1 มี.ค. 2020 เวลา 20:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คืนชีพเชื้อปริศนาฆ่าล้างโลก
3
ตอนที่ 3: กำเนิดปราณม่วงมรณะ
2
หนุ่มสาวที่แข็งแรงดีมาตลอด จู่ ๆ ก็มีไข้อ่อนเพลีย อาจจะมีไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย อาการทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทนยืนไม่ไหวต้องล้มตัวลงนอน แม้ว่าตรงนั้นจะเป็นถนนหรือที่ใดก็ตาม เวลาไอจะมีเสมหะเหนียวข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็หมดแรงไอ ตามมาด้วยใบหน้าคล้ำม่วง หรือ เฮลิโอโทรป (heliotrope) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้
สีหน้าแบบ Heliotrope ในรูปกลาง เครดิตภาพ: Abrahams et al. ที่มา: Lancet Jan 4, 1919
เฮลิโอโทรป (แปลตามรากศัพท์หมายถึง หันตามตะวัน) หรือ ดอกทานตะวันม่วง สีของดอกไม้นี้เหมือนสีอมม่วงที่ประดับใบหน้าผู้ป่วยโรคนี้ในระยะสุดท้าย
ดอกเฮลิโอโทรป ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/42/Heliotropium_arborescens_5.jpg
คุณไม่ต้องไปถึงหัวซาน (ฮั้วซัว) ก็สามารถสำเร็จวิชา "ลมปราณรัศมีม่วง" นี้ได้ (ใครไม่เคยอ่านกระบี่เย้ยยุทธจักร หรือดูเดชคัมภีร์เทวดา ก็ข้ามมุกนี้ไปครับ)
3
เงื่อนไขคือ คุณต้องมีอายุประมาณ 28 ปี สุขภาพแข็งแรงและอยู่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 แค่คุณเข้าไปอยู่ในที่ที่มีคนเยอะ ๆ หน่อย เดี๋ยวก็มีคนถ่ายทอดวิชานี้ให้คุณผ่านละอองฝอยจากการไอ จาม โดยที่คุณไม่รู้ตัว
สักพักคุณจะมีอาการธาตุไฟเข้าแทรกสะบัดร้อนสะบัดหนาว สุดท้ายลมหายใจและชีพจรจะถูกปิดกั้น ใบหน้าคุณก็จะเปล่งรัศมีสีม่วง เกิดปาฏิหารย์ให้คุณถอดวิญญาณไปทัวร์ยมโลกได้ แต่ไม่มีตั๋วกลับ
1
ถ้าหมอเอาร่างที่บรรลุสุดยอดวิชานี้ของคุณมาผ่าดู อาจจะพบหนองคั่งอุดเต็มหลอดลม (purulent bronchitis)
2
ใบหน้าสีอมม่วงนี้ คือ สีของ deoxyhemoglobin หรือฮีโมโกลบินที่มีไม่มีออกซิเจน ซึ่งมีมากขึ้นในภาวะขาดออกซิเจน ต่างกับฮีโมโกลบินที่มีออกซิเจน (oxyhemoglobin) ซึ่งมีสีแดงสด โดยฮีโมโกลบิน (hemoglobin) คือโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนนั่นเอง
5
ถ้าเป็นหมอไทยนิยมใช้คำว่าผู้ป่วยตัวเขียว (central cyanosis; cyan คือสีเขียวแกมน้ำเงิน) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้จำเพาะกับโรคใดโรคหนึ่งซะทีเดียว
104
ลักษณะอาการ เฮลิโอโทรป ที่การันตีความตายนี้ จะเป็นจุดจบของหนุ่มสาวจำนวนนับไม่ถ้วนทั่วทุกมุมโลก เรามาร่วมกันแกะรอยย้อนศตวรรษไปดูทฤษฎีจุดกำเนิดของโรคระบาดนี้ ที่อาจกล่าวได้ว่าเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
4
1) การระบาดที่ Etaples และ Aldershot
2
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงปี 1917
1
ได้มีรายงาน 2 ฉบับเกี่ยวกับโรคระบาดที่มีลักษณะเขียว หรือเฮลิโอโทรป ทั้งคู่ลงตีพิมพ์ไล่ ๆ กันในวารสาร "แลนเซ็ต" (Lancet; วารสารที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับสองในวงการแพทย์ เป็นรองแค่ New England Journal of Medicine)
1
การระบาดของโรคระบบทางเดินหายใจเกิดขึ้นในค่ายทหารของอังกฤษในเมือง Etaples (กูเกิ้ลอ่านว่า เอด-ทา-พลึ) ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส กับที่เมือง Aldershot (อัลเดอร์ชอต) ทางตอนใต้ของอังกฤษ
2
ทหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนับล้านคน จากหลากหลายประเทศใน 5 ทวีป มารวมตัวกันอยู่ในค่ายทหารที่แออัด สภาพอากาศเย็น สุขอนามัยย่ำแย่ ค่ายนี้ยังใช้เป็นที่เก็บแก๊สพิษอาวุธสงคราม ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการกลายพันธุ์ด้วย
4
รอบ ๆ ค่ายยังเต็มไปด้วยฝูงนกอพยพ มีฟาร์มเลี้ยงหมู เป็ด ห่าน สำหรับใช้เป็นอาหารทหารอีกด้วย
3
นี่เป็นสภาพแวดล้อมที่กล่าวได้ว่าเป็นสรวงสวรรค์ของโรคติดเชื้อ ที่จะพัฒนาและกลายพันธุ์จนกลายเป็นเชื้อมรณะได้อย่างรวดเร็ว
3
ด้วยอัตราตายที่สูงถึง 40-50% แต่ไม่พบการติดเชื้อไปสู่บุคลากรทางการแพทย์ เข้าได้กับลักษณะของเชื้อที่กระโดดจากสัตว์เข้ามาสู่คน ในช่วงก่อนการระบาดใหญ่ (pre-pandemic) ที่มักมีความรุนแรงสูง แต่ยังติดต่อจากคนสู่คนได้ยาก อย่างที่เราเห็นใน SARS, MERS, หรือไข้หวัดนก
2
ถ้าเมื่อไหร่มันลดความรุนแรงลงและพัฒนาความสามารถในการติดจากคนสู่คนได้ดี ก็จะเกิดการระบาดใหญ่แบบ ไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือเหมือนกับโรคที่เรากำลังเผชิญอยู่ คือ COVID-19
2
ต่อมาการระบาดใหญ่ (pandemic) ได้เกิดขึ้นในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 1918 เหล่าทหารและเจ้าหน้าที่นับล้านที่รวมกันอยู่ในค่ายทหารเหล่านี้ ก็พากันกลับประเทศ นำเอาเชื้อมรณะกลับไปแพร่ให้กับบ้านเกิดเมืองนอน
2
ประเทศเหล่านี้ เช่น สหราชอาณาจักร จีน ฟิจิ แคนาดา อินเดีย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย เวสอินดีส์ โปรตุเกส นิวซีแลนด์
1
2) แรงงานจีนข้ามทวีป
1
ในช่วงสงครามโลกครั้ง 1 อังกฤษและฝรั่งเศส จำเป็นต้องเกณฑ์เหล่าชายฉกรรจ์จำนวนมากไปร่วมรบ ทำให้ต้องการนำเข้าชาวจีนมาเป็นแรงงานทดแทน
2
ช่วงปี 1916-1918 จึงได้ขอทางแคนาดาให้อนุมัติการขนแรงงานจากจีนหลายหมื่นคนมายุโรปผ่านแคนาดา เนื่องจากการเดินทางอ้อมแอฟริกาเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่ทางลัดผ่านคลองสุเอซถูกใช้สำหรับการลำเลียงทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในสงครามโลก
4
ปลายปี 1917 ได้มีการระบาดของโรคทางเดินหายใจเกิดขึ้นที่มณฑลซานซี (Shanxi) ทางตอนเหนือของประเทศจีน โรคได้กระจายไปตามแนวกำแพงเมืองจีน ครอบคลุมบริเวณกว้างถึง 500 กม. สังหารผู้คนวันละหลายสิบคนภายในช่วง 6 สัปดาห์
5
ตอนแรกสงสัยว่าเป็นปอดบวมจากกาฬโรค (pneumonic plague) แต่อัตราการตายค่อนข้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ในภายหลังจึงสรุปว่าน่าจะเป็น "ไข้หวัดใหญ่" มากที่สุด
3
แม้จะมีโรคระบาดจนละแวกนั้นเลิกเกณฑ์แรงงานจากชาวบ้าน แต่แรงงานจีนนับพันต่อเที่ยวก็ยังคงลงเรือออกจากเว่ยไห่ (Weihai) ไปขึ้นฝั่งที่แวนคูเวอร์ (Vancouver) ทางตะวันตกของแคนาดา
5
จากนั้นจึงถูกแพ็คลงรถไฟกันอย่างแออัดเพื่อข้ามแคนาดาไปลงเรือที่แฮลิแฟกซ์ (Halifax) ทางฝั่งตะวันออกของแคนาดา เพื่อข้ามทะเลไปยังยุโรป
ด้วยความรังเกียจชาวจีน ขบวนรถไฟดังกล่าวจึงถูกปิดผนึกแน่นหนา ค่ายพักระหว่างทางก็มีการล้อมด้วยลวดหนาม พร้อมเจ้าหน้าที่ควบคุม
มีแรงงานจีนที่เจ็บป่วยระหว่างทางรวมหลายพันคน ด้วยการเหยียดเชื้อชาติของหมอแคนาดาในยุคนั้นจึงระบุว่าความเจ็บป่วยอ่อนเพลียนี้คือลักษณะความเกียจคร้านของชาวจีน
2
การเดินทางผ่านของแรงงานจีนผ่านแคนาดานี้ อาจอธิบายได้ว่าเชื้อที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ (แคนาดาและสหรัฐอเมริกา) มาได้อย่างไร
3
สุดท้ายแรงงานจีนที่มาจากบริเวณที่เกิดโรคระบาดเหล่านี้ก็ไปถึงฝรั่งเศสตอนเหนือ และ อังกฤษตอนใต้ ในช่วงต้นปี 1918 ซึ่งอาจอธิบายการระบาดในค่ายทหารที่ Etaples ทางเหนือของฝรั่งเศส และที่ Aldershot ทางใต้ของอังกฤษ (ในข้อ 1)
ที่ชุมชนแรงงานจีน (Noyelles-sur-Mer) ในฝรั่งเศสพบว่ามีชาวจีนเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจนับร้อย
ภายหลังการระบาดใหญ่เกิดขึ้น พบว่ารายงานการติดเชื้อในจีนดูน้อยกว่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจีนอาจเป็นต้นกำเนิด เคยป่วยจากโรคนี้มาก่อน จึงมีภูมิต้านทานบ้างแล้ว
1
แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่า การติดเชื้อในแรงงานจีนที่มาถึง ดูเหมือนจะตามหลังมากกว่านำหน้าการระบาดในฝรั่งเศสและอังกฤษ
2
3) ผู้ป่วยหมายเลขศูนย์ที่แคมป์ฟันสตัน (Camp Funston)
เช้าวันที่ 11 มีนาคม 1918 (บางบันทึกบอกว่าเป็นวันที่ 4 มีนาคม)
ในค่ายฝึกทหาร แคมป์ฟันสตัน (Camp Funston) แห่งป้อมไรลีย์ (Fort Riley) รัฐแคนซัส (Kansas) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีพ่อครัวคนหนึ่ง ชื่อ อัลเบิร์ต กิตเชลล์ (Albert Gitchell) ที่อยู่ ๆ ก็มีอาการไข้สูง เจ็บคอ ปวดหัว ซึ่งก็ไม่ต่างจากหวัดธรรมดา
2
แต่ความน่ากลัวอยู่ที่ภายในเที่ยงของวันเดียวกันมีผู้ที่เริ่มเจ็บป่วยแบบเดียวกับเขาในค่ายนี้นับร้อยคน
2
นี่คือการระบาดอย่างเป็นทางการของโรคมฤตยูนี้ ซึ่งคุณ กิตเชลล์ ได้รับเกียรติถูกบันทึกให้เป็นผู้ป่วยรายแรก หรือ ผู้ป่วยหมายเลขศูนย์ (Patient Zero) นั่นเอง และแคนซัสก็ถูกสงสัยว่าจะเป็นจุดกำเนิดของเชื้อนี้ไปโดยปริยาย
2
ในภายหลังผู้ป่วยรายนี้ก็ถูกกล่าวหาในแง่ที่เป็นต้นเหตุของการระบาดใหญ่ ว่าการจามของเขาได้กระจายไปทั่วโลก ซึ่งก็แน่นอนว่าเขาไม่ใช่ผู้ป่วยรายแรกที่แท้จริง
1
อันที่จริงแล้วพบว่า มีการระบาดของโรคแบบเดียวกันในกลุ่มชาวนาหนุ่มแห่งเมืองแฮสเคลล์ (Haskell County) รัฐแคนซัส มาตั้งแต่เดือนก่อนหน้าในปีเดียวกัน และหนุ่มชาวนาพวกนี้หลายคนก็ถูกเกณฑ์เข้ามาอยู่ในแคมป์ฟันสตัน นั่นเอง
1
ทฤษฎีทั้งสามต่างก็มีฐานเสียงของตัวเองผ่านมุมมองของแพทย์ นักประวัติศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ มากหน้าหลายตา ว่าเป็นจุดกำเนิดของปราณม่วงมรณะนี้ และยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
ยังมีทฤษฎีกำเนิดโรคอื่น ๆ อีก เช่น มาจากทหารอินโดจีน (เวียดนาม ลาว กัมพูชา) ที่ถูกเกณฑ์ไปร่วมรบที่ฝรั่งเศสช่วงปี 1916-1918 กว่า 5 หมื่นคน ซึ่งในกลุ่มนี้ ถูกบันทึกว่ามีการระบาดของโรค ปอดบวมชาวญวน (Annamite pneumonia) อยู่เป็นระยะ ๆ ก่อนจะเกิดการระบาดใหญ่
1
เมื่อมีการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของเชื้อนี้ สร้างเป็นแผนภูมิต้นไม้วิวัฒนาการ (phylogenetic tree) คำนวณย้อนกลับไปหาต้นกำเนิด พบว่าเชื้อนี้น่าจะแยกสายออกมาจากเชื้อของสัตว์ปีกในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่ช่วงปี 1915-1916
ถึงกระนั้นก็คงยังสรุปไม่ได้ทีเดียวว่าเชื้อนี้จะกลายพันธุ์วนเวียนอยู่ในทวีปนี้เพียงแห่งเดียว จนกระทั่งเริ่มเกิดการระบาดใหญ่
บางทีทุกทฤษฎีอาจจะมีส่วนถูกทั้งหมด นั่นคือเราอาจไม่สามารถบอกได้ชัด ๆ ว่าจุดกำเนิดของเชื้อนี้อยู่ที่ไหนแน่ เพราะเชื้อสามารถวิวัฒนาการ แลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมและกลายพันธุ์ไปได้เรื่อย ๆ ตลอดเวลา
เช่น เชื้ออาจเริ่มต้นที่ทวีปอเมริกาเหนือแล้วติดไปกับทหารที่ไปเข้าค่ายในฝรั่งเศสทำให้เกิดการระบาดเล็ก เมื่อแรงงานจีนไปถึงฝรั่งเศสก็อาจพาเชื้อใหม่อีกตัวที่กำลังระบาดในจีนไปผสมกับเชื้อที่มีอยู่ก่อนและกำลังระบาดในฝรั่งเศส กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายได้ดียิ่งขึ้นก็เป็นได้
2
สงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังจะจบลง แต่ภาวะสงครามได้ช่วยเพาะบ่มสุดยอดเชื้อจนพร้อมได้ที่ และการระบาดใหญ่ทั่วโลกครั้งเลวร้ายที่สุดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
โปรดติดตามตอนต่อไป
ตอนที่ 4: จุมพิตปลิดชีพจากสาวสเปน
1
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา