8 ต.ค. 2019 เวลา 13:27 • สุขภาพ
หายใจอุดกันขณะหลับ (obstrucive sleep apnea)..สาเหตุลับลวงพรางของอาการก่งก๊งและ stroke
หญิงโสด วัย 62 ปี มาพบข้าพเจ้าด้วยอาการ 'ก่งก๊ง" คือจะว่าเวียนหัวบ้านหมุนก็ไม่ใช่ จะว่าง่วงก็ไม่เชิง แต่รู้สึกหนักๆ หัว ตั้งแต่ตื่นนอน เวลาเดินก็รู้สึกเหมือนเท้าลอยๆ ไม่มั่นคง
ท่านเคยได้รับการตรวจสุขภาพปกติดี มีความดันค่อนข้างสูงเล็กน้อย 140-150 เคยตรวจ MRI สมองและเส้นเลืดสมองแล้วก็ปกติดี เคยไปตรวจเรื่องน้ำในหูไม่เท่ากัน กับแพทย์หูคอจมูกก็ปกติ
จนวันหนึ่ง ท่านมีอาการคัดจมูกแบบภูมิแพ้ จึงแนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอโรคทางเดินหายใจ และรวดปรึกษาเรื่องการทำ sleep lab เพื่อดู sleep apnea ด้วย...ตามตำรา ให้คิดถึงภาวะนี้ในคนมีอาการ 'ก่งก๊ง' ที่หาอย่างอื่นไม่พบ ซึ่งตอนแรกข้าพเจ้าก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไร เพราะท่านนี้ รูปร่างผอมบาง ประวัติกรน ก็ไม่มี ติดเพียงว่าไหนๆ ก็ไปแล้วถามดูก็ไม่เสียหาย
แต่ผล sleep lab ก็ออกมาผิดคาด ปรากฎว่า ท่านมีภาวะหายใจอุดกั้นอย่างรุนแรงขณะหลับในช่วงตี 1 ถึง ตี 3 ซึ่งเป็นช่วงหลับลึก ทำให้ตัวท่านเองก็ไม่ทราบ และเสียงกรนไม่มีใครทราบจากการอยู่คนเดียว...เมื่อได้เครื่องช่วยพ่นอากาศเปิกทางเดินหายใจแบบพกพา (CPAP) อาการก่งก๊งต่างๆ ก็หายไป :)
การทำ sleep lab (polysomnography)
อีกรายเป็น ชายอายุ 68 ปี มีประวัติเคยอ่อนแรงแขนขาด้านขวา ได้ CT สมองพบเป็นสมองขาดเลือดขนาดเล็ก หลังจากกายภาพบำบัด 6 เดือนก็ฟื้นตัวไม่มีอ่อนแรง
แต่ยังมีอาการ 'วูบ' ขณะทำกิจกรรมประจำวัน เช่นนั่งทานอาหาร ก็วูบหมดสติ 1-2 นาที เป็นบ่อย จนต้องไปพบแพทย์ สงสัยภาวะโรคลมชัก ได้ลองให้ยารักษาลมชักอยู่ 3 เดือน ยังคงมีอาการอยู่ จึงส่งตัวมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อซักประวัติอย่างละเอียด พบว่าท่านผู้นี้ มีอาการมึนศรีษะหลังตื่นนอน ร่วมกับภรรยาแจ้งว่ามีกรนเสียงดังสลับการเงียบ มาตั้งแต่ก่อนเกิด stroke และยิ่งหลังเป็น stroke การกรนยิ่งหนักขึ้น
จึงส่งตรวจ sleep lab (polysomnography) เนื่องจากสามารถดูได้ทั้งคลื่นไฟฟ้าสมองดูคลื่นชัก (EEG) และการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ผลออกมาว่า คลื่นสมองปกติดี แต่มีการอุดกั้นหายใจระดับรุนแรงมาก..
เมื่อได้รับ CPAP ไปใช้ ช่วงแรกไม่คุ้นเคยไม่ยอมใส่ แต่พอลองใส่ตื่นเช้ามารู้สึกสดชื่น จึงใช้เป็นประจำ อาการวูบหายไป และหยุดยากันชักได้
คนที่เป็น OSA มักกรน
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่กรนเป็น OSA
กลไกการเกิด obstructive sleep apnea (OSA) ไม่มีอะไรซับซ้อนนัก คือการที่โคนลิ้นและลิ้นไก้ (uvula) ตกมาปิดทางเดินอากาศจากจมูกลงหลอดลม
การกรน (snoring) แสดงถึงการตีบ แต่ยังไม่ตัน หากลงมาปิดจนไม่มีอากาศผ่านเลยจะไม่มีเสียงครอก แต่กลายเป็น อึ้กๆ จากกลไกที่ร่างกายขาด oxygen จนพยายามจะออกแรงหายใจเพิ่ม
การขาด oxygen ในขณะนอนหลับ ส่งผลให้ตื่นมามีอาการมึนงง ง่วงระหว่างวัน หรืออาจถึงขั้นวูบหมดสติดังกรณีตัวอย่าง
OSA ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด ทั้งหัวใจและสมอง โดยการศึกษาในเพศชาย อายุ 60 ปี การมี OSA ที่ไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าคนที่ไม่เป็น หรือได้รับการแก้ไขด้วย CPAP 2 เท่า และยิางเพิ่มเมื่อเวลาผ่านไป จนถึง 6-7 เท่า ดังภาพ
http://healthysleep.med.harvard.edu/sleep-apnea/living-with-osa/health-consequences
ท่านที่นอนกรน (หรือไม่รู้ เพราะนอนคนเดียว ^^") มีวิธีประเมินตนเองว่ามีออาการเข่าข่าย
1. มีอาการมึนงง โคลงเคลง
2.ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น
3.ง่วงระหว่างวัน (รวมถึงอาการวูบ) ซึ่งสามารถประเมินเป็น score ด้วย Epworth Sleep Score (ESS) หากมากกว่า 10 จากเต็ม 24 ถือว่ามีระดับค่อนข้างรุนแรง
ความเสี่ยงที่จะมี OSA
1. รูปร่างอ้วน เนื่องจากทำให้โคนลิ้นและลิ้นไก่มีขนาดใหญ่
2. อายุและกรรมพันธ์ ทำให้กล้ามเนื้อส่วนโคนลิ้นหย่อนง่าน
3. การดื่มแอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ทำให้กล้ามเนื้อส่วนโคนลิ้นหย่อนง่าย
https://images.app.goo.gl/VbmvgosxZD38FFYw8

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา