20 มิ.ย. 2020 เวลา 03:21 • ธุรกิจ
ทำไมบริษัทถึงออก “หุ้นกู้” แทนที่จะไปกู้เงินจากธนาคาร
บทความที่แล้วผมได้เขียนเรื่องความแตกต่างระหว่าง “หุ้นสามัญ” VS “หุ้นกู้” ครับ ซึ่งหุ้นกู้ ก็คือตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง อธิบายเข้าใจง่าย ๆ ว่า ถ้าเราซื้อหุ้นกู้ของบริษัทหนึ่ง เราก็จะเป็น “เจ้าหนี้” ของบริษัทนั้น และบริษัทจะจ่ายดอกเบี้ยให้เราเป็นผลตอบแทนครับ (ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ https://www.blockdit.com/articles/5eeb4f9cc730220a6e02682c/# )
แต่เพื่อน ๆ เคยสงสัยหรือไม่ว่า การระดมทุนของบริษัท โดยการกู้เงินและเสียดอกเบี้ยให้กับธนาคารตอนนี้น่าจะถูกสุด ๆ แล้ว ทำไมบางบริษัทถึงออกหุ้นกู้ (บางบริษัทออกหุ้นกู้ถึง 8.5% ต่อปี) แทนที่จะกู้เงินจากธนาคาร วันนี้มาหาคำตอบกันเลยครับ
Cr.: pixabay
สาเหตุก็เพราะว่า ถ้าบริษัท “กู้เงินจากธนาคาร” จะต้องเสียดอกเบี้ย พร้อม “เงินต้น” ด้วยการที่ต้องคืน “เงินต้น” ด้วยอาจทำให้บริษัทหาเงินคืนไม่ทัน ส่งผลให้บริษัทเสียเครดิต และเงินที่กู้จะไม่สามารถระดุมทุนในระยะยาวได้
2
แต่ถ้าบริษัทเสนอขาย หรือออก “หุ้นกู้” ให้แก่นักลงทุน บริษัทจะกำหนดเงื่อนไข ให้เราสามารถไถ่ถอนหุ้นหรือถอน “เงินต้น” คืน เมื่อครบระยะเวลาที่บริษัทนั้นกำหนด (เช่น SIRI กำหนดผู้ถือหุ้นสามารถไถ่ถอนได้เมื่อครบ 5 ปี) เนื่องจากทางบริษัท “ไม่ต้องคืนเงินต้น” จึงทำให้บริษัทถือเงินได้นานขึ้นกว่าการกู้เงินจากธนาคาร และสามารถระดมทุนได้ในระยะยาว ส่งผลให้บริษัทมีโอกาสเติบโตยิ่งขึ้น
1
Cr.: ลงทุนแมน
เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าบางบริษัทอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่นักลุงทุนสูง (บางบริษัทสูงถึง 8.5% ต่อปี) เพราะเขาคิดคำนวณมาแล้วว่า “การเสนอขายหุ้นกู้” และจ่ายดอกเบี้ยให้แก่นักลงทุน จะคุ้มค่ากว่า “การกู้เงินจากธนาคาร”
และเป็นการสร้างความสนใจแก่นักลงทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูง ซึ่งเป็นผลดีต่อนักลงทุนในยุคนี้ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารนั้นน้อยแสนน้อย โดยอาจน้อยกว่าถึง 10 เท่า เสียอีก
1
Cr. : bot.or.th
บทความต่อไปเราจะมาดูกันว่า ข้อดี ข้อเสีย ของหุ้นกู้ ต่อนักลงทุนมีอะไรบ้าง ถ้าเราอยากลงทุนหุ้นกู้ แล้วเราจะยอมรับความเสี่ยง หรือข้อเสียนี้ได้หรือไม่
จบแล้วครับ ช่วยกดไลท์ แชร์ ติดตามเพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความต่อไปด้วยนะครับ😊✌️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา