1 ก.ย. 2020 เวลา 04:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สีสันปลากัด
พูดถึงปลากัดแล้วน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก
แล้วปลากัดมีกี่สีกันหละ มีใครเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเองบ้างครับ ในปัจจุบันปลากัดสวยงามนั้นมีหลายคนเรียกสีกันตามความเหมาะสมในตามแต่สถานการณ์นั้น ๆ อย่างปลากัดที่มีหน้าตาคล้ายปลาคาร์ฟ ก็จะเรียกกันว่า "โค่ย (Koi)" หรือปลากัดบางตัวสีเหมือนทองคำแท่งก็จะเรียกกันว่า "ซุปเปอร์โกลด์ (Super Gold)" และมีอีกมากมายหลากหลายชื่อที่คนไทยได้ตั้งขึ้นมา
แต่ทุกคนเคยสงสัยไหมว่าแล้วหลักเกณฑ์ในการแบ่งสี เลือกชื่อต่าง ๆ มาจากอะไรกัน บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักที่มาที่ไปของการจัดประเภทสีปลากัดสวยงามกัน
ปลากัดสวยงามไทยแบ่งตามลักษณะสี ดังนี้
1. ปลากัดสีเดียว
1.1 ปลากัดสีเดียว / สีสว่าง
ปลากัดที่มีสีโทนอ่อนและมีสีเดียวตลอดทั้งลำตัว ตั้งแต่หัวจรดปลายหาง เช่น สีขาว สีเหลือง สีทองใส ฯลฯ
1.2 ปลากัดสีเดียว / สีเข้ม
ปลากัดที่มีโทนสีเข้มอย่างเห็นได้ชัดและมีสีเดียวตลอดทั้งลำตัว ตั้งแต่หัวจรดปลายหาง เช่น สีดำ สีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียว ฯลฯ
2. ปลากัดสีผสม
2.1 ปลากัดสีผสม / เกล็ดตาข่าย
ปลากัดที่มีโทนสีต่าง ๆ มีขอบเกล็ดลายเส้นสีดำเหมือนตาข่ายและมีลายเส้นดำตัดขอบครีบส่วนต่าง ๆ เช่น แดงตาข่ายดำ ฯลฯ
2.2 ปลากัดสีผสม / ดั้งเดิม
ปลากัดที่มีลำตัวครีบเป็น 2 สีผสมกัน โดยไม่มีลายตัดขอบสี ดูกลมกลืน เช่น สีมัสตาร์ด แบล็กออเร้นจ์ ฯลฯ
3. ปลากัดหลากสี (แฟนซี) ไม่มีขอบ
3.1 ปลากัดหลากสี / ลวดลาย
ปลากัดที่มีรูปแบบแถทสี ลวดลายที่หลากหลาย ซึ่งต้องมีตั้งแต่ 2 สีขึ้นไป ขอบจะต้องไม่มีสีขาว เช่น มาร์เบิล โค่ย มอนสเตอร์ ตันโจ ซามูไร ฯลฯ
3.2 ปลากัดหลากสี / ลายจุด
ปลากัดที่มี 2 สีขึ้นไป เป็นจุดสีเด่นชัดขึ้นบริเวณลำตัวหรือครีบขอบจะต้องไม่เป็นสีขาวหรือสีอื่น ๆ เช่น เวนด้า อมาเกด้อน ดัมเมเชี่ยน ฯลฯ
4. ปลากัดขอบสี ลำตัวไม่มีลวดลาย
4.1 ปลากัดขอบสีขาว
ลำตัวไม่มีลวดลาย บริเวณรอบนอกของครีบต่าง ๆ จะเป็นขอบขาวโดยรอบของความยาวครีบทั้งหมด ความคมชัดรอยตัดขอบสีสม่ำเสมอต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของครีบหาง ชายน้ำ ตะเกียบ กระโดง หู เช่น บลูบัตเตอร์ฟลาย เรดดราก้อนบัตเตอร์ฟลาย
4.2 ปลากัดขอบสีอื่น ๆ
ลำตัวไม่มีลวดลาย บริเวณรอบนอกของครีบต่าง ๆ จะเป็นขอบสียกเว้นสีขาวโดยรอบของความยาวครีบ พิจารณาจากความคมชัด รอยตัดของสีสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของครีบหาง ชายน้ำ ตะเกียบ หู กระโดง เช่น ไตรแบรนด์ มัสตาร์ดขอบสี ฯลฯ
แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงาม
แหล่งอ้างอิง : กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
แหล่งอ้างอิง : กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แหล่งอ้างอิง : นิตยสารเกษตรกรก้าวหน้า
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำออนไลน์
fishway
Website : ...coming soon...
Youtube : ...coming soon...
Tiktok : ...coming soon...
Line VOOM : ...coming soon...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา