว่า ตนเองนั้นโชคดี ที่ได้ฟังธรรม จากจิตของพระ ..ที่ท่านประพฤติปฏิบัติธรรมธรรม ตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราฟังพระกัสสปะ ที่ท่านก็แสดงให้ดู
พระกัสสปะ ร่างกายของท่านแก่เฒ่าชรา เดินไม่ไหว ท่านก็คลานจงกรม ..กายมันเเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ท่านก็ไม่ยึกกาย ขันติอดทน มองไปข้างหน้า คลานไป เวทนาก็เกิด ท่านก็ไม่สนใจ ทุกขเวทนา คลานไป กายมันทรมาน จิตท่านก็มองไปข้างหน้า ไม่สนใสจใจกาย จนในที่สุด กายนั้นกายหมด การชดใช้กรรม ตามสัญญา.. ไม่มีกรรม เกิดขึ้นมาอีก ธาตุุทั้งสี่ ไม่มีกรรม กายบริสุทธิ์ จิตก็บริสุทธิ์ ..
การที่ได้มีโอกาส ฟังธรรม จากจิคของผู้ที่เป็นพระบ่อยๆ ที่ท่าน ก็เล่าเรื่องราว ชี้เรื่เงนั้นเรื่องนี้ บอกให้ เราก็ได้มีโอากาส พิจารณา ทบทวน กลั่นกรอง ฝึกหัด ให้จิตรับรู้ รับรู้ได้. สิ่งไหนไม่ดี มันเป็นทุกข์ เราก็ละลายออกไป พอละลาย สิ่งที่เป็นทุกข์ออกไปได้ ในการละลาย ออกไปเค้าก็อาศัยรอยทั้งสี่ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ..จิตก็สงบมีความสุข ในปัจจุบัน ที่กายนั้น เบาบางจากกรรม
อีกทั้งกายก็มีคำว่าบุญ หล่อเลี้ยง ..ทุกข์มันก็ลดน้อยลงไป แล้วกายมันเจ็บ มีโรคภัย ..เกิดขึ้น แต่ทุกข์ด้วยโรคภัย .มันก็เบาเทา สามารถ ใช้กายนี้ ทำอะไรได้เป็นปกติ แม้ว่ากายนี็จะป่วย แต่ก็ไม่ไปทรมานจิต คือ ใช้กายนี้ทำอะไรไม่ได้ เหมือนคนป่วยติดเตียง มันจิงมีความแตกต่างกัน ด้วยคำว่า บุญกุศลบารมี ที่สะสมมาไม่เหมือนกันเลย แล้วพอเราทำได้ตรงนี้ ..เรื่องถูกเรื่องผิด ก็เป็นเรื่องราวของจิต ที่จมอยู่ทุกข์ จมอยู่กับอารมณ์ ปลดเปลื้องทุกข์ไม่ได้ นั้นก็คือความแตกต่างระหว่างคนที่ฝึกหัดมา กับคนที่ไม่ได้ฝึกหัด
โฆษณา