3 ม.ค. 2020 เวลา 13:49 • ธุรกิจ
EP.5 - เช็คชัวร์..(ก่อน)ทัวร์ดอย!?
การเงินบุคคลแบบดอยๆ - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
การเงินบุคคลแบบดอยๆ - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
ก่อนอื่นคงต้องกล่าวสวัสดีปีใหม่..เพื่อนๆชาว BD ทุกๆท่านอีกครั้งนะครับ
กลับเข้ามาสู่..การเงินบุคคลแบบดอยๆ EP.5 หลังจากที่ EP.ก่อน ผมได้มีการพูดถึงงบดุลบุคคลกันไปแล้วนะครับ
วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆมาคิดเลขกันเล่นๆหน่อยครับ เพื่อเป็นการเช็คสถานะทางการเงินของตัวเองกันครับ ว่าตอนนี้..เราอยู่จุดไหน ผ่านการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคลกันครับ
การเงินบุคคลแบบดอยๆ - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
เรามาเริ่มต้นกันที่เรื่องของสภาพคล่องกันดีกว่าครับ โดยทั่วไปนั้น รายได้ของเราอาจจะไม่ได้มาทุกๆวัน แต่รายจ่ายนี่สิ..เกิดขึ้นในทุกวันแน่ๆ ดังนั้น การจัดการสภาพคล่องจึงมีความสำคัญมากครับ
อัตราส่วนสภาพคล่องที่ใกล้ตัวที่สุด ก็คือ "อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน"ครับ หรือพูดง่ายๆก็คือ...ถ้าเราขาดรายได้ไป เราจะสามารถอยู่ได้กี่เดือน!!
ทางผมเองบอกได้เลยว่า อยู่ได้เป็น 10!!
10 เดือนเลยหรอ โห่วว...!! ป่าวครับ... 10 วัน 555+ (ถุยยย) ไม่น่าเข้ามาอ่านให้เสียเวลาเลย ล้อเล่นนะครับ
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐานนี้ การคิดก็ไม่ยากนะครับ ก็คือเราสามารถหาได้จากการเอาสินทรัพย์สภาพคล่องอย่าง เงินสด เงินฝากออมทรัพย์ เป็นต้น มาหารด้วยรายจ่ายต่อเดือนครับ
ตัวอย่างนะครับ สมมติผมมี..
เงินสด 10,000 บาท
เงินฝากธนาคาร 50,000 บาท
เงินในพอร์ท(ดอยหุ้น) 50,000 บาท
รายจ่ายอยู่ที่ 10,000 บาท/เดือน
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน
= (เงินสด+เงินฝากธนาคาร)/รายจ่าย
= (10,000+50,000)/10,000
= 6 เดือน!!
แปลว่า.. ผมสามารถอยู่ได้ 6 เดือน โดยที่ไม่มีรายได้ครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เงินในพอร์ทหุ้นที่นับเป็นสินทรัพย์ลงทุนนั้น จะไม่ได้เอาเข้ามารวมกับการคำนวณครับ เพราะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่ต่ำ (ติดดอยจนทำใจขายไม่ลง T^T)
ข้อดีของอัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน คือเราจะสามารถบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องให้เหมาะสมกับรายจ่ายของตัวเองได้ โดยมาตรฐานก็ควรจะรักษาไว้ที่ประมาณ 3-6 เดือนครับ เป็นสภาพคล่องเผื่อสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน..เช่น การเจ็บป่วย การเปลี่ยนงาน เป็นต้น
และถ้าเราเตรียมความพร้อมสำหรับสภาพคล่องไว้หมดแล้ว ผมมองว่าเราก็สามารถนำเงินจากรายได้ ไปทำการวางแผนการเงิน หรือวางแผนการลงทุนต่อได้แล้วครับ
การเงินบุคคลแบบดอยๆ - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
เข้าสู่อัตราส่วนที่ 2 กันครับ นั่นก็คือ "อัตราส่วนการออมและการลงทุน" งั้นผมขอ..สมมติว่า
ผมมีรายได้ที่ 20,000 บาท/เดือน
ด้านรายจ่ายประกอบด้วย
-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 10,000 บาท
-ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 5,000 บาท
-ฝากเงิน 2,000 บาท
-ซื้อกองทุนรวม 3,000 บาท
อัตราส่วนการออมและการลงทุน
= (เงินออม+เงินลงทุน)/รายได้รวม
= (2,000+3,000)/20,000
= 25%
โดยตามหลักสากลนั้น อัตราส่วนตัวนี้ควรมมากกว่า 10% ของรายได้ครับ โดยถ้าเรารู้จักการเก็บก่อนใช้ผ่านสมการ "รายได้-เงินออม = รายจ่าย" เงินออมไม่หายไปไหนแน่นอนครับ
ซึ่งจากตัวอย่าง ผมควรออมอย่างน้อยที่ 2,000 บาท ก่อนจะเอาไปทำการใช้จ่ายทั่วไป หรือใช้จ่ายซื้อของมันต้องมีที่อยากได้ ของที่สามารถสร้างความสุขกับตัวเอง
และในการเริ่มต้นของผมเองนั้น ช่วงแรก เงินออมที่หักมาแต่บะเดือน ควรจะเป็นเงินฝากอย่างเดียว ผมจะฝากเงินจนมีอัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 6 เท่าของรายจ่าย/เดือนก่อนครับ แล้วหลังจากนั้น ผมจะเลิกฝากเงิน ผมจะเอาเงิน 5,000 ไปลงทุนให้หมดเลยครับ 555 (ทัวร์ดอยกัน)
การเงินบุคคลแบบดอยๆ - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
แล้วทำไมไม่ต้องฝากเงินแล้วหล่ะ..??
ในระยะยาวนั่น เราจะสามารถเข้าสู่ความมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อ เรามี "อัตราส่วนการลงทุนต่อความมั่งคั่ง" ที่มากกว่า 50% ของความมั่งคั่งเราครับ ที่จะคอยเป็นตัวช่วยผมในการเดินทางระยะยาวครั้งนี้
ผมมโนว่า..เมื่อทำแบบนี้เรื่อยๆจน 10 ปีผ่านไป ตอนอายุ 35 ปี ผมจะมี
สินทรัพย์รวม 2,000,000 บาท คิดเป็น 100%
-สินทรัพย์สภาพคล่อง 450,000 บาท คิดเป็น 22.5%
-สินทรัพย์การลงทุน 50,000 บาท คิดเป็น 2.5%
-สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว 1,500,000 บาท คิดเป็น 75%
หนี้สินรวม 1,200,000 บาท
ความมั่งคั่ง 800,000 บาท
ที่มา "ความมั่งคั่ง = สินทรัพย์ - หนี้สิน"
=2,000,000-1,200,000
= 800,000 บาท
อัตราส่วนการลงทุนต่อความมั่งคั่ง
= สินทรัพย์การลงทุน/ความมั่งคั่ง
= 50,000/800,000 บาท
= 6.25%
ซึ่งตามคำแนะนำ เราควรควรมีมากว่า 50% ของความมั่งคั่ง และควรเพิ่มขึ้นอายุด้วยนะครับ เคสนี้ผมจึงสอบตกไป...งั้นเรามาลงจัดสรรเงินกันใหม่กัน!!
สังเกตได้ว่า สินทรัพย์สภาพคล่องผมมีอยู่สูงมาก คิดเป็น 22.5% ของสินทรัพย์ที่มีเลยทีเดียว แปลว่าผมกำลังมีค่าเสียโอกาสจากการลงทุนอยู่ครัย
ผมจึงจัดสรรเงินไว้สำหรับสภาพคล่องใหม่ ให้สอดคล้องกับรายจ่ายต่อเดือน
ถ้าตอน 35 ปี..ผมมีรายจ่ายเฉลี่ยที่ 30,000 บาท สำรองให้เพียงพอสำหรับ 6 เดือน คิดเป็นเงิน 180,000 ส่วนที่เหลือจากสภาพค่อง ผมจับโยนไปลงทุนให้หมด ผมได้เงินไปลงทุนเพิ่มอีก 270,000 บาท ทำให้
อัตราส่วนการลงทุนต่อความมั่งคั่ง(ใหม่)
=320,000/800,000
= 40%
หู้ยย.. เพิ่มจาก 6.25% มาเป็น 40% แล้ว ใกล้ขึ้นมาละครับโผมมมม!!!
เท่านี้ ระยะยาวผมจะสามารถไปถึงจุดหมายได้แน่นวล เพราะเงินลงทุนที่มากขึ้น จะสร้างรายได้จากการลงทุนกลับมาครับ และผมสามารถนำรายได้เหล่านี้ไปลงทุนต่อหรือสามารถไปทำการจ่ายหนี้เพื่อรายจ่ายดอกเบี้ยก็ได้เช่นกัน
การเงินบุคคลแบบดอยๆ - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
พอพูดถึงหนี้สิน..จะมีอีกอัตราส่วน คือ "อัตราหนี้สินต่อสินทรัพย์" ที่ควรรักษาไว้ไม่ให้เกิน 50% ของสินทรัพย์รวมด้วยนะครับ จากตัวอย่าง
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์
= หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม
= 1,200,000/2,000,000
= 60%
ที่มองว่ารวยๆ ที่จริงผมรวยหนี้ครับ!! T^T
ถึงตอนนี้ อย่าว่าแต่ผู้อ่านมึนเลยครับ...ผมผู้เขียนก็มึนมากเหมือนกัน 555 งั้นผมขอจบ EP.5 เช็คชัวร์..(ก่อน)ทัวร์ดอย!? ไว้ที่ความมึนเพียงเท่านี้ละกันครับ
แล้วพบกันใหม่ EP.หน้า ในซี่รี่ย์ชุด..การเงินบุคคลแบบดอยๆ - [เทรดมั่วทัวร์ดอย] กับ..
EP.6 แผนลงทุน!??
ถ้าชอบ กด Like กด Share และกดติดตามกันให้กำลังใจกันได้เลยครับ :))
#เทรดมั่วทัวร์ดอย
โฆษณา