3 ธ.ค. 2019 เวลา 14:27 • การศึกษา
"นายจ้างจะโยกย้ายตำแหน่งของลูกจ้างโดยไม่ต้องขอความยินยอมก่อนได้หรือไม่?"
ในชีวิตการทำงานอันแสนยาวนานนั้นสำหรับคนที่เป็นลูกจ้างแล้วการถูกโยกย้ายหรือสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเจอได้อยู่ตลอดเวลา
pixabay
การถูกโยกย้ายหรือสับเปลี่ยนตำแหน่งอาจเป็นเพราะนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างเติบโตในหน้าที่การงาน หรือเพื่อให้ลูกจ้างมีประสบการณ์มากขึ้นเพื่อเตรียมตัวรับตำแหน่งที่สูงขึ้นกว่าเดิม
หลายคนจึงมองว่าการโยกย้ายหรือการถูกสับเปลี่ยนตำแหน่งนั้นเป็นโอกาสที่ดีและควรจะรับไว้
ซึ่งในแง่ของกฎหมายแล้วการโยกย้ายหรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างนั้น ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างไม่ใช่สิ่งที่นายจ้างจะทำอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
หากการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างนั้นเป็นผลดีแก่ลูกจ้างมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ตำแหน่งสูงกว่าเดิมหรือได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น อย่างนี้นายจ้างสามารถทำได้โดยไม่ต้อง
ขอความยินยอมจากลูกจ้าง
แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเป็นผลเสียแก่ลูกจ้างมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น เดิมลูกจ้างทำงานเป็นฝ่ายบริหารในตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานในแผนก ต่อมาถูกนายจ้างลดตำแหน่งเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่มีอำนาจบังคับบัญชา หรือ...
เดิมลูกจ้างได้รับเงินเดือนเดือนละ 50,000 บาท ต่อมานายจ้างประสบภาวะขาดทุนจึงลดเงินเดือนของลูกจ้างลงเหลือเพียง 25,000 บาท
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างไม่สามารถทำได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
1
และคำสั่งเช่นนี้ของนายจ้างถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีผลบังคับแก่ลูกจ้าง
การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ
หากนายจ้างจะเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
อีกทั้ง การถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้ ยังถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอีกด้วยครับ
อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 4030/2561
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา