17 ม.ค. 2021 เวลา 00:07 • การศึกษา
พุทธตันตระ เส้นบาง ๆ ระหว่างอนาจารหรือความเชื่อ
ช่วงเวลาหนึ่งของพุทธศาสนา มีการเปลี่ยนแปลง และการผสมผสานลัทธิต่าง ๆ เข้ามามากมาย หลาย ๆ วัฒนธรรมก่อเป็นแนวคิดและความเชื่อแตกต่างกันออกไป ลัทธิหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างเป็นที่ถกเถียง ของนักประวัติศาสตร์โบราณคดี คือ ลัทธิตันตระ อันว่าด้วยเรื่องเสพสม คือเครื่องดับทุกข์
เรารู้กันดีอยู่แล้ว ว่าปัจจุับน พุทธศาสนาแยกย่อย ออกเป็นหลายนิกาย ที่เห็นจะคุ้นชื่อ คุ้นหูก็มี นิกายมหายาน และนิกายหีนยาน นอกจากนี้ หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อกับ นิกายวัชรยาน ซึ่งเชื่อในอำนาจมนต์ตรา อ้างจากบันทึก ยุครุ่งเรืองในช่วงราชวงศ์ปาละ แห่งเบงกอลและพิหาร ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7
2
นักวิชาการด้านอารยธรรมชื่อ เอแอล บาชาม อธิบายไว้ว่า เทพของนิกายนี้ เป็นเพศหญิง และเป็นชายาของพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์ โดยความเชื่อ เทพจะให้เวทมนต์แก่บุคคลที่กราบไหว้ ช่วยให้ชีวิตประสบแห่งบรมสุข โดยคัมภีร์ของลัทธินี้ เรียกว่า ตันตระ
ในแง่ของการฝึกจิต ลัทธินี้ก็เป็นเหมือนกับนิกายทั่วไป จะแตกต่างกัน ก็ตรงที่ ตันตระให้ความสำคัญของการฝึกจิต เพื่อบรรลุในอำนาจเหนือธรรมชาติ นี่ยังไม่รวมถึง แนวคิดการเสพสมในทางพิธีกรรม กินเนื้อสัตว์ และดื่มน้ำเมา
ที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ ลัทธิตันตระ อนุญาตให้สมาชิกในครอบครัว สามารถเสพสมกันได้ ด้วยเชื่อว่าผู้ที่ปฎิบัติหรือถือบวช จะช่วยผ่อนคลายแรงผลักดันทางใจในเชิงลบ อันจะมีผลเชิงบวกต่อการดำเนินชีวิต
1
ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1590 ลัทธิตันตระ ถูกผสมกลมกลืนเข้ากับพุทธศาสนา เรียกว่า “พุทธตันตระ” มีที่มาจาก ลัทธิตันตระฝ่ายซ้าย ที่เรียกว่า “วาจาริน” หรือกาฬจักร ด้วยแนวความเชื่อ ใจความสำคัญของนิกายนี้ก็คือ ตัณหาต้องดับด้วยตัณหา
1
กิเลสของมนุษย์นั้น ประกอบไปด้วย “ราคะ โทสะ โมหะ” การจะดับกิเลสให้ได้ผล จึงจำเป็นต้องดับด้วยกิเลส หรือต้องประพฤติจนเบื่อหน่ายไปเอง และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิด ที่ก่อเกิดเป็นเครื่องราง ของขลัง และวิชาลงยันต์ต่าง ๆ
ลัทธิพุทธตันตระ เผยแพร่เข้ามาในดินแดนสยาม ราวปี พ.ศ. 1300-1900 รู้จักกันในพุทธศาสนา นิกายวัชรยาน อิทธิพลส่วนมากของนิกายนี้ มาจากศาสนาพราหมณ์ ดังจะเห็นได้จาก สิ่งของที่ปรากฎมาอยู่จนถึงปัจจุบัน เช่น การลงยันต์ คาถาอาคม หรือจิตรกรรมฝาผนัง ที่มักสอดแทรกตามภาพชาดก
ถึงแม้ว่าในอดีตจะมีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อสืบค้นในประเทศอินเดีย กลับพบมาก จากบันทึกในศาสนาฮินดู ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นการผสมเข้ากับ อิทธิพลจากตำรากามสูตร ที่ปรากฏขึ้นภายหลัง และเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อศิลปะกามวิสัย ที่พบเห็นตามวัดไทย เช่น ในวัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด เป็นต้น
ทีนี้เรากลับมาที่ชาวฮินดู ผู้นับถือตันตระทางเพศ หรือ Tantric Sex กันบ้าง บอกเล่ากันปากต่อปาก ไม่เคยมีบันทึกอ้างถึง ว่ามันคือศาสตร์ ที่เกิดขึ้นมานาน เป็นพันปี ด้วยแนวคิดที่ว่า "พลังทางเพศจะเสริมสร้าง ให้เกิดความแข็งแรง ทั้งทางร่างกายและจิต อันนำมาซึ่งความสุขในชีวิต"
1
ต่อมาก็มีการบันทึก เป็นจารึกหรือคัมภีร์ อันนี้ก็ไม่แน่ใจ ในภาษาสันสกฤต เป็นการเขียนในรูปของการโต้ตอบ ระหว่างพระศิวะ และพระเชษฐ์ โดยให้พระศิวะแทนพลังทางเพศของชาย และพระเชษฐ์ คือพลังทางเพศของหญิง
1
สำหรับหลักปฎิบัติของลัทธิ ก็เพื่อให้การปฎิบัติกิจกรรมทางเพศ เกิดเป็นความรู้แจ้งเห็นจริง จากการใช้พลังสมาธิ การฝึกใช้พลังจิต และการควบคุมอารมย์ทางเพศ ผู้ฝึกตันตระ จะพบแสงสว่างและความสุข ได้บ่อยครั้งและยาวนานขึ้น ดังจะเห็นได้จากการฝึกที่เน้นปฎิบัติจริง
ชายและหญิงที่เข้าสู่การฝึก จะต้องแยกกันฝึก เพื่อทำความรู้จักกับร่างกายตนเอง ทั้งภายนอกและภายใน การรู้จักการบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ (ขอใช้คำว่ากล้ามเนื้อ นะครับ เพื่อความเหมาะสม) ก่อนชายหญิง จะเข้าพิธีฝึกร่วมกัน หลังครบกำหนด 7 วัน
1
ความเห็นจากผู้ที่นับถือลัทธินี้บอกว่า หลังจากฝึกเสร็จและเข้าร่วมแล้ว ทำให้ชีวิตสงบขึ้น และเหมือนกับเป็นการเพิ่มพลังชีวิต สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไร้ความกังวล การใช้ชีวิตง่ายขึ้นกว่าแต่เก่ามาก
1
ความคิดเห็นส่วนตัวผู้เขียน ... อิหยังวะ แบบนี้ก็ได้เหรอ !!!
4
หากข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ครับ
กดไลค์หากถูกใจ แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์ คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
พูดคุย และทักทายผ่านอีเมลล์หรือ HangOut ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา