15 ก.ย. 2019 เวลา 06:24 • การศึกษา
5 นาทีกับ PS ตอนที่ 14 Layer Mask
ในซีรีย์บทความ 5 นาทีกับ PS เคยพูดถึงเรื่อง layer ไปแล้วในตอนที่ 2 และ 3
ถ้า layer เปรียบเสมือนกระดาษใสที่สามารถนำมาซ้อนกันได้
Layer Mask ก็เปรียบเสมือนแผ่นกระดาษที่ปะหน้า layer เหล่านั้นอีกที
หลายคนอาจจะงงๆ ว่าจะเอากระดาษมาซ้อนกระดาษอีกทีเพื่ออะไร ?
แต่อยากจะบอกเลยว่า layer mask นั้นช่วยให้การทำงานของ layer ยืดหยุ่น และพลิกแพลงได้เป็นอย่างมาก
เมื่อเรากดที่สัญลักษณ์ layer mask ก็จะมีไอคอน layer mask เกิดขึ้นที่ layer นั้นๆ
โดยไอคอนของ layer mask จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีขาว
หลักการใช้ของมันคือ สีขาว = มองเห็น, สีดำ = มองไม่เห็น
อย่างเช่นจากรูปจะเห็นว่างานของเราเห็นเป็นสีเหลืองทั้งหมด เพราะ layer สีเหลืองซ้อนอยู่บน layer สีม่วง
เวลาเราจะทำงานที่ layer mask ให้เราจิ้มไปที่สัญลักษณ์ของ layer mask 1 ครั้ง (โดยที่เวลาเราจะทำอะไรกับ layer mask ก็ทำที่ส่วนที่เป็นตัวงานของเราแบบปกติ แต่ผลจะไปเกิดกับ layer mask แทน และถ้าต้องการกลับมาทำงานที่ layer ปกติ ก็ให้จิ้มไปที่สัญลักษณ์ของ layer นั้นๆ แทน)
1
จากนั้นเราลองเทสีดำไปที่ด้านซ้ายของ layer mask ของ layer สีเหลือง
จะเห็นได้ว่าส่วนของ layer mask ด้านซ้ายกลายเป็นสีดำ
งานของเราที่ปรากฎก็คือฝั่งซ้ายจะมองไม่เห็นสีเหลือง กลายเป็นทะลุไปเห็นสีม่วงซึ่งเป็น layer ที่อยู่ด้านล่างแทน
.
อีกที ถ้าเราลองเทสีดำที่ layer mask ด้านขวาของ layer สีเหลือง เพิ่มเข้าไป
งานของเราที่ปรากฎ ก็จะเห็นได้ว่าส่วนของสีเหลืองก็จะถูกบังให้มองไม่เห็นโดยสัมพันธ์กับส่วนที่เป็นสีดำของ layer mask ที่ถูกเทสีลงไป
.
แล้วถ้าไม่ใช่ขาวสุด ดำสุด แต่เป็นสีเทาล่ะจะเกิดผลอย่างไร ?
ถ้าเราลองเทสีเทา 50% ไปที่ตรงกลางของ layer mask ของ layer สีเหลือง
ผลที่ได้ก็คืองานของเราที่ปรากฎ ส่วนที่ถูกเทสีเทาลงใน layer mask ก็จะมองเห็นสีเหลืองเพียง 50% เหมือนเราปรับ opacity ของ layer แต่ปรับไปที่เฉพาะส่วนนั้นๆ แทน
.
Layer Mask นั้นสามารถลากทิ้งลงถังขยะได้แบบเดียวกับ layer ปกติ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา