22 ม.ค. 2020 เวลา 00:19
อนันตลักขณสูตร🍃
กระผมถอดความมาจากอนันตลักขณสูตร เมื่อครั้งที่เพจคุณว.วัชร นำถ้อยความจากพระไตรปิฎกมาลง แต่ในพระไตรปิฎกมีเนื้อหาที่ละเอียดและมีหลายคำที่ไม่คุ้นกระผมจึงนำมาย่อยให้อ่านง่ายอีกที และคอมเม้นท์ไว้ท้ายโพสต์ของเพจคุณ ว.วัชร เห็นบทนี้เกี่ยวข้องกับการทำวิปัสสนา จึงขออนุญาตนำมาอธิบายเพื่อเจริญปัญญา จึงนำมาโพสต์ไว้ที่นี่อีกครั้ง
เหตุเกิดขณะที่พระพุทธเจ้า เทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ หรือพูดง่ายๆคืออาจารย์สนทนากับลูกศิษย์ เรื่องขันธ์ ทำไมขันธ์จึงเกี่ยวข้องกับวิปัสสนามาดูกัน
ท่านพูดเรื่องของขันธ์
ขันธ์ประกอบด้วย 5ส่วน มาดูคำแปลแต่ละส่วนกันขอรับ
1.รูป=กาย
2.เวทนา=ความรู้สึก
3.สัญญา=การจำได้หมายรู้
4.สังขาร=การปรุงแต่ง
5.วิญญาณ=การรับรู้
..
(หมายเหตุ..กระผมใช้=เป็นสัญลักษณ์แปลว่าหมายถึง)
..
ท่านบอกว่าขันธ์เป็นอนัตตา(ความไม่มีตัวตนเราเขา บังคับไม่ได้)
ท่านอธิบายต่อว่า...ถ้าขันต์มีตัวตน(อัตตา) ขันธ์เหล่านี้ไม่มีทางเสื่อมและบังคับได้ตามใจเราได้
ทรงตรัสถามพระปัญจวัคคีย์(มีทั้งหมด5องค์)ว่าขันธ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง
พระปัญจวัคคีย์ตอบว่าไม่เที่ยง
ท่านถามต่อว่า สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งนั้นจะเป็นสุขหรือทุกข์
ปัญจวัคคีย์ตอบว่าเป็นทุกข์
พระพุทธเจ้า กล่าวต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยง (=อนิจจัง)
สิ่งใดแปรปรวน(ทุกข์ในที่นี้คือทุกขัง=ความทนอยู่ไม่ได้ ,แปรปรวน)
จะยึดเป็นของเราได้มั้ย
ปัญจวัคคีย์ตอบว่าไม่ควรยึด
ท่านจึงกล่าวต่อไปว่าไม่ว่าขันธ์ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใดก็ตาม ให้น้อมเห็นว่าทุกอย่างยึดถือเป็นของเราไม่ได้เนื่องจากทุกอย่างบังคับไม่ได้ ทุกอย่างจึงเป็นอนัตตา(ไม่มีตัวตนเราเขาสักกว่า ธาตุเปลี่ยนไปมา)
ท่านกล่าวต่อไปว่าเมื่อเรารู้และเห็นตามความเป็นจริงแล้ว
ก็จะเบื่อหน่าย(=ไม่ยึดถือว่าเป็นเราเขา สักกะว่าธาตุเปลี่ยนไปมาตามธรรมชาติ)
..
หลังจากนั้นจิตจะคลายกำหนัด(=ไม่โหยหาและไม่ผลักใส เพราะรู้ธรรมชาติของขันธ์ตามความเป็นจริง)
..
เมื่อสิ้นกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น(=ทุกอย่างมีเหมือนเดิม แต่จิตรู้รอบว่าขันธ์ แต่จิตไม่เอาเพราะไม่เห็นสาระ)
..
เมื่อจิตพ้น(จิตไม่เอาอะไรเเล้ว)ก็ให้รู้ว่าจิตไม่เอาอะไรแล้ว เพราะฉะนั้นนั้นจิตจึงพรากจากขันธ์เด่นดวงขึ้นมาแม้แต่จิตก็ไม่ยึดจิต เพราะตัวจิตก็แปรปรวนเช่นกัน
พระอรหันต์จะรู้ตัวทันทีว่าไม่เกิดอีกต่อไป ไม่มีสิ่งใดที่ต้องทำ(ในที่นี้คือไม่ต้องกำหนดรู้ ไม่ต้องน้อมใจ ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอีกต่อไป เพราะมันเป็นไปโดยอัตโนมัติ)
และไม่ต้องหาวิธีอื่นเพื่อจะทำแบบอีกนี้แล้ว..มันจบแล้ว หมายถึงการศึกษาหรือกิจที่ควรทำไม่มีอีกแล้ว ชาติภพสิ้นแล้ว
ครั้งนั้นปัญจวัคคีย์น้อมใจตามเห็นตามความเป็นจริง จึงสิ้นอาสวะกิเลส เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์เป็นพระอรหันต์5องค์รวมพระพุทธเจ้าอีก1รวมเป็น6องค์
**สรุปและส่วนเสริม_ผู้เขียน
บทนี้ท่านสอนเรื่องการเจริญวิปัสสนา เพื่อพัฒนาจิตล้วนๆ จึงเป็นหลักฐานว่าจิตจะหลุดพ้นจากการทำวิปัสสนา ไม่ใช่จากสมถะ สมถะเป็นเพียงที่พักเป็นกองกำลังสนับสนุนใช้เจริญปัญญา
สิ่งที่เราชาวพุทธควรศึกษาคือ
1.เรียนรู้ขันธุ์ว่ามีอะไรบ้าง แยกขันธุ์ แบ่งเป็นส่วนๆ ศึกษาหน้าที่ของมัน
2 พิจารณาขันธุ์ แต่ละอย่างตามความเป็นจริง โดยศึกษาเป็นอย่างๆ อย่างเช่น รูป เห็นกายไม่เที่ยง มีความเสื่อม เช้าอาบน้ำสวย สายมาหน้ามัน เห็นความคงทนอยู่ไม่ได้ เป็นต้น เมื่อจิตละเอียดมันจะเข้าใจขันธ์ทั้งหมด เพราะอยู่ในกฏของจิงเกอเบล(ในขบถยาตรามีอธิบายไว้อยู่ เป็นกฏที่เพื่อให้ง่ายต่อการจำและนึกถึง เปรียบสัณฐานเหมือนรูประฆังคว่ำ_ผู้เขียน)
3 น้อมทุกอย่างให้ลงที่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนจะไม่งงหรือถ้าคล่องมันจะน้อมลงเห็นเองในสามอย่าง
4.การกำหนดรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญ (พระพุทธเจ้าบอกตามข้อความข้างต้นว่า เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็..รู้...ว่าพ้นแล้ว)
..
**ตัว..รู้ ..คือกุญแจ **
..
เรารู้ว่าขันธุ์เป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา อะไรเกิดขึ้นให้อยู่กับรู้ ทันทีที่รู้ เราจะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกขัง เป็นอนัตตา
5.จะต้องทำไปถึงเมื่อไรจึงจะหลุดพ้น เคล็ดลับคือตราบใดที่มีจิตยังต้องทำ เมื่อใดมันพรากจากกันแล้ว ก็จบ..ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป และมั่นใจเถิดว่าที่ทำมาหากชาตินี้ไม่เสร็จ ชาติต่อๆไปได้ทำต่อและง่ายขึ้น
กระผมจึงไม่แปลกใจว่าทำไม พระพุทธเจ้าเทศน์แต่ละทีจึงบรรลุธรรมกันมากมาย เพราะเขาเหล่านั้นเคยปฏิบัติมาสั่งสมมานาน เพราะฉะนั้นไม่มีลัดขั้นตอนเป็นงานที่ต้องศึกษาข้ามภพข้ามชาติ คนที่ชาตินี้ตรัสรู้เร็ว ก็เพราะชาติอื่นๆเขาทำมาพอแล้วเหลือนิดเดียว เมื่อเจอคำสอนเพียงแค่ประโยคเดียว จิตก็หลุดพ้นทันที
แล้วทำไม พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้เทศน์กับใครก็ได้ ท่านเล็งญาณตามวิสัยของพุทธเจ้าจวนเช้าของทุกเช้า รู้ว่าใครพอมีวิสัยที่จะบรรลุธรรมได้ ท่านจะดิ่งไปโปรดทันที
*ส่วนเสริมถามว่าพระอรหันต์มีโกรธมั้ย
ตอบว่ามีแน่นอน
เพราะท่านยังมีขันธ์5อยู่
แต่ไม่เอา(ขั้นตอนนี้เร็วมากจนอนุมานว่าพระอรหันต์เป็นผู้ไม่โกรธ หรืออีกนัยหนึ่งคือจะเรียกว่าไม่โกรธเลยก็ได้เป็นแค่แรงกระเพื่อมของขันธ์ตามเหตุและปัจจัย โดยไม่ได้ยึดถือว่าคืออะไร )
เพราะฉะนั้นท่านไม่มีวิบากทางจิต ไม่ต้องร่อนเร่พเนจร เที่ยวไปเกิด-ตายในโลกใดๆใน3โลก(มนุษย์ สวรรค์ นรก)
เหตุที่เรายังเกิดเพราะเราไม่เคยเรียนรู้ขันธ์ ไม่เข้าใจขันธ์ตามความเป็นจริง ไม่น้อมให้ลงที่
-อนิจจัง(ความแปรปรวน)
-ทุกขัง(ความคงทนอยู่ไม่ได้ มีความเสื่อมเป็นธรรมดา)
-อนัตตา(ไม่มีเราเขา ทุกอย่างเมื่อแตกสลายก็กลับไปสู่ธาตุเดิม)
หากอ่านแล้วยังไม่ใคร่ข้าใจแนะนำให้ไปอ่านเรื่อง อิยะกับความหมายที่หายไป ภาค0 ตอนขบถ~ยาตรา เพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นธรรมนิยายที่อ่านง่ายกระผมรวมเป็นซีรีย์ไว้แล้ว
สวัสดียามเช้าขอรับ😊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา