30 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
Digital Disruption+Polities Disruption
=Hyper disruption(ภาค1)
เรากำลังอยู่ในยุค Digital Disruption ที่ทำให้เราต้อง"ปรับตัว"
เรากำลังอยู่ในยุค Digital Disruption ที่ทำให้เราต้อง"เปลี่ยนแปลง"
แต่เมือนว่าในปี 2020 นี้เราก็กำลังอยู่ในยุค Polities Disruption ที่ทำให้เราต้อง "จับตาดูให้ดี" ไม่ต่างจาก Digital Disruption เลยครับ
เพราะ ณ ปัจจุบันนี้ Polities Disruption กำลังจะเริ่งเครื่องให้ Digital Disruption รุนแรงขึ้นไปกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น
1.สงครามการค้าจีน-สหรัฐ
2.สงครามกฎหมายจีน-สหรัฐ(กฎหมายที่จีนได้ออกใช้มาตราการกับฮ่องกงและกฎหมายสหรัฐเกี่ยวกับบริษัทจีนในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq)
และในวันนี้ Near us จะมาเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก 2 ส่วนหลักๆ นั่นก็คือ 1.Digital Disruption และ 2.Polities Disruption
2 อย่างนี้จะเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไร Near us จะอธิบายให้ฟังครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับBig 5 ทั้งผลประกอบการและเงินสดที่อยู่ในบริษัทกันก่อน
ในสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ธุรกิจหลายภาคส่วนต้องหยุดชะงักตามมาตราการLock down จากรัฐบาลทั่วประเทศจนทำให้ธุรกิจหลายอุตสาหกรรมหยุดชะงัก ได้แก่ ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจของใช้ฟุ่มเฟือย และธุรกิจยานยนต์
ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทยที่รัฐบาลสั่งให้ปิดศูนย์การค้า สนามกิฬา สนามมวย และร้านค้าปลีกต่างๆ และถึงแม้ว่าจะเปิดแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทำกำไรได้มากเหมือนแต่ก่อน เพราะมีมาตราการSocial Distancing โดยการนั่งห่างๆ+กับDeliveryของธุรกิจหลายๆจ้าวยังมีสัดส่วนไม่มากพอที่จะชดเชยธุรกิจในส่วน Offline ได้
แต่ในระหว่างที่ธุรกิจทั่วโลกกำลังเจอวิกฤติอย่างหนัก กลับมีเพียง 5 ธุรกิจเท่านั้นในไตรมาสที่ 1 ที่แทบไม่ได้รับผลกระทบเลยแต่กลับเติบโตมากขึ้น ดังรูป
ขอบคุณรูปภาพจากลงทุนแมนด้วยครับ
Apple
ผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2020 Apple มีรายได้รวม 1,894,677 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5%
โดยแบ่งเป็น รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ 1,460,980 ล้านบาท ลดลง 3.4%
รายได้ค่าบริการ 433,697 เพิ่มขึ้น 16.6%
โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน 417,613 ล้านบาท ลดลง 4.2%
มีกำไรสุทธิ 365,497 ล้านบาท ลดลง 2.7%
และตอนนี้ Apple ยังคงมีเงินสดมหาศาลกองอยู่ในบริษัทมาแล้วและApple ได้ซื้อหุ้นคืนในปี 2019 ไปแล้ว 2,300,000 ล้านบาทและมีเงินสดกับหลักทรัพย์ในความต้องการตลาด รวมกัน 3,055,858 ล้านบาท
ประวัติการซื้อกิจการ
ปี 2011 ซื้อ Anobit Technologies ผู้ผลิตอุปกรณ์หน่วยความจำ มูลค่า 15,000 ล้านบาท
ปี 2014 ซื้อ Beats Electronics ผู้ผลิตหูฟังและอุปกรณ์เสียง มูลค่า 90,000 ล้านบาท
ปี 2018 ซื้อ Dialog Semiconductor ผู้ผลิตชิปอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 18,000 ล้านบาท
Facebook
ผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2020 Facebook มีรายได้รวม 1.77 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว 17% แถมยอดผู้ใช้งาน Average User ของ Facebook ยังเติบโตขึ้น 10% จาก 2,380 ล้านคน เป็น 2,600 ล้านคนด้วย ซึ่งหลังการแถลงผลประกอบการจบลง หุ้นของ Facebook มีการปรับตัวขึ้น 10%
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Facebook ร่ำรวยขึ้น 46%
มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 797,500 ล้านบาทมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 797,500 ล้านบาท
ในปี 2018 Facebook ซื้อหุ้นคืนไปกว่า 410,000 ล้านบาท และบริษัทที่มีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดกว่า 1,574,000 ล้านบาท
ประวัติการซื้อกิจการ
ปี 2012 ซื้อ Instagram แพลตฟอร์มเน้นการแชร์รูปภาพ มูลค่า 30,000 ล้านบาท
ปี 2014 ซื้อ WhatsApp แอปพลิเคชันแช็ต มูลค่า 662,000 ล้านบาท
ปี 2014 ซื้อ Oculus VR ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Virtual Reality มูลค่า 60,000ล้านบาท
Amazon
เจฟฟ์ เบโซส์ ผู้ก่อตั้ง Amazon ร่ำรวยขึ้น 31%
มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 34,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,103,740 ล้านบาท และทางบริษัทได้ประกาศจัดจ้างพนักงานคลังสินค้าและพนักงานส่งของในสหรัฐฯ เพิ่ม 100,000 คน เพื่อรองรับการเพิ่มออเดอร์
เมื่อต้นปี หุ้น Amazon มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 30,500,000 ล้านบาท แถมการระบาดของ covid-19 ทำให้บริษัทมีลมูลค่าสูงขึ้นไปถึง 38,400,000 ล้านบาท คิดเป็น 101 เท่าของกำไรล่าสุดหรือเพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับต้นปี เพราะเนื่องจากลูกค้าต้องการสั่ง Delivery ขณะอยู่บ้าน และใช้ Amazon wed services ในการ Work from home
โดยบริษัทที่มีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดกว่า1,315,000 ล้านบาท
ประวัติการซื้อกิจการ
ปี 2014 ซื้อ Twitch แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์วงการเกม มูลค่า 29,000 ล้านบาท
ปี 2017 ซื้อ Whole Foods ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ขายอาหารสดและของชำ มูลค่า 412,000 ล้านบาท
ปี 2018 ซื้อ PillPack ร้านขายยาออนไลน์ มูลค่า 39,000 ล้านบาท
Alphabet (Google)
Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล รายงานผลการดำเนินงานของไตรมาสที่ 1 ปี 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 13.5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 41,159 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 6,836 ล้านดอลลาร์
โดยรายได้จากโฆษณาบนเสิร์ช 24,502 ล้านดอลลาร์ โฆษณา YouTube
4,038 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่1/2019 แต่น้อยกว่าไตรมาส 4/2019
ส่วนรายได้จาก Google Cloud 2,777 ล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้นทั้งเทียบปีและเทียบไตรมาสก่อนหน้า) กลุ่มธุรกิจอื่นของกูเกิล (ฮาร์ดแวร์, subscription รวมทั้ง YouTube) 4,435 ล้านดอลลาร์ และกลุ่มธุรกิจใหม่ Other Bets 135 ล้านดอลลาร์
และในปี 2018 Alphabet (Google) ซื้อหุ้นคืน 290,000 ล้านบาทและบริษัทที่มีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดกว่า3,648,000 ล้านบาท
ประวัติการซื้อกิจการ
ปี 2012 ซื้อ Motorola Mobility ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ มูลค่า 376,000 ล้านบาท
ปี 2014 ซื้อ Nest Labs ผู้ผลิตอุปกรณ์ Smart Home มูลค่า 96,000 ล้านบาท
ปี 2019 ซื้อ Fitbit ผู้ผลิตอุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ มูลค่า 64,000 ล้านบาท
Microsoft
Microsoft ได้เปิดเผยว่าในช่วงวิกฤติ Covid-19 ปริมาณการใช้บริการคลาวด์(Microsoft Azure) สำหรับองค์กรพุ่งสูงขึ้นระดับ 775% ภายในเดือนเดียว
รวมไปถึงจำนวนสมาชิกแอปสื่อสารองค์กร Microsoft Teams ก็พุ่งสูงขึ้น 37%
ในปี 2018 Microsoft ได้ซื้อหุ้นคืนไปกว่า 520,000 ล้านบาท และบริษัทที่มีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดกว่า 4,112,000 ล้านบาท
ประวัติการซื้อกิจการ
ปี 2011 ซื้อ Skype บริการสื่อสารผ่านวิดีโอคอลล์ มูลค่า 256,000 ล้านบาท
ปี 2016 ซื้อ LinkedIn เครือข่ายออนไลน์ในแวดวงธุรกิจ มูลค่า 789,000 ล้านบาท
ปี 2018 ซื้อ GitHub บริการจัดเก็บข้อมูลเขียน Code มูลค่า 226,000 ล้านบาท
จากบทความข้างต้น คงจะทำให้ผู้อ่านทุกคนได้รู้แล้วว่า เหล่า Big5 ทั้งหลายแทบไม่ได้รับผลกระทบในวิกฤติ Covid-19 เลย มีแต่จะมีอำนาจเพิ่มด้วยซ้ำ เพราะในสถานการณ์ที่ผู้บริโภคกำลังจะเข้าสู่ New Normal Covid-19 ก็ได้ให้รางวัลเหล่า Big5 นี้ไปแล้วแบบ Unlimited เลยทีเดียว....
และผลที่ตามมาจะเกิดอะไรขึ้น?
Goldman Sachs ธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐกล่าวว่าการระบาดของ Covid-19 เป็นตัวเร่งให้ตลาดการโฆษณาเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอลเร็วขึ้นเนื่องจากมีCostที่ต่ำและมี Awareness ที่สูง
และไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็ได้เป็นเหตุให้รายได้จากการโฆษณาทางทีวีและวิทยุในยุโรปลดลงถึง50% และหุ้นที่เกี่ยวกับสื่อทางทีวีและวิทยุนั้นมีผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดในตลาดสื่อของยุโรป โดยลดลงถึง 41% จากค่าเฉลี่ยของปี 2019 เนื่องจากว่าโดนสื่อ Digital อย่างFacebookและGoogleแย่งMarket share ไป และได้คาดว่าสื่อทางทีวีและวิทยุจะลดลงไปอีก 30-50% ในไตรมาสที่ 2 นี้โดยถูกซ้ำร้ายด้วย Covid-19 อีก
ในมุมมองของ Near us ก็คือ New Normal กำลังจะสร้าง Hyper Vicious Circle Of Destruction(จงจรแห่งการทำลายล้างขั้นสูงสุด) ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์จะได้เห็นที่รุนแรงกว่า Nokia กับ Kodak แบบ Unlimited แน่นอนครับ!!!! ดังรูป
เพื่อให้เกิดความเข้าใจใน Vicious circle of destruction ผมจะขออธิบายวงค์จรนี้ก่อนนะครับ(หากใครเคยอ่าน Digital Disruption+Start up=อารยธรรมที่รุ่งเรือง+การทำลายล้างที่รุ่งโรจน์แล้ว ข้ามจุดนี้แล้วอ่านตอนท้ายได้เลยครับ)
Vicious Circle Of Destruction หรือแปลว่า พลังแห่งการทำลายล้างแบบทวีคูณและเป็นพลังที่เกิดจากการที่ธุรกิจคุณสามารถ Disrupt ธุรกิจของผู้อื่นให้ล้มพินาศลงได้ตามจำนวนตัวคูณโดยมีอยู่ด้วยกัน 5 Wave(ดูจากตัวเลขในวงค์จรนะครับ) ได้แก่
Wave 1 ที่มีการ ×2 ×3 จนถึง x100 ไปเรื่อยๆเพราะคุณเริ่มมีทรัพยากรพวกเงินและคนมากขึ้น ทำให้คุณได้เปรียบคู่แข่งตามจำนวนที่ x
1
Wave 2 ที่มีการ ×2 ×3 จนถึง x100คุณจะสามารถยึด Marketshare ได้ง่ายขึ้น เพราะคุณคุณเริ่มมีทรัพยากรพวกเงิน/คน/Partner/know how ในการทำธุรกิจมากขึ้น ทำห้้คุณได้เปรียบคู่แข่งตามจำนวนที่ x
Wave 3 ที่มีการ ×2 ×3 จนถึง x100เมื่อมี Marketshare ที่ใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้เริ่มมีคู่แข่งเข้ามาเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมองเห็นช่องทางในการทำเงินในอุตสาหกรรมนั้นๆ ทำให้คุณเริ่มมีคนเข้ามาแย่ง"รุมกินโต๊ะ"ได้ไวมากขึ้นตามจำนวนที่ x
Wave 4 ที่มีการ ×2 ×3 จนถึง x100 คุณจะถูก Disrupt รุนแรงมากขึ้น เพราะนักลงทุนยิ่งเห็นคุณเติบโตตามอัตราการ × ก็จะยิ่งหวังในตัวคุณแบบทวีคูณด้วย และหากคุณเลือกทางเลือกที่1 คุณก็จะเจ็บหนักเพราะหนีสินมหาสารที่คุณได้สร้างตามจำนวณ×ที่ผ่านมาล้มทับคุณ แต่หากคุณเลือกทางเลือกที่2 บริษัทยักษ์ใหญ่ก็จะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำแบบ infinity ให้กับระบบเศรษฐกิจเพราะเขาได้บริษัทของคุณและKnow how ในการทำธุรกิจมาจากคุณ
Wave 5 หากคุณมาถึงจุดนี้และทำมันได้สำเร็จ คุณจะมีพลัง × ที่จะสามารถฆ่าธุรกิจทุกอย่างที่ขวางหน้าคุณได้ตามจำนวณ × (แต่หากคุณเจอธุรกิจคู่แข่งที่ตัว×มากกว่าในอุตสาหกรรมของคุณ คุณก็แย่นะครับ)
Vicious king of destruction หมายถึงการที่คุณสามารถสร้างธุรกิจจนกลายเป็นมหาอาณาจักรที่ยากที่จะมีคนมา Disrupt คุณได้อีกแล้วและมีพลังDisrupt มหาสารที่พร้อมจะเข้าจู่โจมอุตสาหกรรมใดก็ตามที่คิดจะเติบโตขึ้นแล้วล่ะก็ยักษ์ก็จะตะโกนว่า"คุณต้องตายและฉันจะชนะ" ดังเช่น BIG 5 ที่ผมได้เล่ามาแล้วข้างต้นนั่นเอง
และเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดที่BIG 5 ต้องการกำจัดก็คือ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์/การสื่อสาร/การบริการและการขาย อย่างแน่นอน!!!
สรุปบทความนี้ก็คือ ในยุคDigital Disruption นี้มี Covid-19 เป็นตัวเร่งการทำลายล้างให้มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เพราะฉะนั้น เราควรเตรียมตัวเปิดรับ Hyper Normal ที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่เกิน 1 ทศวรรศนี้แน่นอนครับ
และหากคุณคิดว่า Covid-19 เป็นตัวเร่งให้เกิด Digital Disruption อย่างเดียวแล้วล่ะก็ อย่าเพิ่งรีบร้อนไปครับ ลืมไปแล้วหรือยังครับว่า มันมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ถูกเร่งโดยฝีมือของผู้นำ 2 ประเทศที่ประชาชนตาดำๆไม่รู้อิโหน่อิเหน่เลย นั่นก็คือDonald Trump(ผู้เป็น"ประธาน")และXi Jinping(ผู้เป็น"รองประธาน")ของ Polities Disruption ที่กำลังจะทำให้โลกใบนี้ต้องสั่นสะเทือน(หรือหลังน้ำตา)ก็ไม่รู้....
ติดตามต่อ ภาค 2 กดNext ต่อเลยครับ🙂

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา