24 ม.ค. 2020 เวลา 10:33 • สุขภาพ
บทบาทและหน้าที่ อีกสิ่งที่ทำให้เราลืมตน
📌📌📌📌📌📌📌📌📌📌📌📌
อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เราเครียดไม่รู้ตัว
มันคือบทบาทและหน้าที่ต่างๆในชีวิตเรา
🙂
จะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องเข้าใจพื้นฐานของจิตวิทยาก่อนนิดนึง
ซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิทยา แบ่งเรื่องโครงสร้างจิตใจเป็น 3 ส่วน
1. Id (ไอดี)
2. Superego (ซุปเปอร์อีโก้)
3. Ego (อีโก้)
🙂
Id คืออารมณ์ดิบ ความรู้สึกที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่มีการปรุงแต่ง
เราเห็นสิ่งนี้ได้จากเด็กๆ
เอาแต่ใจ เห็นแก่ตัว ถือตัวเองเป็นหลัก (narcissism)
ขี้เกียจ ชอบพึ่งพาคนอื่น (dependency)
ขี้งอน ขี้น้อยใจ (inferiority)
🙂
Superego คือโลกของคำว่า “ควรจะ” โลกแห่งอุดมคติ
เป็นแนวคิด เป็นภาพที่มนุษย์ที่เป็นสัตว์ประเสริฐ “ควรจะ” เป็น
เป็นคนดี มีศีลธรรม ช่วยเหลือคนอื่น พึ่งพาตัวเอง ใจกว้าง เสียสละ
ทุกอย่างที่เราปลูกฝังว่าเป็นสิ่งที่ดี ว่า “ควรจะ” เป็นแบบนี้
ซึ่งส่วนใหญ่จะตรงข้ามกัน Id เกือบทั้งหมด
🙂
Ego คือผู้จัดการ คือผู้ตัดสินว่าจะฟัง Id หรือ Superego
ว่าจะไปเชื่อ อารมณ์หรืออุดมคติ
ลักษณะความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลก็เกิดจากการเลือกของ Ego นี่เอง
บางอย่างเน้นอารมณ์ บางเรื่องเน้นอุดมคติ
ส่วนผสมเหล่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
แต่ยิ่งเทไปทางอุดมคติเท่าไร ก็ยิ่งห่างไกลอารมณ์จริงๆมากขึ้นเท่านั้น
🙂
คำถามคือเรารักษาสมดุลตรงนี้กันอย่างไร
🙂
ในแต่ละวัน เรามีบทบาทมากมาย
ทั้งเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพนักงาน เป็นหัวหน้า
เป็นลูกค้า เป็นคนขาย เป็นคนเดินห้าง
เราใช้ชีวิตบทบทบาทตลอด จนบางครั้งเราก็ลืมบทบาทที่เป็น “ตัวเอง” ไป
🙂
แล้วบทบาทนั้นบางครั้งมันก็ขัดแย้งกับอารมณ์สุดขั้ว
บางทีในที่ทำงาน เราถูกเหยียดหยาม ถูกกดขี่ ไม่ได้รับความยุติธรรม
ถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ด้วยความเอาแต่ใจที่ไร้สาระของหัวหน้า
แต่เราก็ต้องยิ้มรับและยอมจำนน เพราะนั้นคือบทบาท
นั่นคือสิ่งที่ “ควรจะ” เป็น มันคือภาพของความเป็นลูกจ้างมืออาชีพ
🙂
ในที่ทำงานเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เราจะไม่แสดงอารมณ์กันออกมา
ความเครียดต่างๆจากความขัดแย้ง ถูกเก็บซ่อนไว้ไม่แสดงออกมา
หรือบางทีก็เป็นเรื่องของนิสัยในการทำงานก็กล่าวไว้ในบทก่อนๆ
ก็คงไม่แปลกที่คนออฟฟิตจะป่วยกันเยอะมาก
ออฟฟิตซินโดรม
ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ บางทีก็ลงเข่า บางทีก็ก้นกบ บางทีก็ไปข้อมือข้อเท้า
ทำกายภาพเท่าไรก็ไม่หาย เพราะอารมณ์โกรธมันซ่อนอยู่และสะสมไปเรื่อยๆ
นับวันอาการก็จะยิ่งหนักขึ้นๆ
อาการเหล่านี้มันเหมือนการบาดเจ็บทางกายภาพ แต่มันไม่ใช่หรอกครับ
ถ้าคุณสังเกตมันจะย้ายที่ไปมาได้
จากหลังก็เคลื่อนไปไหล่ ย้ายต่อไปคอ ลงขา มาก้น ไปเท้า
