Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลุงแมน
•
ติดตาม
11 มิ.ย. 2019 เวลา 11:01 • ประวัติศาสตร์
อาณาจักร CP ตอนที่ 17
ช่วงวิกฤตการเงิน ปี 40 ผลกระทบที่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ต้องเจอ..!!
ช่วงปลายปี 2520 ถึงปี 2530 การขยายตัวของธุรกิจและการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในเวลานั้นทุกอย่างกำลังดูดี
ต่อมาไม่นานชักเริ่มดูดีเกินความเป็นจริง หลายบริษัทในประเทศไทยรวมถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ ต่างเร่งขยายธุรกิจ และเพิ่มการกู้เงินจากต่างประเทศ
ในปี 2539 บัญชีเดินสะพัดของไทยเริ่มขาดดุลหนัก หลายคนเห็นว่าเงินบาทต่อดอลลาร์มีมูลค่าเกินจริง การขาดดุลอย่างหนักนี้ตกเป็นเป้าของนักฉวยโอกาส ทำการโจมตีค่าเงิน
โดยการถล่มขายเงินบาท รัฐบาลไทยพยายามรักษาค่าเงินโดยการเข้าแทรกแซงซื้อเงินบาทในตลาด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ปี 2540 ปีที่ต้องจดจำ...
เป็นเรื่องท้าทายใหญ่ที่สุดในชีวิตของคุณธนินท์ ตอนนั้นประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่มาเป็นเวลานาน โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้การค้า การลงทุน เงินกู้ และธุรกรรมทางการเงินระหว่างไทยกับต่างประเทศ ไม่เคยได้รับผลกระทบด้านความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน บริษัทไทยสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้โดยง่าย จึงขยายกิจการกันอย่างเต็มที่ รวมทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ด้วยเช่นกัน
ฝันร้ายที่เป็นจริงก็มาเยือน..!!
2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลยกเลิกระบบค่าเงินคงที่ และประกาศใช้ระบบแลกเปลี่ยนลอยตัวเงินบาท ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ก็ลดฮวบลง
ภายในครึ่งปีเงินตราสกุลต่างๆในประเทศแถบเอเชียอื่นๆ ก็ถูกนักลงทุนเทขาย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศตกต่ำอย่างมาก
เป็นสัญญาณเตือนว่าวิกฤตการเงินเอเชียได้มาถึงแล้ว
มกราคม 2541 ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ หรือเท่ากับเงินบาทมีมูลค่าลดลง 1 เท่า นั่นหมายความว่าเงินกู้จากต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้ว ผู้กู้จะมีภาระต้องหาเงินมาชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
ธนาคารต่างประเทศเกรงว่าจะไม่ได้รับชำระเงินกู้คืนจากลูกหนี้แถบภูมิภาคเอเชีย จึงไม่ยอมปล่อยเงินกู้ให้ประเทศในแถบนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ธนาคารต่างประเทศยังขอให้เครือเจริญโภคภัณฑ์คืนเงินกู้ก่อนกำหนดเวลาชำระอีกด้วย
สัญญาเงินกู้ระยะเวลา 5 ปี กลายเป็นโมฆะ มีเพียงไม่กี่ธนาคารเท่านั้นเช่น ธนาคาร HSBC ของอังกฤษ ที่ยอมยืดเวลาในการชำระคืนเงินกู้ให้แก่เครือฯ ตอนนั้นกิจการใหญ่ๆ ในทวีปเอเชียที่ขาดเงินทุนค่อยๆ ล้มละลายและสูญหายไปในที่สุด
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ต้องการจะรักษาธุรกิจหลักเอาไว้จึงตัดสินใจขายหุ้นของบริษัทลูกที่อยู่ในเครือฯ ทันที คือโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งกำลังเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก แต่ก็จำเป็นต้องขายหุ้นจำนวน 75% ของโลตัสฯ ให้แก่บริษัทเทสโก้ของอังกฤษ
ส่วนหุ้นของแม็คโคร (Makro) ซึ่งเป็นธุรกิจค้าส่งระบบสมาชิกได้ขายคืนให้บริษัท SHV ของเนเธอร์แลนด์
ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ยังขยายไปสู่ธุรกิจอื่นด้วยตั้งแต่ กิจการของบริษัทเทเลคอมเอเซีย จำกัด (TA) ทั้ง ธุรกิจปิโตรเคมี
บริษัทด้านสินค้าเกษตรในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันประกอบด้วยบริษัทกรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด (มหาชน) หรือ BPA บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หรือ CPF และบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์ จำกัด หรือ BKP ต่างก็เจอผลกระทบด้วยเช่นกัน
ส่วนด้านสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป ของซี.พี.คอนซูเมอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภคทั้งของในเครือเอง กับผู้ผลิตรายอื่น ก็ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน
สำหรับต่างประเทศนั้น ซี.พี.ก็ต้องสั่งชะลอการลงทุนทั้งหมด เช่น ที่เมืองจีนได้ขายบริษัทมอเตอร์ไซค์และหุ้นในอีกหลายบริษัท
ภายใต้วิกฤตครั้งนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งเน้นการลงทุนใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจโทรคมนาคม และเมื่อปริมาณการผลิตอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการส่งออกไปทั่วโลกที่ขยายตัวมากขึ้น จึงช่วยให้เครือฯ ได้รับเงินตราต่างประเทศกลับเข้ามาในมือ
ในส่วนของธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่เครือฯ บริหารอยู่นั้น เมื่อมีการขยายธุรกิจในรูปแบบการขาย
แฟรนไชส์ออกไปแทนที่จะเปิดร้านเอง ก็ทำให้ธุรกิจค้าปลีกของเครือฯ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ถือได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นเป็นปัญหายิ่งใหญ่ที่สุดของคุณธนินท์ผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการตัดสินใจขายหุ้นของบริษัทลูกที่อยู่ในเครือฯ
ต่อมาเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็สามารถฝ่าวิกฤต จนไม่ล้มละลายมาได้ และกลับสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
คุณธนินท์กล่าวว่า ความหมายของคำว่า “วิกฤต” ในภาษาจีนมีความลึกซึ้งมาก โดยตัวอักษรจีนคำนี้ประกอบด้วยคำที่แปลว่า “ความเสี่ยง” และคำที่แปลว่า “โอกาส”
ความหมายที่แฝงอยู่จึงมีทั้ง
"ความเสี่ยง แต่ก็ซ่อนไว้ซึ่งโอกาส"
เครือเจริญโภคภัณฑ์ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจมาได้ แล้วกลับมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง ในปีพ.ศ. 2556 เครือฯ ได้ซื้อหุ้นแม็คโครคืนจากบริษัท SHV
ในส่วนของโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์
ที่เคยเป็นผู้บุกเบิกมาตั้งแต่ต้น
คุณธนินท์ก็ตั้งใจจะซื้อกิจการกลับคืนมาจากบริษัทเทสโก้ แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายเทสโก้เท่านั้น
ติดตามบทความตอนต่อไปของ
อาณาจักร CP ตอนที่ 18
อ่านบทความอาณาจักร CP
ตอนที่ 16 ย้อนหลัง
https://www.blockdit.com/articles/5cf5fff2483a6f0ff90d31bf
ขอบคุณ
References
CP
https://th.m.wikipedia.org/https://r.nikkei.com/
https://www.chiataigroup.com/
https://cpgg.cpfworldwide.com/th/aboutus.php
http://oknation.nationtv.tv/
http://www.bizpromptinfo.com/http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=4660
34 บันทึก
96
2
38
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อาณาจักร CP
34
96
2
38
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย