5 มิ.ย. 2019 เวลา 05:53 • ประวัติศาสตร์
อาณาจักร CP (ตอนที่ 15)
จุดเริ่มต้นค้าส่ง Makro และร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในประเทศไทย
.
หลังจากที่เครือเจริญโภคภัณฑ์บุกตลาดประเทศจีนแล้ว มาดูจุดเริ่มต้นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกในประเทศไทยกันต่อครับ
ปี 2520 บริษัท SHV Holding Company ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานรายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ได้มาขอปรึกษาคุณธนินท์ โดยต้องการจะทำธุรกิจถ่านหินที่ประเทศจีน เพราะสมัยนั้นมีเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นบริษัทต่างชาติเพียงรายเดียวที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศจีน
2
บริษัท SHV ต้องการที่จะซื้อถ่านหินจากประเทศจีน ขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายจะขายท่าเรือลอยน้ำให้จีนด้วย คุณธนินท์ได้ช่วยประสานงานกับกระทรวงพลังงานของจีนจนเป็นที่เรียบร้อยและกำลังจะเริ่มดำเนินการ แต่สัญญาธุรกิจระหว่างสองฝ่ายกลับต้องยุติลง เนื่องจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ขณะนั้นตัดสินใจขายเรือดำน้ำให้ไต้หวัน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
1
ถึงแม้ว่าธุรกิจถ่านหินจะเจรจาไม่สำเร็จ แต่คุณธนินท์กับผู้บริหารระดับสูงของ SHV ก็กลายเป็นเพื่อนธุรกิจกันบริษัท SHV นั้นมีแม็คโคร (Makro) เป็นบริษัทลูก
ซึ่งดำเนินธุรกิจค้าส่งจำพวกผลิตภัณฑ์อาหารให้แก่ร้านอาหารและลูกค้ารายย่อยในรูปแบบ cash and carry คือ ลูกค้ามาซื้อสินค้าด้วยเงินสดและขนสินค้าไปเอง ดังนั้นคุณธนินท์จึงคิดตั้งใจว่าจะนำแม็คโครเข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทย
ตอนนั้นผู้บริหารแม็คโครของ SHV ไม่เห็นด้วยกับ “รูปแบบการบริหารนี้อาจยังเร็วเกินไปสำหรับประเทศไทย” แต่ด้วยความสามารถทางธุรกิจของคุณธนินท์ก็เจรจาจนประสบผลสำเร็จ
ในที่สุดปี 2531 เครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัท SHV ก็ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกัน และสร้างระบบโลจิสติกส์ขึ้น
และปี 2532 ก็ได้เปิดแม็คโครสาขาแรกขึ้นในประเทศไทยคือ สาขาลาดพร้าว กรุงเทพฯ
ธุรกิจต่อมาก็คือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งการนำธุรกิจนี้เข้ามายังประเทศไทยนั้น ธนาคารเชส แมนฮัตตัน (Chase Manhattan Bank) ปัจจุบันคือ เจพี มอร์แกน เชส (J.P. Morgan Chase) ซึ่งมีความสนิทสนมกับซีพีอยู่แล้ว โดยเป็นธุระจัดการให้คุณธนินท์ได้พบปะกับบุคคลที่สำคัญในสหรัฐอเมริกา
ปี 2520 กิจการ 7-Eleven ยังเป็นของบริษัท เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น (The Southland Corporation) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งธุรกิจนี้ขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2470
(ต่อมาได้ขายหุ้นให้กับบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ : Seven & i Holdings แห่งประเทศญี่ปุ่น ที่ได้กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจ 7-Eleven นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน)
1
ขณะนั้นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของคนไทยอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 34,000 บาท) ต่อคนต่อปีเท่านั้น ร้านสะดวกซื้อจึงถูกมองว่ายังเร็วเกินไปที่จะเกิดธุรกิจนี้ในประเทศไทย
แต่คุณธนินท์ไม่คิดเช่นนั้น เพราะถึงแม้ว่าผู้บริโภคคนไทยจะใช้จ่ายเงินต่อคนไม่สูง แต่จำนวนลูกค้าร้านสะดวกซื้อต่อร้านของไทยสูงถึง 15 เท่าของร้านสะดวกซื้อในสหรัฐอเมริกา ค่าเช่าพื้นที่และค่าจ้างพนักงานก็ถูกกว่า
คุณธนินท์จึงได้เชิญ Mr. John P. Thompson ซึ่งเป็นประธาน และ Mr. Jere W. Thompson กรรมการผู้จัดการใหญ่ของเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นสองพี่น้องตระกูลทอมป์สัน ทายาท มร. โจ ซี ทอมป์สัน ผู้ก่อตั้ง 7-Eleven มาสำรวจพื้นที่จริงที่เมืองไทย
Cr:Dekdee
ปี 2532 เครือเจริญโภคภัณฑ์ก็ได้เปิดร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven สาขาแรกที่ถนนพัฒน์พงศ์ ซึ่งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ และเป็นแหล่งรวมของชาวต่างชาติ มีลูกค้าเข้ามาอุดหนุนจำนวนมากจนถึงปัจจุบันขยายสาขาไปแล้วกว่าหมื่นสาขา
ปี 2530 ธุรกิจต่อมาคือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ นั่นก็คือ“โลตัส” หรือโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในขณะนั้น
ติดตามบทความตอนต่อไปของ
อาณาจักร CP ตอนที่ 16
อ่านบทความอาณาจักร CP
ย้อนหลัง ตอนที่ 14
👇https://www.blockdit.com/articles/5cf5f9ab22658e1003cb8df7
ขอบคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา