10 พ.ย. 2019 เวลา 01:50 • ธุรกิจ
วิธีหา”หุ้นตีแตก”ของ ดร.นิเวศน์ (Part1)
จากบทความที่แล้วผมได้เล่า สไตล์การออมเงินในหุ้นของ ดร.นิเวศน์ โดยเขาจะหาหุ้นที่ซื้อแล้วคิดว่าไม่มีทางขาดทุน มีแต่กำไร ไม่มีความเสี่ยง (Arbitrage) แต่เขามีวิธีในการหาหุ้นเหล่านี้อย่างไร วันนี้ผมจะมีอธิบายให้ฟังครับ
ดร.นิเวศน์ จะเข้าลงทุนหุ้นในตัวที่กำลังเกิดสถานการณ์ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอน โดยที่แทบจะไม่มีความเสี่ยงเลยนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และเมื่อเกิดขึ้นก็จะเกิดไม่นาน ดังนั้นต้อง”ติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด” เมื่อสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นจะต้องพร้อมและกล้าที่จะ “ตีแตก” หรือลงทุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ยกตัวอย่าง เช่น กิจการที่จะถูกเทคโอเวอร์ เหตุผลที่มีบริษัทหนึ่งจะ
เทคโอเวอร์อีกบริษัทหนึ่ง ก็คือ บริษัทที่จะเทคโอเวอร์อาจเป็นบริษัทต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจในย่านใหม่ ซึ่งเห็นว่าในย่านนี้อาจเป็นแห่งทำเงินของเขาได้ในอนาคต หรือต้องการที่จะขยายกิจการของตัวเอง โดยประกาศออกไปว่าจะทำคำเสนอซื้อต่อผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป (tender offer = การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ สามารถอ่านความหมายได้ในนี้ครับ https://www.longtunman.com/14877) ผ่านตลาดหลักทรัพย์
1
อาจเรียกบริษัทที่จะเทคโอเวอร์ว่าคนที่จะเข้ามาครอบงำกิจการ
1
กฎเกณฑ์ Tender Offer ระบุไว้ว่า คนที่เข้ามาครอบงำกิจการจะต้องทำคำเสนอซื้อ หรือ Tender Offer จากผู้ถือหุ้นรายอื่นที่เหลือทั้งหมดของกิจการด้วย และการกำหนดราคา Tender Offer ต้องไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คนเข้ามาครอบงำกิจการที่เคยซื้อภายใน 90 วัน
เช่น บริษัท A เคยทำ Tender Offer และครอบงำกิจการ Y ด้วยราคาสูงสุด ณ ตอนนั้นที่ 40 บาทต่อหุ้น รวมถือหุ้นจำนวนเกิน 50 % กิจการทั้งหมดของ Y จึงเป็นของบริษัท A แต่มี บริษัท B โผล่ขึ้นมาตกลงกับบริษัท A อีกว่าจะเข้ามาทำ Tender Offer กับบริษัท A ที่ได้กิจการ Y ทั้งหมดไปแล้ว เพราะฉะนั้น บริษัท B ต้อง Tender Offer โดยทำการซื้อหุ้นจากบริษัท A และผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด ที่ราคาเดียวกับ บริษัท A ที่เคยซื้อหุ้นของกิจการ Y ด้วยราคาที่ 40 บาทต่อหุ้น
โดยหุ้นของกิจการ Y ก่อนถูกประกาศเทคโอเวอร์อาจอยู่ที่ 30 บาทต่อหุ้น ไม่นานหุ้นจะสะท้อนข่าวและปรับขึ้นทันที
หลังจากประกาศข่าวเทคโอเวอร์ของบริษัท B ดร.นิเวศน์ จะสังเกตปริมาณการซื้อขาย วิเคราห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ Y หุ้นอาจสะท้อนและขึ้นไปที่ 36 บาทต่อหุ้นแล้ว แต่เขาเห็นว่ายังอยู่ในวิสัยที่จะ “ตีแตก” อยู่ เพราะเมื่อซื้อหุ้นที่ 36 บาทและขายให้กับบริษัท B ที่จะทำ Tender Offer ในราคาหุ้นละ 40 บาท ก็เท่ากับว่าจะได้กำไรประมาณ 11 % โดยไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย
Cr: freepik
ในบทความนี้ผมได้เล่า วิธีหา”หุ้นตีแตก”ของ ดร.นิเวศน์ และอธิบาย Tender Offer เนื้อหาเลยเยอะพอสมควร จึงขออนุญาต แบ่งเป็น 2 Path เพื่อให้บทความนี้มีเนื้อหาที่กระชับนะครับ
อ้างอิง: หนังสือ ตีแตกกลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต โดย ดร.นิเวศน์
เหมวชิรวรากร
ความหมาย Tender offer: https://www.longtunman.com/14877
โฆษณา