อาการทางกายภาพมันไม่เคลื่อนที่หรอกครับ
🙂
อีกบทบาทหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดแบบไม่รู้ตัวที่ทำให้เจ็บป่วยกันเยอะมาก
คือบทบาทความเป็นพ่อแม่ (อันนี้อาจจะยากนิดนึง)
เพราะพ่อแม่ “ควรจะ” รักลูก “ควรจะ” ดูแลลูก “ควรจะ” เสียสละทำทุกอย่างเพื่อลูก
เมื่อแนวคิด “ควรจะ” เหล่านี้มาครอบงำ เราก็มักจะมองไม่เห็นสิ่งที่เราเป็นจริงๆ
🙂
*** อารมณ์ความรู้สึกคือเรื่องส่วนตัวไม่มีผิดไม่มีถูก แต่สิ่งที่เราเลือกที่จะแสดงออกมาต่างหากที่ผิดหรือถูก ***
🙂
(ขอให้ทุกคนทำใจเป็นกลางแล้วค่อยๆพิจารณาตามนะครับ อย่าหัวร้อน นี่เป็นเรื่องทางจิตวิทยาที่ลึกมากๆ)
ลูกจริงๆก็คือภาระความลำบากที่เข้ามาในชีวิต
ลูกทำลายทั้งเวลาพักผ่อนของเรา
บางทีก็แย่งความรักของคนที่เรารักไป
(ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ)
เราต้องลำบากเพิ่มขึ้น ต้องทำงานเพิ่มขึ้น
ต้องเสียสละหลายๆสิ่งหลายๆอย่างให้กับเค้า โดยที่เราก็ไม่เห็นจะได้อะไร
(อย่าเพิ่งหัวร้อน ค่อยๆฟังไปก่อน)
🙂
Superego ก็จะบอกว่านี่แหละคือสิ่งที่พ่อแม่ที่ดี “ควรจะ” เป็น
เราควรจะรักเค้าโดยไม่มีเงื่อนไข เราควรจะเสียสละทุกอย่างเพื่อเค้า
เราควรจะทุ่มเททุกอย่าง ให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเค้า
ส่วน Id ง่ายๆเลยครับ ทั้งโกรธ ทั้งเกลียด ทั้งรำคาญ
เคยเห็นเด็กๆที่ตีน้อง ทำร้ายน้อง อิจฉาน้อง มั้ยครับ
นั่นแหละครับอารมณ์จริงๆ ไม่มีปรุงแต่ง
สายเลือด สายสัมพันธ์ หน้าที่ของพี่ที่ควระดูแลน้อง เสียสละให้น้อง ไม่ได้มีผลอะไรเลย มันเป็นแค่อุดมคติครับ
🙂
แล้วคนที่เป็นพ่อแม่ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านไหนกันครับ
แน่นอน Superego!!!!!
บทบาทของพ่อแม่มันยิ่งใหญ่มาก จนเราลืม Id ไปเลย
เราก็เลยไม่รู้ถึงความโกรธ ความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ในใจเรา
พ่อแม่หลายคนก็ป่วยในช่วงนี้เยอะ ก็ไม่ต่างกันออฟฟิตซินโดรมหรอกครับ
🙂
อีกหนึ่งบทบาทหนึ่งที่มักส่งผลต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัว
คือการดูแลบิดามารดาที่อายุเยอะ หรือเจ็บป่วย
เรื่องนี้ไม่ต่างกับเรื่องบทบาทของพ่อแม่หรอกครับ
แนคิดเร่องความเป็นลูกที่ดี ลูกกตัญญู มันครอบทับอยู่
เราก็เลยไม่ค่อยรู้ตัว
🙂
สุดท้ายไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทไหน มันไม่ผิดหรอกครับ
ไม่จำเป็นต้องแก้อะไรทั้งนั้น
เพียงแต่อย่าปล่อยให้บทบาทเหล่านั้นมันครอบงำบังตา จนคุณมองไม่เห็นตัวเอง ไม่รู้อารมณ์ตัวเอง
ถ้าคุณไม่รู้ตัว คุณก็ระบายมันออกมาไม่ได้ แล้วมันก็จะเกิดการสะสมจนเจ็บป่วย
🙂
สิ่งแรกที่ต้องทำคือการรู้ตัวครับ ยอมรับและเข้าใจอารมณ์จริงๆของตัวเองให้ได้
ไม่ใช่หลงไปกับอารมณ์ที่ “ควรจะ” รู้สึก
อารมณ์ไม่มีผิดถูกชั่วดีครับ มันเป็นเรื่องส่วนตัว
แล้วถ้าคุณรู้ตัว เดี๋ยวคุณก็วิธีเยียวยามันได้เองครับ
👍👍👍👍👍👍👍👍👍👍
#โรคร้ายบำบัดได้ด้วยการโค้ช
by โค้ชป้อม
ติดตามอ่าน series EP ก่อนๆได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา