14 พ.ย. 2019 เวลา 11:50 • ความคิดเห็น
จิตมีอิทธิพลต่อเซลล์ได้อย่างไร
( Resilience - วิทยาศาสตร์แห่งการผ่านวิกฤตภาค 2🙂)
เราทราบว่า ความสัมพันธ์ที่ดี (meaningful relationship) และ การเจริญสติ (mindfulness) ส่งผลดีต่อการฟื้นฟูสภาพ ช่วยดึงชีวิตกลับสู่สมดุล..ในบทความนี้จะกล่าวถึงกลไกผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ ตามทฤษฎี polyvagal ค่ะ
1
"ไฮไลท์ในชีวิตฉัน คือการที่มีโฮวาร์ด เป็นคู่ชีวิต"
"ฉันไม่เคยปล่อยให้ตัวเองตกในความกังวล"
คำตอบของ Grace Jones หญิงที่อายุยืนที่สุดในอังกฤษ ตอบนักข่าวถึงเคล็ดลับอายุยืน ในคราวฉลองวันเกิด 112 ปีของเธอ
หากท่านดูวีดีโอ สีหน้า น้ำเสียง ท่านจะสัมผัสอะไรบางอย่างที่ขอไว้เฉลยตอนท้ายค่ะ🙂
🌻 Polyvagal theory : พื้นฐานเรื่องกายจิตสัมพันธ์ ยามเผชิญวิกฤต (1)
WS.Porges นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน สังเกตสัตว์และมนุษย์และเสนอการตอบสนองต่อความรู้สึกไม่ปลอดภัย 3 ระดับ ตามวิวัฒนาการดังนี้
งู zombie แกล้งตาย https://www.mystateline.com
❤Freeze : คืออาการช็อค ชา สิ้นหวัง
เป็นการตอบสนองแบบดึกดำบรรพ์ (primitive) ที่สุด พบในสัตว์เลื้อยคลาน เช่นการแกล้งตาย (thanatosis), การจำศีล ในคนจะพบในภาวะรู้สึกมีวิกฤติคุกคามชีวิต
การทำงานของก้านสมอง ร่วมกับเส้นประสาท vagus ชั้นต้น ที่ควบคุมอวัยวะภายใน ทำงานมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นช้า ลำไส้ปั่นป้วน
นกบินหนีเสือ https://images.app.goo.gl/Rdj7tjBTR7yGjwwC8
💛Fight or flight : การสู้เผชิญหน้า หรือวิ่งหนี ทั้งสองปฎิกิริยานี้ พบในสัตว์ปีก ในคนก็คืออารมณ์ โกรธ หรือ กลัว เวลารู้สึกไม่ปลอดภัยนั่นเอง
การทำงานของ amygdala ร่วมกับเส้นประสาท sympathetic ทำงานมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ปากคอแห้ง กล้ามเนื้อตึง
ฝูงลิง https://www.77jowo.com/contents/51947
💚Social engagement : การเข้าหาสังคม พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ชอบอยู่เป็นฝูง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย ภาวะนี้เกิดเมื่อ"เรารู้สึกปลอดภัย"
การทำงานของสมองส่วนหน้า VmPFC ร่วมกับเสันประสาท vagus ชั้นสูง ประสานกับเส้นประสาทอื่นๆ คุมส่วนในส่วนใบหน้า เช่นกล่องเสียงให้เสียงนุ่มนวล การแสดงสีหน้าที่เป็นมิตร
⭐ที่สำคัญ ช่วงนี้จิตใจและร่างกายได้รับการเยียวยาฟื้นฟู "Resilience"⭐
🍀แล้วอะไรเป็นผู้ตัดสิน ตีความสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นระดับ แดง(วิกฤติ), เหลือง(ไม่ปลอดภัย) หรือ เขียว (ปลอดภัย) ให้ระบบประสาทอัตโนมัติ
สิ่งนี้ Purges เรียกว่า ประสาทการรับรู้ในระดับ"จิตใต้สำนึก" หรือ neuroception
ภาพจาก 2
🍀 ระบบประสาทอัตโนมัติ ส่งอิทธิพล ผ่านเม็ดเลือดแมคโครฟาก ทำให้เกิดการอักเสบ -> ส่งผลต่อไมโตคอนเดรีย ซึ่งทำหน้าที่เป็นเตาพลังงานของเซลล์ สร้างอนุมูลอิสระ ->มีผลต่อ DNA โดยเฉพาะความยาวของ Telomere อันเกี่ยวกับอายุยืนยาว
ดังภาพข้างล่าง
PFC = Prefrontal cortex สมองส่วนหน้า
SNS = Sympathetic ซิมพาเททิค
PNS = Parasympathetic พาราซิมพาเททืค
HRV = Heart Rate Varisbility ค่าแปรปรวนชีพจร แสดงสัดส่วนระหว่าง PNS / SNS
SNS ทำให้เกิดการอักเสบ สู้รบ
ในทางตรงข้าม PNS ทำให้เกิดการฟื้นฟู สร้างสรรค์
ภาพจาก 4
⭐โดยสรุป polyvagal theory ช่วยอธิยาย
1. ความเครียดระดับใต้จิตสำนึก-> อาการของโรค panic disorder, หัวใจสลาย
แม้เรา'คิดว่า'ตัวเองไม่เครียด แต่หาก neuroception รับรู้สถานการณ์ตึงเครียด ไม่ว่าจะ
ภายนอกร่างกาย เช่น สีหน้าคนรอบข้าง
ภายในร่างกาย เช่น การอดนอน ความกลัวลึกๆ
ร่างกายก็แสดงอาการ 'พานิค' เช่น ใจสั่น ปากแห้ง หรือถ้ารุนแรงมากอาจถึง ช็อคหมดสติ (4)
2.ความปลอดภัยในระดับจิตใต้สำนึก-> เยียวยาฟื้นฟูตนเอง ส่งเสริม resilience
ปัจจัยภายนอก คือความสัมพันธ์ที่มีความหมาย-กับ พ่อแม่ คู่ชีวิต เพื่อน หรือใครก็ตามทำให้รู้สึกปลอดภัย
ขณะที่ mindfulness เป็นการดึงความคิดจาก ความวิตกในอนาคตหรืออดีต มาปัจจุบัน...และเป็นการหยุดคิดเปรียบตนกับผู้อื่น จึง เป็นการสร้าง 'ความปลอดภัย' ด้วยตนเองค่ะ🌸
⭐ระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นสื่อกลางจิตสู่เซลล์ มีค่าหนึ่งที่เราวัดได้อย่างรูปธรรม (objective) คือ HRV ซึ่งจะกล่าวตอนต่อไปค่ะ⭐❤

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา