23 พ.ค. 2020 เวลา 22:07 • สุขภาพ
ท่านเคยเห็นคนหลังโก่ง หรือญาติที่รู้จักมีอาการหลังโก่งและปวดหลังบ้างหรือไม่
เราลองมารู้จักกันหน่อยนะครับกับภาวะกระดูกสันหลังยุบและความสัมพันธ์กับอาการปวดหลัง
1
ปัญหาโรคกระดูกพรุนคือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปริมาณความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง โครงสร้างภายในของกระดูกมีการเสื่อมสลายทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด กระดูกหักได้ง่ายมากขึ้นกว่าคนปกติ
โดยทั่วไปอาการแสดงของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมักจะมี 2 ระยะคือ
2
1. ในระยะเริ่มต้นที่มวลกระดูกเริ่มลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไร เลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นในผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือน และมีปัจจัยเสี่ยง ช่วงนี้สามารถตรวจสอบได้จากการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่านั้น
2. ในระยะที่กระดูกพรุนชนิดรุนแรง คือ มีกระดูกโปร่งบางมาก ร่วมกับมีกระดูกสันหลังหักยุบ หรือการเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม และสังเกตได้ว่าส่วนสูงของผู้ป่วยลดลง ในบางครั้งอาการปวดหลังอาจจะร้าวมาที่บริเวณหน้าอก หลังโก่ง ทานข้าวได้น้อยลง อืดท้องแน่นท้อง มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป บางครั้งอาจเกิดกระดูกหักที่ตำแหน่งบริเวณข้อมือ กระดูกหักง่าย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่นในผู้ป่วยรายที่ผมจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ครับ
นอกจากหลังโก่ง ผู้ป่วยยังมีอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ลงน่องและชาบริเวณหลังเท้าร่วมด้วย
เอกซเรย์ การยุบของกระดูกสันหลังหลายระดับ วิธีการดูคือจะสังเกตจากความสูงของกระดูกสันหลังเทียบกันในแต่ละระดับจะพบ ว่าส่วนของกระดูกสันหลังที่ยุบลงนั้นจะมีความสูงของกระดูกสันหลังลดลงเมื่อ เทียบกับกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกัน
อาการปวดหลังเกิดจาก
1. กระดูกสันหลังยุบซึ่งก็คือภาวะกระดูกหักนั่นเองจึงเกิดอาการปวด
2 เกิดการอักเสบภายในโพรงประสาท เพราะเมื่อเกิดการยุบตัวจะมีสารก่ออักเสบในบนริเวณของกระดูกที่ยุบ และบริเวณรอบ จึงทำให้เกิดอาการปวด
แนวทางการรักษาอาการปวดหลัง
1. ให้ผู้ป่วยนอนพัก ลุกเฉพาะตอนเข้าห้องน้ำ หรือทานอาหาร ประมาณ 2-4 สัปดาห์จนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
1
2. ให้ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ อย่างไรก็ตามต้องระมัระวังการใช้ยาลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ในผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร และไตวายได้
3. ถ้ามีอาการปวดมากอาจให้การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบก่อนได้ ซึ่งยาที่ฉีดลดการอักเสบมีทั้งแบบสเตียรอยด์และไม่ใช่สเตียรอยด์
การรักษาอาการปวดหลังจะใช้ระยะเวลานานประมาณ 1-3 เดือน ขึ้นกับระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังที่ยุบ และจำนวนกระดูกสันหลังที่ยุบ
การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
1. การตรวจ MRI เพื่อประเมินสภาพของกระดูกว่ามีการกดทับเส้นประสาท มีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่เช่น การติดเชื้อกระดูกสันหลัง มะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก
2. การตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อแประเมินสภาวะกระดูกพรุน ความหนาแน่นของมวลกระดูกว่ามีมากน้อยเพียงใด
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้แก่
ประจำเดือนหมดวัยกว่าปกติโดยเฉพาะก่อนอายุ 45 ปี
มีโรคประจำตัวเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำในปริมาณมาก และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทั้งในการรักษาโรค หรือรับประทานเอง
มีประวัติครอบครัวทางแม่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยมีกระดูกสะโพกหักในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวฝั่งของมารดา
สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอลเป็นประจำ
กระดูกหักง่ายหลังจากอายุ 40 ปีเช่น กระดูกข้อมือหัก
สำหรับการป้องกันโรคกระดูกพรุนได้แก่
ในวัยเด็ก วัยรุ่น ให้ดื่มนม ออกกำลังกายให้เหมาะสม
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
ในวัยที่อายุมากกว่า 40 ปี ให้ได้รับปริมาณของแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจรับประทานแคลเซียมชนิดเม็ดเช่น caltrate 600 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด ก็จะเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีการวิจัยพบว่าโดยเฉลี่ย คนไทยได้ปริมาณแคลเซียมจากอาหารประมาณ 300 - 400 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าได้รับแคลเซียมเสริมเข้าไปก็จะทำให้เท่ากับปริมาณพอเพียงที่ร่างกาย ต้องการ
ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปีแนะนำให้ไปตรวจวัดมวลกระดูกจากเครื่องใหญ่ที่เรียกว่า DEXA (Dual Energy absorptiometry) ซึ่งจะตรวจวัดมวลกระดูก 2 ตำแหน่งคือ ที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว และ กระดูกสะโพก
ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงแนะนำให้ตรวจวัดมวล กระดูกได้เลย เพื่อประเมินสภาพของมวลกระดูกในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร
หลังจากที่เราตรวจวัดมวลกระดูกมาแล้ว ไม่ใช่ว่าเมื่อมวลกระดูกติดลบน้อยกว่า - 2.5 จะมีความจำเป็นต้องทานยาป้องกันกระดูกพรุนทุกครั้ง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการรักษาโรคกระดูกพรุนมากเกินความจำเป็น (Over-treament)
ขอเน้นครับว่าเมื่อตรวจวัดมวลกระดูกแล้วน้อยกว่า -2.5 ไม่ใช่ว่าต้องทานยารักษากระดูกพรุนทุกครั้ง แต่การรักษานั้นขึ้นกับความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักมากกว่า
วัตถุประสงค์ของการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุนคือ เพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักในอนาคต หรือลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในอนาคต ซึ่งเราจำเป็นต้องมีการคำนวณความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในอนาคตของผู้ ป่วยในแต่ละราย
1
ซึ่งเราสารถเข้าไปประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในแต่ละบุคคลได้ใน ซึ่งเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากองค์การอนามัย โรค ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของคนไทย
ซึ่งจะช่วยทำให้ท่านสามารถประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในแต่ละ บุคคลได้ ดังนั้นการตัดสินใจพิจารณาในการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุน เราจะพิจารณาจากความเสี่ยงในการที่จะเกิดกระดูกหักภายใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าคำนวณออกมาแล้วพบว่า
1.กระดูกตำแหน่งที่สำคัญหัก มีโอกาสหักมากกว่าร้อยละ 20 หรือ
2. กระดูกสะโพก มีโอกาสหักมากกว่าร้อยละ 3
จึงจะพิจารณาในการให้ยาในการรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งถ้ามีค่าน้อยกว่านี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุน
ใน กรณีที่ผู้ป่วยเกิดกระดูกสะโพกหัก หรือกระดูกสันหลังยุบแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้มีความจำเป็นต้องรับการรักษาโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นอีก เช่น ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุน พบว่าถ้าไม่ได้ให้การรักษาที่เหมาะสมจะพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดกระดูกหัก เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 20
สำหรับปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1. ยาที่ยับยั้งการทำลายกระดูก เช่น
ยาในกลุ่ม Bisphosphonates ที่มีหลากหลายชนิดเช่น ชนิดที่รับประทานอาทิตย์ละ 1 เม็ดเช่น Alendronate (Fosamax plus), Risedronate (Actonel), หรือชนิดที่ฉีดปีละ 1 ครั้งเช่น Zoledronate (Aclasta)
ยาในกลุ่มที่เป็นแอนติบอดี้ มีผลยับยั้งการทำลายกระดูกที่ระดับเซลล์ ได้แก่ Denosumab (Prolia) ซึ่งใช้ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 6 เดือน
2. ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก ซึ่งมีผลในการสร้างกระดูกโดยตรง ได้แก่ teriparatide มีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักหลายตำแหน่ง เช่น กระดูกสันหลังยุบมากกว่า 2 ตำแหน่ง กระดูกสะโพกหัก หรือเช่นในผู้ป่วยรายที่ยกตัวอย่างข้างต้น ที่มีกระดูกสันหลังยุบมากกว่า 2 ตำแหน่ง ยานี้ใช้ฉีดใต้ผิวหนังทุกวัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการลดปวดหลังได้ด้วย
การพิจารณาให้ ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละราย และดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งต้องมีการพูดคุยและอธิบายประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของยาแต่ละประเภทให้ผู้ป่วยฟังอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือการป้องกันการเกิดกระดูกหักในอนาคต
ดังนั้นการรักษากระดูกสันหลังยุบประกอบด้วย การลดอาการปวด และการป้องกันการหักซ้ำในอนาคตของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ทรมานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ถ้ามีปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อถามมาได้นะครับ
Line OA https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
 
Facebook ปวดหลังรักษาได้ ไม่ผ่าตัด - Home

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา