25 พ.ค. 2019 เวลา 03:59 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์การบินโลก
ตอนที่ 11 ก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
”ก่อนหน้าที่จะเป็นภารกิจอะพอลโล 11 มีการสลับตัวนักบินกันไปมา”
โดยหลักการปกตินาซ่าจะจัดทีมปฏิบัติภารกิจแต่ละภารกิจตามรอบๆไป
ซึ่งนอกจากทีมที่ถูกเลือกเป็นตัวจริงแล้ว จะยังมีอีกทีมหนึ่งเป็นทีมสำรองด้วย
ซึ่งเมื่อตอนภารกิจอะพอลโล 9 ทีมของผู้บัญชาการ อาร์มสตรองนั้น ได้รับเลือกเป็นทีมสำรองในภารกิจนี้ โดยในทีมประกอบด้วย
นีล อาร์มสตรอง เป็นผู้บัญชาการ
Neil Armstrong
จิม เลิฟเวลล์ เป็นนักบินผู้ควบคุมยานบังคับการ (CMP)
Jim Lovell
บัซซ์ อัลดริน เป็นนักบินผู้ควบคุมยานลงดวงจันทร์ (LMP)
Buzz Aldrin
เลิฟเวลล์และอัลดรินนั้น เคยบินด้วยกันมาก่อนในภารกิจเจมินี 12
แต่เนื่องจากมีการเสียเวลาในการออกแบบและการสร้างยานอะพอลโล 8 และ 9 ทำให้ต้องมีการสับเปลี่ยนทีมใหม่อีกครั้ง ส่งผลให้ทีมของอาร์มสตรองกลายเป็นทีมสำรองของภารกิจอะพอลโล 8 แทน
และด้วยการสับเปลี่ยนทีมปฏิบัติการนี้เอง ทำให้ลำดับของทีมหลักภารกิจอะพอลโล 11 กลายมาเป็นทีมของ อาร์มสตรอง
แต่ก็มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เนื่องจาก ไมเคิล คอลลินส์ ในเวลานั้นเขาได้รับเลือกเป็น CMP ของภารกิจอะพอลโล 8 ต้องเข้ารับการผ่าตัดเนื่องจากมีกระดูกงอกระหว่างกระดูกสันหลังชิ้นที่ 5 และ 6 ส่งผลให้ขาของเขามีปัญหา
Michael Collins
เลิฟเวลล์จึงต้องไปปฏิบัติภารกิจอะพอลโล 8 แทน
เฟรด เฮส (Fred Wallace Haise Jr.) จึงถูกเลือกเป็น LMP สำรอง และ อัลดริน เป็น CMP สำรอง ของภารกิจ อะพอลโล 8
Fred Haise
หลังจากพักฟื้น คอลลินส์จึงได้มาร่วมภารกิจอะพอลโล 11 กับอาร์มสตรอง
ระหว่างนั้น เดคเค สเลย์ตั้น (Donald Kent "Deke" Slayton) ผู้เป็นหัวหน้านักบินอวกาศ
Deke Slayton
ได้ให้ข้อเสนอเปลี่ยนตัวอัลดริน เป็น เลิฟเวลล์ กับอาร์มสตรอง เพราะมีหลายคนมองว่าอัลดรินนั้นทำงานด้วยลำบาก แต่อาร์มสตรองไม่คิดอย่างนั้น
อาร์มสตรองนั้นให้เกียรติเลิฟเวลล์และมองว่า เขาควรได้เป็นผู้บัญชาการในภารกิจมากกว่าเป็นเพียง LMP
ซึ่งภายหลังเลิฟเวลล์ได้เป็นผู้บัญชาการในภารกิจ อะพอลโล 13
เมื่อถึงเวลาประกาศรายชื่อนักบินอวกาศในภารกิจอะพอลโล 11 จึงมีรายชื่อดังนี้
นีล อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) เป็นผู้บัญชาการ
ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) เป็นนักบินผู้ควบคุมยานบังคับการ (CMP)
เอ็ดวิน “บัซซ์” อัลดริน (Edwin “Buzz” E. Aldrin Jr.) เป็นนักบินผู้ควบคุมยานลงดวงจันทร์ (LMP)
นักบินที่ได้รับเลือกให้ทำภารกิจ Apollo 11
ส่วนตราสัญลักษณ์ของภารกิจอะพอลโล 11 นั้น คอลลินส์เป็นผู้ดีไซน์ขึ้นมา โดยเขาต้องการให้สัญลักษณ์สื่อถึง “การลงสู่ดวงจันทร์ของสหรัฐฯอย่างสันติ”
เลิฟเวลล์ให้ข้อเสนอว่าควรใช้ นกอินทรีหัวล้านซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติของสหรัฐอเมริกา
ทอม วิลสัน ผู้เป็นครูฝึกเครื่องจำลองออกความเห็นว่า ให้นกอินทรีถือกิ่งต้นมะกอกด้วย ซึ่งแสดงถึงสันติภาพ
คอลลินส์ก็ได้เพิ่มฉากหลังเป็นดวงจันทร์และโลกที่อยู่ในระยะไกล
อาร์มสตรองคิดว่าเลขสิบเอ็ดนี้ควรเขียนให้คนทั้งโลกเห็นแล้วอ่านออก จึงให้เป็นเลขอารบิค “11”
และสุดท้ายพวกเขาทั้งสามคน ได้ตัดสินใจไม่ใส่ชื่อลงในตราสัญลักษณ์ภารกิจในครั้งนี้ เพราะพวกเขาอยากให้ภารกิจนี้ เป็นของทุกๆคนที่ได้มีส่วนร่วมทำให้ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จนั่นเอง
ตัวยาน CM ใช้ call sign ว่า “Columbia” ซึ่งตั้งตามชื่อของปืนใหญ่ Columbiad ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐฟลอริดา
ปืนใหญ่ Columbiad
และยังเป็นชื่อเมืองหลวง Washington D.C. อักษรย่อ D.C. นั้นก็ย่อมาจาก District of Columbia ซึ่งตั้งตามชื่อของ Christopher Columbus ผู้พบทวีปอเมริกาอีกด้วย
D.C.
ส่วนยาน LM ใช้ call sign ว่า “Eagle” ตามตราสัญลักษณ์ของภารกิจ
“ได้เวลาปฏิบัติการ”
จรวด Saturn V ได้ถูกปล่อยออกไปเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 เวลา 13:32 UTC ณ ฐานยิงจรวดที่เคนเนดี สเปซ เซ็นเตอร์ รัฐฟลอริดา
อะพอลโล 11 กำลังทะยานขึ้นจากฐานปล่อยที่ 39A
โครงการอะพอลโลบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด เมื่อนีล อาร์มสตรอง ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 เวลา 20:17 UTC และบัซซ์ อัลดรินได้ตามลงมาหลังอาร์มสตรอง 19 นาที
อัลดรินกำลังตามลงมา
ถ้อยคำแรกที่อาร์มสตรองกล่าวหลังจากก้าวออกจากยานลงจอด อีเกิ้ล คือ
"นี่เป็นก้าวเล็กๆของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"
“That’s one small step for a man, one giant leap for mankind”
พวกเขาทั้งคู่เก็บตัวอย่างดินไป 47.5 ปอนด์ (21.5 กิโลกรัม) อยู่ภายนอกยาน 2 ชั่วโมง 15 นาที และใช้เวลาอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ทั้งหมด 21.5 ชั่วโมง ก่อนที่จะกลับขึ้นไปเชื่อมต่อกับยานโคลัมเบีย ซึ่งบินวนรออยู่บนวงโคจรรอบดวงจันทร์
แม้ว่าองค์การนาซ่าจะทำให้สหรัฐฯ ได้ชัยชนะในการแข่งขันกับสหภาพโซเวียต แต่ความสนใจของชาวอเมริกันที่มีต่อโครงการอวกาศ อันจะทำให้สภาคองเกรสทุ่มงบประมาณให้กับนาซ่า กลับลดน้อยถอยลง
นาซ่าสูญเสียผู้สนับสนุนในสภาหลังจาก ลินดอน บี. จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี
Lyndon B. Johnson
ผู้ที่มีบทบาทในการวิ่งเต้นเพื่อผลักดันงบประมาณให้กับนาซ่าในเวลาต่อมา คือ เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ (Wernher Von Braun) วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดชาวเยอรมัน
บราวน์กับจรวด V-2
เขาเสนอแผนสร้างสถานีอวกาศ ฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ และโครงการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารภายในปี ค.ศ. 1990
แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะประสิทธิภาพของเทคโนโลยีจรวดขณะนั้นยังไม่ดีพอ
อุบัติเหตุการระเบิดของถังออกซิเจน ที่เกือบจะเป็นโศกนาฏกรรมกับนักบินบนยานอะพอลโล 13 ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาสนใจในโครงการอวกาศ
Service module ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการระเบิดของถังออกซิเจน
อย่างไรก็ตาม ยานอะพอลโล 17 เป็นยานลำสุดท้ายที่ขึ้นบินภายใต้สัญลักษณ์อะพอลโล แม้ว่าโครงการอะพอลโลมีแผนไปถึงยานอะพอลโล 20
ภารกิจอะพอลโล 17
โครงการอะพอลโลสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเนื่องจากถูกตัดงบประมาณ (ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามเวียดนาม) และเป็นการปิดโครงการอะพอลโลลงเพียงเท่านี้
ติดตามตอนต่อไปเร็วๆนี้ครับ
โฆษณา