Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Medium size Pilot
•
ติดตาม
21 พ.ค. 2019 เวลา 16:59 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์การบินโลก
ตอนที่ 10 ปูทางก่อนไปสู่ดวงจันทร์
แรกเริ่มทางนาซ่าไม่ได้ใช้ชื่อโครงการว่าอะพอลโล แต่นาซ่าใช้รหัส AS-201, AS-203 และ AS-202 ตามลำดับ (AS มาจาก Apollo-Saturn)
ปฏิบัติการทั้ง 3 ครั้งนั้นเป็นการทดสอบยานควบคุมและยานบริการ หรือ Command-Service Module (CSM) ซึ่งเป็นส่วนที่นักบินอวกาศอาศัยอยู่ในช่วงที่เดินทางไปดวงจันทร์นั่นเอง
รวมถึงการทดสอบจรวด Saturn IB ว่ามีการทำงานได้ดีไหม มีกำลังขับเพียงพอหรือไม่ ทดสอบในกรณีที่ถ้าเครื่องยนต์ดับแล้วจะสามารถกลับมาติดใหม่ได้หรือไม่
และพอมาถึงปฏิบัติการครั้งที่ 4 (AS-204) ซึ่งเป็นภารกิจแรกที่มีมนุษย์อวกาศไปกับยานด้วย ในวันทดสอบ Plug-out Test ก็เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นตามบทความตอนก่อนที่ผมได้เขียนไปแล้ว
รายงานของภารกิจ 204
หลังจากนั้นบรรดาครอบครัวของนักบินอวกาศที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เพลิงไหม้ ได้ออกมาขอร้องให้นาซ่าเปลี่ยนชื่อโครงการเพื่อเป็นเกียรติแก่สามีผู้ล่วงลับของพวกเธอ ซึ่งทางนาซ่าก็เห็นด้วย
ภายหลังจึงได้เปลี่ยนมาเรียกปฏิบัติการทั้งหมดเป็น ปฏิบัติการอะพอลโล
เนื่องจากเมื่อตอนที่นาซ่าได้รับมอบตัวยานนั้น ได้มีการคลุมป้องกันด้วยพลาสติกที่พิมพ์ว่า “Apollo 1”
ปฏิบัติการครั้งที่ 4 (AS-204) จึงถูกเปลี่ยนชื่อให้เป็น
อะพอลโล 1
และเพราะว่ามีนักบินอวกาศเสียชีวิต 3 คน จึงให้ข้ามไปนับปฏิบัติการครั้งต่อไปว่า อะพอลโล 4 เลย
จากปฏิบัติการ 3 ครั้งที่ได้ทดสอบจรวด Saturn IB นาซ่าได้ใช้ข้อมูลทั้งหลาย นำมาพัฒนาสร้างจรวด Saturn V หรือ 5 ซึ่งเป็นจรวดที่เริ่มใช้งานตั้งแต่อะพอลโล 4
Saturn V ที่พามนุษย์เดินทางไปถึงดวงจันทร์
อะพอลโล 4 นั้นเป็นการทดสอบยานควบคุมและยานบริการ ซึ่งถูกปล่อยขึ้นไปด้วยจรวด Saturn V ให้ขึ้นไปโคจรรอบโลกที่วงโคจรระดับสูง และทดสอบเกราะกันความร้อนของยานควบคุม
YouTube
อะพอลโล 5 นั้นขึ้นไปด้วยจรวด Saturn IB ให้โคจรรอบโลกเพื่อทดสอบการใช้แรงขับเคลื่อนสำหรับการควบคุมยานลงดวงจันทร์
อะพอลโล 6 นั้นได้ทดสอบ Trans-lunar injection หรือ TLI เป็นการจุดจรวดเพื่อเร่งความเร็วและเปลี่ยนจากวงโคจรทรงกลมในวงโคจรระดับต่ำของโลก ให้เป็นวงโคจรที่มีความรีสูงขึ้น ก่อนจะพุ่งเข้าสู่เขตอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์
ทดสอบการยกเลิกภารกิจและกลับโลกโดยใช้เครื่องยนต์ของยานบริการ
ทดสอบ engine failure
ทดสอบ flight control ของยานบริการ
อะพอลโล 7 เป็นปฏิบัติการแรกของอะพอลโลที่มีนักบินอวกาศขึ้นไปด้วย โดยมี
วอลเตอร์ เชียร์ร่า (Walter Marty Schirra Jr.) เป็นผู้ควบคุมหลักประจำบนยานบริการ
นอกจากนั้นเขายังเป็นมนุษย์อวกาศเพียงคนเดียวที่ได้ทำภารกิจของเมอร์คิวรี, เจมินีและอะพอลโล โดยหลังจากรีไทร์ เขามีชั่วโมงบินในอวกาศทั้งหมด 295 ชั่วโมง 15 นาที
Wally Schirra
วอลเตอร์ คันนิ่งแฮม (Ronnie Walter Cunningham) เป็นนักบินประจำยานลงดวงจันทร์ระหว่างภารกิจ
Walter Cunningham
ดอนน์ ไอส์ลี (Donn Fulton Eisele) เขาอยู่ในยานควบคุมระหว่างภารกิจ
Donn Eisele
โดยอะพอลโล 7 นั้น ขึ้นด้วยจรวด Saturn IB และปฏิบัติภารกิจอยู่ในวงโคจรระดับต่ำของโลก และเป็นภารกิจแรกที่มีการถ่ายทอดสดให้คนทางโลกได้ชมกัน
ถ่ายทอดสดจากอวกาศครั้งแรกของโลก
อะพอลโล 8 เป็นภารกิจแรกที่ออกไปโคจรรอบดวงจันทร์ โดยใช้เวลาโคจรทั้งหมด 20 ชั่วโมง และโคจรได้ 10 รอบ
นักบินอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจได้แก่
แฟรงก์ บอร์แมน (Frank Frederick Borman II) เป็นผู้บัญชาการ
Frank Borman
เจมส์ เลิฟเวล (James Arthur Lovell Jr.)
Jim Lovell
วิลเลี่ยม แอนเดอร์ส (William Alison Anders)
William Anders
อะพอลโล 9 เป็นภารกิจแรกที่ใช้ทั้งยานควบคุม ยานบริการและยานลงดวงจันทร์ ปฏิบัติภารกิจในวงโคจรระดับต่ำรอบโลก
ภารกิจหลักคือการทดสอบการแยกตัวของยานลงดวงจันทร์กับ CSM และกลับมาเชื่อมต่อกันใหม่ได้ และทดสอบระบบยังชีพขนาดพกพาสำหรับไว้ใช้บนดวงจันทร์
นักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่ได้แก่
เจมส์ แม็คดิวิทท์ (James Alton McDivitt) เป็นผู้บัญชาการ
จริงๆมีรูปที่เท่หลายรูปนะ แต่ผมชอบรูปนี้น่ะนะ
เดวิด สกอตต์ (David Randolph Scott) บังคับยานควบคุม
David Scott
รัสเซลล์ ชวิคการ์ท (Russell Louis "Rusty" Schweickart) บังคับยานลงดวงจันทร์
Rusty
อะพอลโล 10 เป็นภารกิจที่ทดสอบชุดอวกาศสำหรับใส่เดินบนดวงจันทร์ และทดสอบการร่อนลงดวงจันทร์โดยลงไปที่ความสูง 50,000 ฟีต หรือ 15 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว
นักบินอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจนี้ได้แก่
โทมัส สแตฟฟอร์ด (Thomas Patten Stafford) เขาเคยบินกับโครงการเจมินี 2 ครั้ง และเป็นผู้บัญชาการในภารกิจนี้
Thomas Stafford
จอห์น ยัง (John Watts Young) เขาเคยบินในโครงการเจมินีมาแล้ว และเป็นคนแรกที่บินเดี่ยวรอบดวงจันทร์จากภารกิจนี้ (บินรออยู่บนยานบริการซึ่งโคจรรอบดวงจันทร์)
John Young
ยูจีน เซอแนน (Eugene Andrew Cernan) เขาเคยบินในโครงการเจมินีมาแล้วเช่นกัน และได้ควบคุมยานลงดวงจันทร์ในภารกิจนี้
Eugene Cernan
หลังจากที่ได้ทดสอบระบบของตัวยาน จรวด ชุดอวกาศและ maneuver ต่างๆจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจแล้ว
ก็ได้เวลาที่นาซ่าจะตัดสินใจทำภารกิจลงจอดบนดวงจันทร์เสียที
ติดตามตอนต่อไปได้เร็วๆนี้
อ่านย้อนหลังได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างครับ
ตอนที่ 9
https://www.blockdit.com/articles/5cdf845e226fb00ffa25db9f
ตอนที่ 8
https://www.blockdit.com/articles/5cdd7bb9ac40a56856bc4ef8
ตอนที่ 7
https://www.blockdit.com/articles/5cdc1b825929e05444f67b3f
ตอนที่ 6
https://www.blockdit.com/articles/5cdac097b904220f9b3fe6e8
ตอนที่ 5
https://www.blockdit.com/articles/5cd63d33b404b91000c1a76d
ตอนที่ 4
https://www.blockdit.com/articles/5cd06519018770101416b2b2
ตอนที่ 3
https://www.blockdit.com/articles/5ccd02b1c7913621ce8112fa
ตอนที่ 2
https://www.blockdit.com/articles/5ccaec59d0520039023e6a0e
ตอนที่ 1
https://www.blockdit.com/articles/5cc9dc438240810ffd399b99
1
6 บันทึก
38
4
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์การบินโลก by Medium size Pilot
6
38
4
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย