22 ม.ค. 2020 เวลา 05:19 • การศึกษา
21st century skills
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
#ตอนที่ 2 เรียนรู้ตลอดชีวิต
หลายคนอาจจะสงสัยว่า
..เราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตจริงๆหรอ ในเมื่อทุกวันนี้เราก็มีงานที่มั่นคง อยู่ได้สุขสบาย
..ทำไมเราต้องมีความรู้หลายๆเรื่อง ฝึกทักษะใหม่ๆ ทั้งๆที่เราชำนาญในงานของตัวเองอยู่แล้ว
..หรือแม้กระทั่งเราแก่เกินไปรึป่าว ที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ
Rawpixel
ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในโลกยุคปัจจุบันนั้น ผลักดันให้ทุกคนต้องขยับตัวตลอดเวลา คนที่อยู่นิ่งๆก็เปรียบเสมือนกำลังเดินถอยหลังเมื่อเทียบกับคนทั่วไป
ตอนที่แล้วเราได้เกริ่นนำถึงทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 จากงานวิจัยที่ world economic forum ได้สรุปรวบรวมกันไปบ้างแล้ว
วันนี้เราจะมาดูข้อมูลที่น่าสนใจกันต่อ ว่าทักษะเหล่านี้สำคัญอย่างไร
ใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรก ->
World economic forum
ทักษะกลุ่มที่ 1 : foundational literacies มี 6 ข้อ
- Literacy การใช้ภาษา
- Numeracy การคำนวณ
- Scientific literacy วิทยาศาสตร์
- ICT literacy เทคโนโลยี
- Financial literacy การเงิน
- Cultural and civic literacy สังคมและวัฒนธรรม
ทักษะในกลุ่มนี้ถือเป็นพื้นฐานความรู้ที่มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นทักษะกลุ่มที่สังคมของเราให้ความสำคัญในการเรียนของเด็กๆมานานแล้ว เพียงแต่ที่ต่างไปจากยุคก่อนๆก็คือ ต้องมีความรู้ทางเทคโนโลยีและด้านการจัดการการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่โรงเรียนต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาการสอนมากขึ้น
.
การมีทักษะในกลุ่มนี้ดี ก็จะทำให้เราตามทันโลกและปรับตัวในการทำงานและพัฒนาทักษะในด้านอื่นๆได้ดีขึ้นตามมา
ทักษะกลุ่มที่ 2 : competencies มี 4 ข้อ จำง่ายๆด้วย 4 Cs
- Critical thinking/problem-solving ความคิดเชิงวิพากษ์/การแก้ไขปัญหา
- Creativity ความคิดสร้างสรรค์
- Communication การสื่อสาร
- Collaboration การทำงานร่วมกับผู้อื่น
ทักษะกลุ่มนี้ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อนได้ดีขึ้น ด้วยการที่เราสามารถระบุปัญหา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และสามารถตอบสนองต่อปัญหานั้น (critical thinking) การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการตั้งปัญหาและตอบปัญหา (creativity) และการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น (communication and collaboration)
ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้ จำเป็นมากในการทำงานยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆอย่างรวดเร็ว และมีความซับซ้อนตลอดเวลา
.
การพัฒนาทักษะกลุ่มนี้ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เนื่องจากไม่ง่าย และยังมีตัวช่วยในการเรียนรู้ส่วนบุคคลน้อย
ทักษะกลุ่มที่ 3 : character qualities มี 6 ข้อ
- Curiosity ความอยากรู้อยากเห็น
- Initiative ความคิดริเริ่ม
- Persistence/grit ความอดทน
- Adaptability ความสามารถในการปรับตัว
- Leadership ความเป็นผู้นำ
- Social and cultural awareness ความตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม
ทักษะในกลุ่มนี้เป็นความสามารถในการเอาตัวรอดในสถานการณ์และภาวะแวดล้อมต่างๆกัน และใช้เอาชนะอุปสรรคต่างๆที่พบได้
.
ทั้ง 6 ข้อนี้ควรมีการฝึกให้ดีตั้งแต่เด็กเลย เนื่องจากอาจจะกลายเป็นนิสัย หรือบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เลย ซึ่งทำให้ฝึกทีหลังไม่ง่ายนัก
ทักษะทั้ง 16 ข้อนั้นถือว่ามีความสำคัญทั้งหมด
และเราต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆเพื่อปรับตัวตลอดชีวิต
โดยทักษะกลุ่มแรกเป็นความรู้พื้นฐาน
ส่วนกลุ่มที่สองและสามเป็นทักษะทางอารมณ์และสังคม
“เราคงไม่สามารถมีแค่ความรู้มากมาย แต่ปรับตัวหรืออยู่ในสังคมไม่ได้
ในทางกลับกัน แม้ว่าเราจะสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ดี แต่ถ้าไม่มีความรู้พื้นฐานดี ก็จะมีข้อจำกัดในการไปถึงศักยภาพขั้นสูงของตัวเอง”
ปัญหาคือเราจะพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับคนรุ่นใหม่ได้อย่างไร เรามาเริ่มดูจากข้อมูลตัวชี้วัดความสามารถในแต่ละด้านของคนทั่วโลกก่อน
World economic forum
กราฟนี้เป็นข้อมูลการวิเคราะห์ทักษะต่างๆของนักเรียนในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก ด้วยแบบทดสอบกลางเช่น PISA (และแบบทดสอบอื่นๆ)
โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ตามระดับรายได้ยึดตามข้อมูลจาก world bank พบว่าทักษะเหล่านี้ยังแตกต่างกันมาก ในแต่ละระดับรายได้ หรือแม้กระทั่งในกลุ่มประเทศระดับรายได้เดียวกัน หรือในประเทศเดียวกันเองก็ตาม
กลุ่มรายได้สูง และอยู่ใน OECD เช่น อเมริกา, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร
กลุ่มรายได้สูง ที่ไม่ได้อยู่ใน OECD เช่น ฮ่องกง, สิงคโปร์, โครเอเชีย, รัสเซีย
กลุ่มรายได้ระดับกลางค่อนสูง เช่น ไทย, มาเลเซีย, บราซิล, ตุรกี, อัฟริกาใต้
กลุ่มรายได้ระดับกลางค่อนต่ำ เช่น เวียดนาม, อินโดนีเซีย, ปารากวัย
กลุ่มรายได้ต่ำ เช่น อูกานด้า, โมซัมบิก, เคนย่า
หมายเหตุ
1. ประเทศใน 2 กลุ่มหลังไม่ได้รับการทดสอบด้วยแบบทดสอบกลางอย่างเช่น PISA
2. OECD (organisation for economic co-operation and development) เป็นกลุ่มประเทศที่ร่วมมือกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี 36 ประเทศในกลุ่ม
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าระดับรายได้ของประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง ในการพัฒนาการศึกษา แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
World economic forum
จากกราฟนี้แสดงให้เห็นว่า แม้แต่ในกลุ่มรายได้สูงเหมือนกัน ยังมีช่องว่างของทักษะที่ต่างกันในบางด้าน (ช่องที่ว่างๆคือไม่มีข้อมูลนะคะ)
ในตอนหน้า เรามาดูกันว่าแนวทางการแก้ไขหรือพัฒนาช่องว่างทางทักษะต่างๆเหล่านี้มีอย่างไรบ้าง
อย่าลืมกดติดตามไว้นะคะ ^ ^
Reference : world economic forum

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา