28 ต.ค. 2019 เวลา 12:40 • การศึกษา
“ลางานเฉลี่ยเดือนละ 2 วันเป็นการหยุดงานพร่ำเพรื่อหรือไม่ ?”
การลาป่วยหรือลากิจนั้น เป็นสิทธิตามกฎหมายที่ลูกจ้างพึงได้รับจากนายจ้าง
pixabay
โดยกฎหมายได้กำหนดระยะเวลาที่ลูกจ้างมีสิทธิลาและสิทธิที่จะได้รับค่าจ้าง เพื่อเป็นมาตรฐานให้นายจ้างต้องปฏิบัติแก่ลูกจ้างในการทำงาน
1
การลาป่วยนั้น กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจขอให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ได้
ส่วนนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงาน แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน
pixabay
สำหรับการลากิจ กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน
โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลากิจเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงาน แต่ปีหนึ่ง
จะต้องไม่เกิน 3 วันทำงาน
ดังนั้น จึงเป็นสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่จะต้องบริหารจัดการเรื่องวันหยุดให้สอดคล้องกับที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้
การที่ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดงานตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ใช่เรื่องผิดระเบียบวินัยแต่อย่างใด เว้นแต่ลูกจ้างจะใช้สิทธิหยุดงานโดยไม่ถูกต้อง เช่น...
1
ลูกจ้างโกหกนายจ้างว่าป่วย แต่จริง ๆ แล้วไปสมัครงาน หากนายจ้างมีหลักฐานชัดเจนว่าลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริง อย่างนี้ถือว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างสามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
pixabay
สำหรับคดีตัวอย่างในวันนี้ ลูกจ้างซึ่งทำงานในตำแหน่งกราฟิกดีไซน์ ได้เป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยต่อศาลแรงงาน
เนื่องจากเห็นว่านายจ้างได้เลิกจ้างตนโดยไม่เป็นธรรม โดยขอให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามกฎหมาย
ฝ่ายนายจ้างได้ให้การว่า ลูกจ้างได้หยุดงาน (ทั้งลาป่วยและลากิจ) ปีหนึ่ง ๆ บ่อยครั้ง และเคยมีหนังสือตักเตือนลูกจ้างว่ามีพฤติกรรมหยุดงานพร่ำเพรื่อ ก่อให้เกิดผลเสียต่อการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน
จึงได้เตือนให้ลูกจ้างแก้ไขปรับปรุงตนเอง มิเช่นนั้นจะถือเป็นเหตุเลิกจ้าง และต่อมาลูกจ้างได้ทำผิดซ้ำคำเตือนจึงเป็นการใช้สิทธิเลิกจ้างตามกฎหมาย
1
pixabay
ซึ่งเรื่องนี้ศาลฎีกาได้พิจารณาเรื่องการหยุดงานของลูกจ้างและให้เหตุผลว่า
คำว่า “พร่ำเพรื่อ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายความว่า “เกินขอบเขตบ่อย ๆ ไม่เป็นกิจลักษณะ”
แต่จากสถิติการหยุดงานของลูกจ้างตามหนังสือเลิกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งเป็นวันที่นายจ้างออกหนังสือเตือนถึงวันที่ 29 มกราคม 2556 ที่นายจ้างมีหนังสือเลิกจ้างนั้น...
ลูกจ้างลางานและขาดงานเพียง 22 วัน คิดเฉลี่ยเพียงเดือนละประมาณ 2 วัน
จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างลางานเกินขอบเขต หรือบ่อย ๆ ไม่เป็นกิจลักษณะ และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างละเว้นหรือฝ่าฝืนระเบียบวินัยในการทำงานแต่อย่างใด
การกระทำของลูกจ้างจึงไม่ถือว่าเป็นการทำผิดซ้ำคำเตือนที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
พิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยแก่ลูกจ้าง
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 9279/2559)
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา