Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Palit's Blog
•
ติดตาม
7 ม.ค. 2020 เวลา 01:12 • การศึกษา
ปรัชญาของ คาลิล ยิบราน (ตอนที่ 3)
มาถึงตอนที่ 3 แล้ว ผมจะพยายามลงให้ได้ทุกวันวันละบทสองบทนะครับ
[8]
“ ธรรมจะมีความหมาย
เมื่อรวมเข้าเป็นนิสัยของคน “
คติธรรมคำสอนทั้งหลาย ถึงเราสรรเสริญบูชากันมากมายอย่างไรก็ตาม หากเราไม่นำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสุขความเจริญแก่ชีวิตแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับอากาศที่ว่างเปล่า
ผมเทียบเคียงกับความรู้ หากมีความรู้มากมายแต่ไม่เคยนำมาปฏิบัติอาจไม่มีความหมายอะไรเช่นกัน ความรู้นั้นจะไร้ค่าทันที
เรารู้ว่าอะไรดีไม่ดี เรารู้จักศีลธรรม เรารู้จักศีล 5 เรารู้จักหลักธรรมคำสอนมากมาย คงไม่ต้องมีใครบอกว่าอะไรดีอะไรชั่วทุกคนล้วนรู้จักดี แต่จะปฏิบัติหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อาจลองประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การตื่นเช้าออกมาวิ่งจะทำให้สดใส แต่เหตุใดเราจะไม่ค่อยอยากตื่น
อ่านหนังสือดี แต่อ่านได้หน้าสองหน้าก็ไม่อยากอ่าน
ผมว่ามีหลายเรื่องในชีวิตเราที่รู้ว่ามันดีแต่ไม่อาจทำ ท่านยิบราน อาจตีความในทางนี้มากกว่า
หากรู้ว่าทำสิ่งใดแล้วดี นำมาปฎิบัติจนเป็นนิสัย จึงมีความหมาย
[9]
“ ทุกข์ยากตอนต้น
จะสุขล้นตอนปลาย “
ชีวิตต้องลำบากไปก่อน จึงจะโชคดีในภายหลัง อยากมีความสุขความเจริญอยากมีความก้าวหน้าในชีวิตก็ต้องเหน็ดเหนื่อยเสียแต่วันนี้ เพราะความสุขความเจริญความก้าวหน้านั้น ไม่มีทางอื่นที่จะได้มานอกจากความทุกข์ยาก ความเหน็ดเหนื่อยความขยันหมั่นเพียรในการทำงานอย่างหนัก เหน็ดเหนื่อยไม่บ่น ลำบากตรากตรำอย่างไรสู้ทนไม่หลบไม่รู้ แต่เป็นคนสู้งาน
ชีวิตที่ต้องต่อสู้อย่างไม่ย่นย่อ สักวันหนึ่งจะต้องได้รับความสำเร็จได้ออกไปจากที่มืดสู่ความสว่าง
สองย่อหน้าข้างต้นเป็นบทจากหนังสือฯ หากในยุคปัจจุบันการขยันหมั่นเพียร คงไม่พอเสียแล้ว ต้องขยันแบบมีเป้าหมาย มีหลักการ เรียนรู้ในสิ่งที่ทำ พัฒนา และตั้งคำถาม หากปราศจากสิ่งเหล่านั้นก็เหมือนเอาหัวไปโขกกำแพง
ปรัชญาบทนี้ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ไปเดินป่าที่โมโกจู อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นเส้นทางที่ไกลและทรมานมาก ใช้เวลามากกว่า 5 วัน 4 คืน สองวันแรกที่เดินบอกเลยว่าเป็นทุกข์มาก คิดในใจว่ามาเดินทำไม ในเช้าวันที่สามพอถึงจุดยอดดอยจึงรู้สึกสงบขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก เป็นความสุขล้นจริงๆ
เรากลับมามองชีวิตของตัวเองดูบ้าง อาจตรงกับประโยคนี้
“ ไม่มีใครหรอกที่จะพบแสงสว่าง
โดยไม่อาศัยถนนแห่งความมืด “
[10]
“ หว่านเมล็ดพืชแห่งการศึกษา
จะนำพาชีวิตให้งอกงาม “
เมื่อเราพูดถึงการศึกษา ย่อมหมายถึงขบวนการที่จะสร้างชีวิตของเราให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยถ่ายถอนสัญชาตญาณอย่างสัตว์ออกไปให้ได้มากที่สุดช่วยทำให้ชีวิตเป็นสุขมากขึ้น รักเพื่อนมนุษย์มากขึ้น รวมทั้งช่วยให้รู้จักคิดได้ คิดเป็น คิดถูก และสามารถทำให้เกิดผลขึ้นได้
มีความอิสระที่จะคิดจะทำอย่างมั่นใจไม่หวาดหวัน ไม่ขลาดกลัวช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างสง่าผ่าเผย
การศึกษาที่กล่าวมาไม่ได้หมายถึงการศึกษาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หากเป็นการศึกษาด้วยตัวเอง พึ่งพาตนเอง ทำในสิ่งที่คิดว่าดีกับตัวเอง แล้วชีวิตจะงอกงามเติมใหญ่อย่างสวยงามได้
การศึกษา คือ การเรียนรู้ หยุดเรียนรู้ก็เหมือนหยุดการเติบโต
[11]
“ จริงแล้วจริงเลย
ไม่เคยง้องอน “
ความจริงที่ต้องการการพิสูจน์ เป็นความจริงแค่ครึ่งเดียว
คำว่า สัจจะ นั้นแปลตามรูปศัพท์ว่า ความเป็นอย่างนั้น กล่าวคือ ความไม่เป็นอย่างอื่น สิ่งที่คงความเป็นอย่างนั้นตลอดไปไม่กลับกลายเป็นอื่นเราเรียกว่า “ความจริง” หรือ “สัจจะ”
ความจริงนั้นไม่ต้องการพิสูจน์ จะพิสูจน์หรือไม่พิสูจน์ก็จริงอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงความจริง ที่ยังเรียกร้องให้มีการพิสูจน์ให้ทำการยืนยัน จะเป็นความจริงสักกี่เปอร์เซ็นต์เชียว
ท่านคาลิล ยิบราน เห็นว่า ความจริงชนิดนี้มีความจริงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น อีกครึ่งอาจไม่ใช่ความจริงนั้นมีความยิ่งใหญ่มาก ยื่นตระหง่านเหมือนจะท้าทายให้มาพิสูจน์แต่ก็ไม่เรียกร้องให้พิสูจน์ ถ้ายังมีการเรียกร้องต้องการการพิสูจน์ แปลว่าความจริงไม่มั่นใจตนเอง ต้องให้มีการพิสูจน์ยืนยันจากผู้อื่นสิ่งอื่นเสียก่อนจึงจะมั่นใจ ถ้าอย่างนั้นจะเป็นความจริงเต็มสมบูรณ์ได้อย่างไร
เมื่อเรามั่นใจว่าทำดี เราบริสุทธิ์ ไม่ได้ทำผิดอะไร เราต้องไม่สะทกสะท้านกับเสียงวิจารณ์ จะไปสนใจสายตาของคนอื่นทำไม จะต้องให้ใครมารับรองความดีของเราด้วยหรือ
แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปนะครับ
3 บันทึก
6
4
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ปรัชญาของ คาลิล ยิบราน
3
6
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย