12 ต.ค. 2019 เวลา 03:52 • ความคิดเห็น
ประโยชน์ของการแกล้ง..
พ่อสิงโตจะแกล้งทำเป็นเจ็บเสมอ เวลาถูกลูกตัวเองกัด
1
acting แยะนะเรา
เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ลูกสิงโต
ไม่เกี่ยวๆ...นี้โอ๋ลูก
หากพูดถึงการแกล้ง....ทำให้ผมนึกน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ... กับการแกล้งของพระองค์..
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
โครงการแกล้งดิน
แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้ ในวิธีการปรับปรุงดินตามสภาพของดินและความเหมาะสม มีอยู่ 3 วิธีการด้วยกัน คือ
ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้น หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต ก็จะทำให้พืชให้ผลผลิตได้
ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน
ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาสในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่าหลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะ ได้มีพื้นที่ใช้ทําการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทําให้เพาะปลูกไม่ได้ผล
โครงการแกล้งดิน
จึงมีพระราชดําริ ให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้น นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คํานึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพ เป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก 1 - 2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกํามะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (pyrite : FeS2) อยู่มาก
ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทําปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกํามะถันออกมา ทําให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดําริจึงได้ดําเนินการสนองพระราชดําริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินเริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทําให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกํามะถันออกมา ทําให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืช ไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดําริมีดังนี้
โครงการแกล้งดิน
1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกํามะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์
2. การปรับปรุงดิน มี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม คือ
• ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดเมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจนทําให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้
• การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล ปูนฝุ่นซึ่งปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
• การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน
3. การปรับสภาพพื้นที่มีอยู่ 2 วิธีคือ
• การปรับระดับผิวหน้าดิน ด้วยวิธีการ คือ
o ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลไปสู่คลองระบายน้ำ
o ตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้เก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้
• การยกร่องปลูกพืช สําหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ถ้าให้ได้ผลต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อขังและถ่ายเทน้ำได้ เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล ต้องคํานึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้น หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรทํา หรืออาจยกร่องแบบเตี้ย ๆ พืชที่ปลูกเปลี่ยนเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผัก และควรปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวได้ คือ
3.1. เพื่อใช้ปลูกข้าว
• เขตชลประทาน
- ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
- ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0. - 4.5 ใช้ในอัตรา 1 ตัน/ไร่
• เขตเกษตรน้ำฝน
- ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตรา 2.5 ตัน/ไร่
- ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0 - 4.5 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
• ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยว หลังจากหว่านปูนให้ทําการไถแปร และปล่อยน้ำให้แช่ขังในนาประมาณ 10 วัน จากนั้นระบายน้ำออกเพื่อชะล้างสารพิษ และขังน้ำใหม่เพื่อรอปักดํา
3.2. เพื่อใช้ปลูกพืชล้มลุก
• การปลูกพืชผัก มีวิธีการ คือ
o ยกร่องกว้าง 6 - 7 เมตร คูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึก 50 ซม.
o ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 3 - 5 วัน
o ทําแปลงย่อยบนสันร่อง ยกแปลงให้สูง 25 - 30 ซม. กว้าง 1 - 2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะ เมื่อรดน้ำหรือเมื่่อมีฝนตก
o ใส่หินปูนฝุ่นหรือดินมาร์ล 2 - 3 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทิ้งไว้ 15 วัน
o ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 ตัน/ไร่ ก่อนปลูก 1 วัน เพื่อปรับปรุงดิน
• การปลูกพืชไร่บางชนิด กระทําได้ 2 วิธีคือ
o แบบยกร่องสวนและแบบปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากการทํานา
• การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนมีวิธีเตรียมพื้นที่ เช่นเดียวกับการปลูกพืชผัก
• การปลูกพืชไร่หลังฤดูทํานา ซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน การเตรียมพื้นที่ต้องยกแนวร่องให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นทที่ดอน 10 - 20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแช่ขังถ้ามีฝนตกผิดฤดู ถ้าพื้นที่นั้นได้รับการ ปรับปรุงโดยการใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จําเป็นต้องใช้ปูนอีก
3.3. เพื่อปลูกไม้ผล
• สร้างคันดินกั้นน้ำล้อมรอบแปลงเพื่อป้องกันน้ำขังและติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการ
• ยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผล
• น้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัดและสูบน้ำจืดมาแทน ช่วงเวลาถ่ายน้ำ 3 - 4 เดือนต่อครั้ง
• ควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำ ไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทําให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น
• ใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกอัตรา 1 - 2 ตัน/ไร่
• กําหนดระยะปลูกตามความเหมาะสมของแต่ละพืช
• ขุดหลุม กว้าง ยาว และลึก 50 - 100 ซม. แยกดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ทิ้งไว้ 1 - 2 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก หรือบางส่วนของดินชั้นล่างแล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กก./ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตรา 15 กก./ หลุม
• ดูแลปราบวัชพืช โรค แมลง และให้น้ำตามปกติสําหรับการใช้ปุ๋ยบํารุงดินขึ้นกับความต้องการและชนิดของพืชที่จะปลูก
โครงการแกล้งดิน
ธ สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์
น้อมศิระกราน กราบแทบพระยุคลบาทด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า.นายตระกูล ศรีสวัสดิ์.
reference..
โฆษณา