5 ก.พ. 2020 เวลา 14:24 • ไลฟ์สไตล์
อ่านหนังสือเยอะ แต่ทำไมถึงอยู่กับที่?
คำถามอาจดูย้อนแย้ง แต่มันคือข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ
เรามักสอนให้เด็กอ่านหนังสือเยอะๆ เพื่อจะได้เพิ่มพูนองค์ความรู้ ซึ่งเป็นถือเป็นเรื่องดี
ความรู้ คือข้อมูลทุกรูปแบบ ซึ่งปัจจุบัน โลกเรามีข้อมูลเยอะมาก ดังนั้นข้อมูลที่ได้รับอาจเป็นข้อมูลที่ทั้งถูกและผิดอยู่ด้วย ทำให้เราใช้ความคิดในการกรองข้อมูลเป็นอันดับแรก
แอดเป็นคนนึงที่อ่านหนังสือเยอะพอสมควร (อะแฮ่ม) แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้พัฒนาความรู้ได้ดีนัก เพราะอ่านแล้วก็ลืม ไม่ได้คิด หรือตั้งคำถามต่อ ซึ่งมันเป็นปัญหาให้แอดในที่สุด
จนวันนึง แอดถึงได้เข้าใจว่า การอ่านหนังสือเยอะๆไม่ได้แปลว่าเราจะฉลาดเสมอไป (อ่านแล้วลืม)
การอ่านจะทำให้เราเก่งได้จริงก็ต่อเมื่อ เราอ่านข้อมูล เมื่ออ่านเสร็จพยายามเรียบเรียงเป็นความรู้ ตั้งคำถาม แล้วตกตะกอนเป็นความคิด ถึงจะเกิดเป็นสติปัญญาได้
อย่างการศึกษาบ้านเรา แอดชื่นชมเนื้อหาที่สอนเด็ก ข้อมูลแน่นมากจริงๆ เด็กไทยเรียนเยอะมาก แต่วิชาบางอย่างมันมากเกินความจำเป็น จนบางทีเราอัดข้อมูล จนกลายเป็นว่า เด็กไม่ได้คิด ไม่มีเวลาตั้งข้อสงสัย เพราะมีข้อมูลใหม่ที่ต้องเรียนตลอดเวลา
สำหรับแอด ถ้าบ้านเราเน้นสอนเด็กให้คิดให้เป็นให้ได้ ในที่นี้ไม่ใช่แค่ได้อะไรจากการอ่าน (ซึ่งคำถามเบสิคในวัยเด็กแต่บางทีแอดก็ไม่ได้เข้าใจจริงๆ) แต่เป็นการให้คิดเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุและผล มันจะคิดได้กว้างขึ้น ตั้งคำถามเชิงลึกมากขึ้น แบบนี้คงจะมีนักคิดเก่งๆเต็มบ้านเมืองเราไปหมด
ดังนั้นการอ่านที่ดีคืออ่านแล้วคิดให้เป็น ไม่ใช่อ่านผ่านๆ
อ่านแล้ว เรียบเรียงเป็นความรู้ จนเกิดเป็นปัญญา ถึงจะเรียกว่าพัฒนา
ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของปัญญา แต่ความรู้ไม่ใช่ปัญญา
5 กุมภาพันธุ์ 2563
ท่านเด็ก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา