11 ก.ย. 2019 เวลา 13:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เกลือ
ตัวยาสำคัญ
เกลือในทุกวันนี้หาซื้อได้ง่ายมากและใช้งานได้จริง ทั้งประหยัดคุ้มค่าคุ้มราคาเป็นอย่างยิ่ง แต่เกลือก็มี "ข้อเสีย" ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี หลายคนจะเข้าใจผิดว่า "ใส่ยาปฎิชีวนะต้องใส่เกลือด้วย" เป็นความเข้าใจที่ผิดมาก ๆ เพราะเกลือจะไปทำปฏิกิริยาทำให้ประสิทธิภาพของตัวยาลดลง เกลือนั้นละลายน้ำยากมากและอย่าใส่ลงไปเลยดื้อ ๆ มันจะไปกองอยู่ก้นตู้ ทำตัวเนียน ๆ เหมือนมันจะละลาย
แต่จริง ๆ มันยังไม่ละลาย เพราะตรงที่เกลือไปกองอยู่นั้นน้ำจะมีความเค็มสูงมาก ยิ่งมีไม้น้ำด้วยยิ่งไม่ควรเลย เพราะไม้น้ำไม่ทนความเค็มและจะส่งผลเสียกับตัวปลาอีกด้วย ควรละลายเกลือก่อนใส่ลงตู้หรือใส่เกลือลงไปในชั้นกรองหยาบก่อนก็ได้
การใส่เกลือมากไปไม่ดีต่อตัวปลา ปลาจะสะสมเกลือมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการและจะไปลดภูมิต้านทานของตัวปลาเองอีกด้วย โดยรวมแล้วทั้งหมดถ้ามี "ข้อเสีย" ก็ต้องมี "ข้อดี" ปะปนกันไป เกลือถ้าว่าไปแล้วก็คือ "ยาสามัญประจำตู้ปลา" นั้นเอง
ข้อดี :
+ เกลือช่วยลด "ความเครียด" ของปลา
+ ช่วยฆ่าเชื้อโรค
+ เกลือสามารถฆ่าปรสิตได้
+ ช่วยกระตุ้นให้ปลาของเรา "สร้างเมือก"
**เมือกปลาก็เหมือนยาฆ่าเชื้อดี ๆ ถ้าสังเกตเวลาที่ปลาจะป่วย ปลาจะมีเมือกออกมาเยอะมาก จนบางทีเราอาจจะได้กลิ่นคาว ๆ ตามมาด้วย ถ้าใช้เกลือในปริมาณที่พอดีมีแต่คุณประโยชน์ต่อตัวปลาของเราเป็นอย่างมาก**
การให้เกลือแบ่งออกเป็น 2 แบบ :
1. แบบป้องกันโรค
ตู้ 24 นิ้ว - 2 ช้อนโต๊ะ
ตู้ 36 นิ้ว - 3 ช้อนโต๊ะ
ตู้ 48 นิ้ว - 4 ช้อนโต๊ะ
ตู้ 60 นิ้ว - 5 ช้อนโต๊ะ
ตู้ 72 นิ้ว - 6 ช้อนโต๊ะ
** ประมาณ 0.2 กรัม-0.3 กรัม / น้ำ 1 ลิตร **
2. แบบรักษาโรค
รักษาโรคพวก "เกล็ดชัน หางเน่าหางเปื่อย โรคที่มากับน้ำต่าง ๆ"
= ใส่เกลือปริมาณ 3-5 g / น้ำ 1 ลิตร
ฆ่าพวกปรสิต
= ใส่เกลือ 10-30 g / น้ำ 1 ลิตร [แช่นาน 30 นาที(24 ชั่วโมงทำซ้ำอีกที)]
** ระหว่างรักษาอาการปลาน้อยของเรา ต้องหมั่นเฝ้าดูแลตัวปลาด้วยเพราะปลาแต่ละตัว แต่ละชนิดรับความเค็มได้ไม่เท่ากัน **
เคล็ดลับ :
"ปลาทองกับปลาคาร์ฟ" ทนเกลือได้สูง
"ปลากลุ่มแคทฟิส" ทนเกลือค่อนข้างต่ำ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำออนไลน์
fishway
Website : ...coming soon...
Youtube : ...coming soon...
Tiktok : ...coming soon...
Line VOOM : ...coming soon...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา