26 ม.ค. 2020 เวลา 07:32 • ข่าว
กรณีศึกษา : หนี้กำลังล้นโลก !
ปี 2020 เศรษฐกิจโลกเสี่ยงสูงต่อภาวะชะลอตัว
ธนาคารโลกเปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects) ซึ่งจัดทำขึ้นปีละ 2 ครั้ง โดยรายงานครั้งล่าสุดชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ครั้งใหม่ ภายในเนื้อหาระบุว่าการก่อหนี้ทั่วโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา แบ่งได้เป็น 4 ช่วง โดยช่วงปัจจุบันเริ่มตั้งแต่ปี 2553 และเป็นช่วงที่มีการกู้ยืมทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากที่สุด เร็วที่สุด และเป็นวงกว้างที่สุด ตั้งแต่ปี 2513 สาเหตุมาจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งกำลังเป็นความเสี่ยงวิกฤติทางการเงินในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศที่มีรายได้ต่ำ
1
IMF เองก็เปิดเผยข้อมูลชุดล่าสุด ซึ่งระบุว่าหนี้ทั่วโลก (ทั้งสาธารณะและส่วนตัว) สูงถึง 188 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2561 เพิ่มขึ้น 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับปี 2560
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อัตราส่วนหนี้สินเฉลี่ยลดลง สำหรับประเทศที่ตลาดเกิดใหม่ ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่มีรายได้ต่ำ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
หนี้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสหรัฐและจีน ที่มีข้อพิพาททางการค้ากัน ซึ่งนำไปสู่สงครามการค้าอย่างรุนแรงตลอดระยะ 17 เดือนมานี้ ทำให้ 2 ประเทศนี้มียอดหนี้รวมกันสูงที่สุดในโลก โดยมีสัดส่วนมากถึง 60% จีนมีหนี้สินของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกันกว่า 1,220 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16% ของหนี้สินทั้งโลก หรือเกือบ 3 เท่าของ GDP จีน
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การก่อหนี้เพิ่มขึ้น คือการลดหรือการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางหลายประเทศ ทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมลดลง ภาคธุรกิจและภาครัฐจึงกู้ยืมเงินมากขึ้น
ข้อมูลปัจจุบันหนี้สาธารณะโลก อ้างอิงจาก https://www.economist.com/content/global_debt_clock
เปรียบเทียบกับข้อมูลปัจจุบันจาก https://www.usdebtclock.org/world-debt-clock.html
12 ประเทศที่เป็นหนี้สูงสุด (เมื่อเทียบเป็น % กับ GDP)
1
ขอบคุณภาพจาก https://www.imf.org
แล้วไทยเราล่ะ เป็นยังไงบ้าง ?
ข้อมูลปัจจุบันจาก https://www.economist.com/content/global_debt_clock
IMF ระบุว่าหนี้ราว 40% ของเอกชน (Corporate Debt) อยู่ในรูปหุ้นกู้ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก คือ สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และสเปน ซึ่งมีจำนวน 19 ล้านล้านดอลลาร์ กำลังเป็นหนี้ที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะประสบปัญหาไม่สามารถชำระคืนได้ตามกำหนดเวลา
และนี่คือภาพรวมเพื่อให้เห็นสัดส่วนของหนี้ในประเทศต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Advanced Economies)
2.กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging
Markets)
3.กลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low Income Countries)
- เมื่อสิ้นปี 2018 มีการคาดกรณ์จาก IMF โลกมีหนี้สาธารณะ ซึ่งหมายถึง หนี้ที่เป็นภาระของประชากรโลก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 7,700 ล้านคน หากคิดโดยเฉลี่ย หมายความว่าเราทุกคนบนโลกกำลังเป็นหนี้ราว 32,500 ดอลลาร์ต่อคน หรือประมาณ 992,485 บาท (เกือบล้านบาทกันเลยทีเดียว)
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา