23 ต.ค. 2019 เวลา 12:09 • ธุรกิจ
เฟสบุ๊ก เป็นแค่บ้านเช่า!
คำกล่าวนี้มาจาก CEO ของบริษัทเสื้อผ้ากีฬาสัญชาติไทยแบรนด์ Warrix ที่กำลังมาแรง ณ ขณะนี้ และตอนนี้เป็นผู้สนับสนุนเสื้อฟุตบอลทีมชาติไทย
โดยคุณวิศัลย์ CEO Warrix ระบุว่า นักธุรกิจต้องคิดเผื่ิอว่า หากอนาคต เฟสบุ๊ก ไม่ให้เช่าบ้าน จะทำอย่างไร?
เขามองว่า website คือบ้านถาวร ทางบริษัท จึงลงทุนกับการทำ website และ e-commerce บท website ของตัวเอง!
เราไปดูข้อดีข้อเสียเปรียบเทียบการทำการตลาดบน Social media (เฟสบุ๊ก, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์, etc) เทียบบน website กัน...
Social Media
ข้อดี: เข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ สมัครใช้งานง่าย และสามารถสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้ดี ผ่าน likes, comments, inbox พูดคุย
ข้อเสีย: อยู่บ้านท่านก็ต้องทำตามกฎกติกา ทางเจ้าของบ้านจะไล่เราออกเมื่อไหร่ หรือจะขึ้นราคาค่าเช่า (ค่าบริการ ค่าโฆษณา) เราก็ต้องยอมๆไป โดยเฉพาะแฟลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากๆ
Website
ข้อดี: เราสามารถออกแบบ website และระบบต่างๆ ตามใจปรารถนา และสามารถลดค่าใช้จ่ายทางการตลาดได้ในระยะยาว ถ้า website เรามีข้อมูลดีๆ ให้ผู้บริโภค แวะเวียนเข้ามาดู
ข้อเสีย: เราต้องใช้ความพยายามอย่างมากในช่วงเริ่มต้น เพราะไม่ง่ายเลยที่จะดึงคนออกมาจากโลกโซเชียล
กรณีศึกษา
นักเขียนมือพระกาฬ ที่หลายๆท่านชื่นชอบอย่าง "นิ้วกลม" ปัจจุบันก็มี website e-commerce ขายหนังสือตัวเองและพันธมิตร โดย website ร้านหนังสือ ชื่อว่า "KOOB" (อ่านว่า คู้บ)
Cr.KOOB
เรื่องของเรื่องคือ แอดมินฟัง podcast ของ Super Productive คุณรวิศ แล้วมีแนะนำหนังสือเล่มหนึ่ง ก็เลยไป search ดูใน google แล้วก็เจอเวบนี้หล่ะ
พอเข้าไปดูแล้ว มีโปรโมชั่น ลดราคา และ highlight เลย คือ ขายหนังสือพร้อมลายเซ็นต์ นักเขียน! (มันสะดวกสบายจริงๆ นั่งกดสั่งหนั่งสือที่บ้าน ได้ส่วนลด แถมยังได้ลายเซ็นต์นักเขียนที่เราชื่นชอบด้วย!)
ใครอ่านเล่มนี้แล้วบ้างยกมือขึ้น Cr.KOOB
อีกตัวอย่าง ที่น่าสนใจคือ เพจ "ลงทุนแมน" ที่มีคนติดตามหลักล้านคนในเฟสบุ๊ก ก็ลงทุนทำ website ของตัวเองเหมือนกัน เราไปดูยอดวิว website ลงทุนแมน กันเลย
Cr.Similarweb
Cr.Similarweb
แต่ต้องบอกว่า อันดับ website ในประเทศไทย เฟสบุ๊ก ก็ยังติด 3 อันดับแรกอยู่ และใน 10 ลำดับแรกก็ยังเป็น website ที่เราคุ้นเคยกันดี (pantip ก็ยังติดลำดับท๊อป นะ)
Cr.Similarweb
จริงๆ แล้ว สำหรับพ่อค้าแม่ค้าใน Lazada Shopee ก็ต้องดูเรื่องช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าของตัวเองด้วย
โดยปัจจุบันในอเมริกา เหล่าพ่อค้าแม่ค้ารายเล็กใน Amazon ปรับตัวกันยกใหญ่ โดยพยายามใช้เครื่องมือการตลาดที่ทรงประสิทธิภาพมากๆ เพื่อลดการจ่ายเงินโปรโมตสินค้าให้ Amazon เครื่องมือนั้นคืออะไรรู้มะ??
นั่นก็คือ!
.
.
.
.
.
.
.
e-mail!!
(อ้าวนึกว่า website 555 แต่ website ก็ต้องทำด้วยเหมือนกัน เป็นท่ามาตรฐาน)
ไว้ไปต่อเทคนิค e-mail marketing ตอนต่อๆไป
หากบทความเป็นประโยชน์ ช่วยกด like และ share ให้เพื่อนๆ ฟังกันนะ
💡"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า" เอง ก็มี website นะ
(ยังมีหน้าเดียวนะ เพิ่งเริ่มทำเอง)
และสำหรับผู้นำเข้าส่งออก เชิญเข้าร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หาช่องทางนำเข้าส่งออก และข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา