13 พ.ย. 2019 เวลา 15:34 • ธุรกิจ
วิธีหา”หุ้นตีแตก”ของ ดร.นิเวศน์ (Part 2 จบ)
มาต่อบทความจาก Part 1 ที่ผมได้เขียน วิธีหา”หุ้นตีแตก”ซึ่งดร.นิเวศน์ จะใช้วิธีโดยการเข้าลงทุนหุ้นในตัวที่กำลังเกิดสถานการณ์ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอน โดยที่แทบจะไม่มีความเสี่ยงเลยนั้น เพื่อนๆสามารถอ่านย้อนหลังตามลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ
อ่ะมาดูกันดีกว่าว่ามีหุ้นแบบไหนอีกที่เข้าข่าย”หุ้นตีแตก”ที่ดร.นิเวศน์มักเสาะแสวงหาครับ
หุ้นที่บริษัทประกาศงบการเงินไตรมาสของปี ออกมาสร้างเซอร์ไพรส์ ดีเกินคาดที่นักวิเคราะห์ได้วิเคราหะเอาไว้
เมื่อประกาศออกมาราคาหุ้นจะสะท้อนแล้วขึ้นทะยานทันที อาจวิ่งขึ้นไปชนราคา celling (คือราคาที่หุ้นสามารถวิ่งขึ้นไปได้สูงที่สุดในวันนั้นๆ) และอาจวิ่งขึ้นไปอีกหลายวัน
ยกตัวอย่างหุ้นราคาก่อนประกาศงบไตรมาส อยู่ที่ 6.60 บาทต่อหุ้น พอหลังจากประกาศงบวันแรกสร้างเซอร์ไพรส์ หุ้นอาจพุ่งไปที่ celling หลายวันติดกันแต่ถ้าปริมาณการขายหุ้นยังน้อยมาก ถ้าซื้อจะได้จำนวนหุ้นที่น้อย ดร.นิเวศน์จะรอจังหวะซื้อหุ้นตอนที่มีการเสนอขายมากขึ้น เพื่อจะได้ ”ตีแตก” (สมมุติว่าราคาขึ้นไปที่ 12 บาทแล้ว) ซึ่งเขาคิดว่าแม้ว่าราคาหุ้นจะขึ้นมาสูงแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในข่ายที่จะต้อง”ตีแตก”ทั้งนี้เพราะเมื่อเขาได้วิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทแล้ว สมมุติว่าแค่ไตรมาสเดียวหุ้นตัวนี้ยังทำกำไรต่อหุ้น ได้ 4.40 บาท (ต่อหุ้นต่อปี) เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มทั้งปี อาจกำไรต่อหุ้น* อยู่ที่ 8 บาท (ต่อหุ้นต่อปี) เทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อไปที่ 12 บาทต่อหุ้นแล้ว ถ้าถือหุ้นตัวนี้ภายในปีครึ่ง ก็จะได้กำไรคืนทุนทั้งหมด (ปีแรกคืนทุน 8 บาท + ครึ่งปีคืนทุน 4 บาท) ซึ่งมองในแง่ธุรกิจแล้ว คุ้มเหลือเกิน
*หมายเหตุ กำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share : EPS) คือ กำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานของกิจการต่อหุ้นสามัญของกิจการที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นแล้ว
ทั้งนี้จากที่ผมอ่าน หนังสือตีแตกกลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต โดย ดร.นิเวศน์ ผมขอสรุป วิธีหาหุ้นตีแตก 2 ข้อนะครับ คือ
1. ต้องติดตามข่าวสารตลาดอย่างใกล้ชิด
2. ต้องวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทเสียก่อน ซึ่งผมคิดว่าต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์พอสมควรเลย
เมื่อหาหุ้นที่เข้าข่าย “หุ้นตีแตก”แล้ว สุดท้ายจะต้องกล้าที่จะ “ตีแตก” หรือลงทุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
จบแล้วครับ ฝากกดไลค์ แชร์ ติดตามเพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความต่อไปด้วยน่ะครับ^^
อ้างอิง: หนังสือ ตีแตกกลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต โดย ดร.นิเวศน์
เหมวชิรวรากร
โฆษณา