9 ก.พ. 2020 เวลา 00:15 • ประวัติศาสตร์
ข้อถกเถียงกว่า 340 ปี "คลองไทย" เรื่องของคนไทยทั้งประเทศ !
ยุทธศาสตร์สำคัญของโลกในศตวรรษที่ 21 ?
พูดถึง "คลองไทย" เป็นโครงการในตำนานที่มาข้อถกเถียงกันมากว่า 340 ปี แล้วในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยพระนารายน์
ขอบคุณภาพจาก http://aboutthailandliving.com
ในสมัยนั้นมีปัจจัยสำคัญด้านความมั่นคง เพราะเป็นยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมโดยมหาอำนาจทางฝั่งยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ การขุดคลองไทยในสมัยนั้น จะยิ่งทำให้อังกฤษบุกเข้าประเทศได้โดยง่ายและไทยอาจโดนยึดดินแดน ด้วยเหตุผลนี้โครงการจึงถูกยกเลิกไปในสมัยนั้น
2
และยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงในสังคมไทยต่อมาตลอด 340 ปี ด้วยประเด็นข้อถกเถียงมากมาย โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงและการแบ่งแยกดินแดน นอกจากนั้นยังมีประเด็นในเรื่องของ อาชีพ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
1
จนมาถึงในปัจจุบัน ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางภูมิภาค เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของผู้คน "คลองไทย" จึงถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง ด้วยมุมมองใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ และความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
มีการถกเถียงกันในประเด็นของเส้นทางที่จะใช้ขุดคลองไทย ซึ่งในตอนแรกมีเส้นทางหลัก ๆ ที่พิจารณาอยู่ 4 เส้นทางคือ
1. แนว 2A
เรียกว่า "คอคอดกระ" ยาวประมาณ 80 กม. เป็นแนวที่ได้มีศึกษาในช่วงต้น ๆ และมีการกล่าวถึงมากที่สุด โดยจะขุดเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามันระหว่างจังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร ซึ่งหากเป็นในอดีตที่ประเทศไทยยังไม่สูญเสียดินแดนภาคใต้ฝั่งตะวันตกให้กับประเทศอังกฤษในยุคการล่าอาณานิคม คือ ทวาย มะริด และตะนาวศรี (ซึ่งต่อมาก็ตกเป็นของพม่าหลังจากได้รับเอกราช) แนว 2A จะเป็นแนวที่เหมาะสมที่สุด เพราะระยะทางสั้นที่สุด
1
แต่ปัจจุบันหากขุดคลองในแนวนี้ ประเทศที่จะได้ประโยชน์และสามารถต่อรองกับประเทศไทยได้มากที่สุดคือพม่าเนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนในทะเล พม่าสามารถอ้างสิทธิและต่อรองผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ไทยในฐานะผู้ลงทุนอาจจะเสียเปรียบได้ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา ทำให้ยุ่งยากในการจัดการ มีต้นทุนสูง และที่สำคัญ คือไม่สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสองฝั่งคลองได้อย่างเต็มศักยภาพ
2. แนว 5A
ยาวประมาณ 102 กม. ขุดเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามันระหว่างจังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล แต่ก็มีปัญหาเดียวกับแนว 2A คือไทยได้สูญเสียดินแดนภาคใต้ในแหลมมะลายู ให้กับประเทศอังกฤษในยุคการล่าอาณานิคม (ต่อมาก็ตกเป็นของมาเลเซียหลังจากมาเลเซียได้รับเอกราช)
แนว 5A แม้จะเป็นแนวที่มีระยะทางสั้น แต่หากขุดคลองในแนวนี้ประเทศที่จะได้ประโยชน์และสามารถต่อรองกับไทยได้มากที่สุดก็คือมาเลเซีย เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนในทะเล มาเลเซียสามารถอ้างสิทธิและต่อรองผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับพม่าในแนว 2A
3. แนว 7A
ยาวประมาณ 100 กม. เป็นแนวที่จะขุดเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามันระหว่างจังหวัดสงขลาและจังหวัดตรัง แต่ก็มีสภาพปัญหาคือ พื้นที่ส่วนมากเป็นเนินเขา ทำให้ยุ่งยากในการจัดการ และที่สำคัญคือไม่สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสองฝั่งคลองได้อย่างเต็มศักยภาพ
1
4. แนว 9A
เป็นแนวคลองไทยที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน ยาวประมาณ 135 กม. ขุดเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามันผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา
หมายเหตุ : แนวเส้นทางนี้เป็นการตีเส้นและกำหนดพิกัดทางอากาศเบื้องต้น อาจมีความคลาดเคลื่อนบ้าง โดยจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องเมื่อมีการศึกษาถึงขั้นออกแบบเส้นทาง
ที่มา : http://kracanal-maritimesilkroad.com/developments/canal-routes/ คณะกรรมาธิการวิสามัญ
สมาชิกวุฒิสภาได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังในช่วงปี พ.ศ. 2544-2547 และได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในปี พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องรับไปแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาเชิงลึกให้รอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไร
แต่ในตอนนั้นก็ไม่มีรัฐบาลใดสารต่อเรื่องนี้ ประเด็นนี้จึงค้างคาอยู่กว่า 10 ปี
แต่ล่าสุดถือเป็นข่าวดีของคนไทย ! เพึ่งมีมติจากรัฐสภา อนุมัติการตั้งกรรมาธิการศึกษา "การขุดคลองไทย" อย่างจริงจัง
เริ่มจากทิศตะวันตกฝั่งอันดามัน พื้นที่ปากคลองไทยจะอยู่บริเวณเกาะลันตา จ.กระบี่ และ ปางเมง อ.สิเกา จ.ตรัง และแนวคลองไทนยจะผ่าน อ.วังวิเศษ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา เข้าเขตจ.นครศรีธรรมราช อ.ทุ่งสง อ.ชะอวด ผ่านเข้าจังหวัดพัทลุง อ.ป่าพะยอม อ.ควนขนุน ทะเลน้อย และตัดออกทะเลอ่าวไทยทิศตะวันออก ที่คลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา รวม 8 อำเภอ 24 ตำบล 94 หมู่บ้าน
2
ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 135 กม. กว้าง 400 ม. ระดับน้ำลึก 30-40 ม. เพื่อให้เรือขนาด 500,000 ตันแล่นผ่านได้ ความห่างระหว่างคลองคู่ขนานประมาณ 1 กม. มีการสร้างสะพานข้ามคลองไทยตลอดแนว 5 แห่ง
2
ดินที่ได้จากการขุดคลองจะนำไปถมเป็นเกาะเทียม เพื่อนำไปพัฒนาเป็นเมืองใหม่ โดยจะมีทั้งที่อยู่อาศัย โดยให้ประชาชนในพื้นที่เช่าในราคาถูก ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมต่อเรือ
1
เส้นทางขุดแนว 9A ในปัจจุบัน
ผลการศึกษาข้อมูลด้านงบประมาณและผลกระทบ
1. ผลการศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่ง คาดว่าจะใช้งบประมาณ 2 ล้านล้านบาท
2. คาดว่ามีจำนวนประชากรที่ต้องอพยพ 63,441 คน
3. รัฐจะต้องเวนคืนที่ดินจากประชาชนออกไป 4 กิโลเมตร
4. คาดว่าจะทำให้เกิดการจ้างงาน 1-2.5 ล้านตำแหน่ง
2
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคลองไทย ระบุว่า หากมีการขุดคลองไทยจริง เรือขนส่งสินค้าจะแล่นผ่านคลองไทย โดยไม่จำเป็นต้องไปอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนด้า และช่องแคบลอมบ๊อก
2
ปัจจุบันเรือขนสินค้าผ่านทางตอนใต้ของไทยปีละกว่า 100,000 ลำ ผ่านไปยัง 3 ช่องแคบนี้ ซึ่งเป็นทางเดินเรือหลักของโลกผ่านประเทศสิงคโปร์ โดยที่ไทยก็ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ เลย
3
หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ รายงานว่า ในปี 2050 ประมาณเรือที่ผ่านช่องแคบมะละกาจะเพิ่มอีกได้ถึง 4 เท่าตัว จากระดับในปี 2010
ถ้าสร้างคลองไทยแนว 9A เรือที่วิ่งไปยังช่อง แคบมะละกา ก็จะร่นระยะทางได้ 1,000-1,400 ก.ม. หรือประมาณ 2-3 วัน
เรือขนาดใหญ่มีค่าใช่จ่ายวันละ 3 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าประกันสินค้า ถ้าลดเวลาในการขนส่งลง 2-3 วันก็เท่ากับลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง 6-9 ล้านบาท !
เรือที่ผ่านช่องแคบมะละกามีมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
จุดเด่นและประโยชน์ของแนว 9A
1. ไม่ผ่านพื้นที่ที่มีความสำคัญเช่น เนินเขา พื้นที่แนวสองฝั่งคลองส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษได้ตลอดแนว
1
2. พื้นที่ทั้งบนบกและในทะเลอยู่ในเขตของประเทศไทย ไม่มีประเทศใดสามารถอ้างสิทธิประโยชน์ได้
3. มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเลน้อยที่สุด และยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ตรงที่สุดระหว่างสองคาบมหาสมุทร
4. พิกัดของแนวคลองไทย 9A ในแผนที่โลก เป็นศูนย์กลางทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทุกประเทศที่รายล้อมรอบภูมิภาค
5. ปากคลองไทยฝั่งอันดามันเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกฝั่งตะวันตกตั้งแต่พม่า ศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน แถบตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา
1
6. ตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน สามารถพัฒนาเป็นท่าเรือขนาดใหญ่เพิ่มศักยภาพของระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ ตอบสนองความต้องการของประชากรกว่า 4,000 ล้านคน
1
7. สามารถตั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ เนื่องจากมีน้ำมันดิบทั้งในตะวันออกกลางและในอ่าวไทย ประเทศไทยจะสามารถขายน้ำมันได้เป็นลำดับต้นๆของโลก และจะสามารถกำหนดราคากลางน้ำมันในภูมิภาคได้
8. ปากคลองไทยฝั่งอ่าวไทยเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกฝั่งตะวันออกตั้งแต่ประเทศกัมพูชา เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น
9. ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยสามารถพัฒนาเป็นท่าเรือขนาดใหญ่เพิ่มศักยภาพการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลก นอกจากนี้ยังเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งรวมผลผลิตทางการเกษตรทุกชนิดในภูมิภาค เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าด้านการเกษตรและประมงเพื่อการส่งออก และสามารถพัฒนาเป็นตลาดกลางของสินค้าเกษตร รวมถึงการกำหนดราคากลางสินค้าเกษตรในภูมิภาคได้
10. พื้นที่แนวกลางคลอง คือบริเวณอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอห้วยยอด และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งทั้งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งทางบกสามารถพัฒนาได้ทั้งระบบราง และระบบถนน เป็นชุมทางการขนส่งเพื่อเชื่อมต่อไปยังเขตเศรษฐกิจต่างๆทั้งแนวปากคลองอ่าวไทยและอันดามัน
1
11. ท่าเรือสำคัญทั้ง 2 ฝั่ง แนวกลางคลองเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะสร้างสนามบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจไปสู่เมืองสำคัญต่างๆทั่วโลก
12. พื้นที่แนวกลางคลองเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงิน และการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก หลายพื้นที่สามารถพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่พักสำหรับนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว หรือบุคลากรในระดับต่างๆ
1
ฝ่ายที่สนับสนุนโครงการคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 50,000 - 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งน่าจะมีความคุ้มค่ากับเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งเรือเดินสมุทรที่แล่นผ่านช่องแคบมะละกาและสิงคโปร์นั้น มีปริมาณมากจนล้น ถึงขนาดที่เรือขนาดใหญ่เป็นแสน ๆ ตัน ต้องเลี่ยงไปใช้ทะเลของอินโดนีเซียเพื่อผ่านออกไปทางทะเลจีนแล้วขนสินค้าไปที่เมืองท่าของจีนแทน
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการให้ข้อมูลว่าโครงการนี้มีผลประโยชน์น้อย ไม่คุ้มกับวงเงินลงทุน พวกที่สนับสนุนไม่รู้เรื่องพาณิชย์นาวีอย่างแท้จริง โดยบอกว่าปีหนึ่งๆ ไทยจะได้รายรับประมาณ 145,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ต้องลงทุนประมาณ 5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นค่าขุดคลอง 1.36 ล้านล้านบาท ค่าขนย้ายดินหินและสร้างสะพาน 640,000 ล้านบาท ค่าสร้างเกาะเทียมและท่าเรือ 250,000 ล้านบาท ค่าขุดร่องน้ำเดินเรือ 1 ล้านล้านบาท
ขุดคลองไทยแล้วจะมีเรือผ่านไหม ?
มี 6 เหตุผลหลักที่เรือจะเลือกผ่านคลองไทยเมื่อเทียบกับช่องแคบมะละกา
1. รวดเร็วกว่า
การผ่านคลองไทยใช้เวลาน้อยกว่าผ่านช่องแคบมะละกา ประมาณ 2-3 วัน และระยะทางสั้นกว่า ประมาณ 1,200 กม.
1
2. ประหยัดกว่า
ระยะเวลาระยะทางที่น้อยลง ทำให้ประหยัดทั้งค่าน้ำมันและค้าประกันสินค้าไปพร้อม ๆ กัน โดยบริษัทเรือจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 3-5 ล้านบาท/วัน
3. ปลอดภัยกว่า
การผ่านคลองไทยไม่มีปัญหาโจรสลัดเหมือนช่องแคบมะละกา รวมทั้งปลอดภัยจากการเฉี่ยวชน
4. สะดวกกว่า
การผ่านคลองไทยสะดวกกว่า เนื่องจากการผ่านช่องแคบมะละกาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบของทั้ง 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
5. สบายกว่า
การผ่านคลองไทยสบายกว่า เนื่องจากช่องแคบมะละกามีปริมาณเรือที่คับคั่งมาก ทำให้เดินเรือได้ช้า และเสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชน
6. ปัจจัยอื่น ๆ
เช่น มีแหล่งซื้อเสบียงราคาถูก มีแหล่งซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง มีแหล่งซื้อขายน้ำจืด และความสะดวกในการสับเปลี่ยนลูกเรือ เป็นต้น การผ่านคลองไทยจะสามารถซื้อเสบียง น้ำจืด และสินค้าที่จำเป็นอื่นๆ ในราคาที่ถูกกว่าสิงคโปร์ และมีความสะดวกในด้านต่างๆ ที่จำเป็นแก่การเดินเรือ
1
การขุดคลองไทยจะช่วยกระตุ้น GDP ของประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ มีการประมาณการว่ารายได้ของประเทศไทยตอนนี้อยู่ที่ปีละ 2.2 ล้านล้านบาท แต่เม็ดเงินที่จะเพิ่มมาจากการขุดคลองไทยมีมูลค่าสูงถึง 4.7 ล้านล้านบาท นั่นหมายถึง GDP ไทยอาจจะโตขึ้นถึง 3 เท่า หรือ 300% !!!
รายได้ต่อปีจากค่าธรรมเนียมผ่านคลอง สุเอซ เพียงอย่างเดียว กว่า 170,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ "คลองไทย" ยังช่วยส่งเสริม 5 ยุทธศาสตร์ของภาครัฐ ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง เป็นประเทศที่มีรายได้สูง
1. ด้านเกษตรกรรม
คลองไทยจะเป็นสิ่งที่นำสินค้าภาคการเกษตรของไทยและเพื่อนบ้านออกสู่ตลาดโลกได้สะดวกมากขึ้น
2. ด้านอุตสาหกรรม
โครงการต่าง ๆ ที่จะตามมาหลังจากการขุดคลองไทยนั้นจะช่วยยกระดับความสามารถในด้านอุตสาหกรรมของไทยมากขึ้น
3. ด้านการท่องเที่ยว
หากไทยเปิดคลองไทยจริงจะยิ่งเป็นการยกระดับการท่องเที่ยวของไทยขึ้นมากไปอีก
1
4. ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
ด้วยเนื้อหาและเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวมาในบทความ เป็นสิ่งยืนยันว่าไทยจะยกระดับในด้านนี้อย่างแน่นอน
5. ด้านการลงทุน
คลองไทยจะทำให้สัดส่วนการลงทุนของประเทศเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
"คลองไทย" ช่วยส่งเสริม "EEC"
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ว่าด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นโครงการที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ซึ่งดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
1
เป้าหมายหลักคือ "การเติมเต็มภาพรวมในการส่งเสริมการลงทุน" ซึ่งจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว โดยในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัดคือ ชลบุรี, ระยอง และ ฉะเชิงเทรา
โครงการคลองไทยจะช่วยส่งเสริม EEC ดังนี้
1. เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าเข้า-ออก ไปยังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ลงทุนอุตสาหกรรมชั้นสูงในพื้นที่ EEC ช่วยลดต้นทุนให้อุตสาหกรรมใน EEC สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ช่วยประหยัดเวลาขนส่งได้ 1-3 วัน
2. ลดกรรมวิธีทางศุลกากร เนื่องจากคลองไทยตั้งอยู่ในเขตแดนของไทย ขั้นตอนการผ่านศุลกากรจึงทำที่ปลายทาง หากจะพึ่งพาท่าเรือทวายให้เป็นจุดรับส่งสินค้าจากทางยุโรป จะต้องเสียเวลากับการตรวจผ่านดินแดนของพม่า ประกอบกับการเมืองของพม่ายังไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในอนาคตอาจสร้างความยุ่งยากให้กับไทยได้
3. สามารถเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามันของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวแต่ละปีมากถึง 20 ล้านคน เข้ากับเขตพื้นที่ท่องเที่ยวตามแนว EEC ตามแผนการพัฒนาโครงการ EEC ที่จะพัฒนาให้เขตพัทยากลายเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ และ จ.ฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตพื้นที่เชิงธรรมชาติที่จะรองรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 40 ล้านคน/ปี กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการ
4. ลดความแออัดของสังคมเมืองในภาคกลาง-ตะวันออก ที่ปัจจุบันประชากรกว่า 1 ใน 5 ของประเทศ อาศัยอยู่ในบริเวณ EEC หากโครงการ EEC ทำสำเร็จจะยิ่งส่งผลให้จังหวัดเหล่านี้มีความแออัดสูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา โครงการคลองไทยจะช่วยกระจายความเจริญไปยังภาคใต้ลดความแออัดของพื้นที่ EEC
1
5. โครงการ EEC จะส่งผลให้ปริมาณสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้น ส่งเสริมให้กองเรือพาณิชย์ของไทยที่ปัจจุบันอยู่ลำดับที่ 4 ของอาเซียน ขยายขนาดของกองเรือทั้งจำนวนและขนาด เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมใน EEC หากมี "คลองไทย" ที่สามารถเชื่อม 2 ฝั่งทะเลของไทยได้ กองเรือของไทยย่อมสามารถพัฒนาได้เหนือกว่ามาเลเซีย อินโดนีเซีย หรืออาจจะเทียบเท่าสิงคโปร์ เพราะสามารถเชื่อมต่อสู่ยุโรป เอเชียใต้ และจีน ได้ไวกว่าใช้ช่องทางของสิงคโปร์ถึง 2 วัน
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นด้านความเสี่ยงและผลกระทบที่ควรคำนึงถึงอีก ก่อนที่จะมีการตัดสินใจเดินหน้าขุดคลองไทย
1.ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
จะต้องมีการบริหารชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมมาก
1
2. ความเสี่ยงด้านอุตสาหกรรมชายฝั่ง
การบริหารงานต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดการติดขัด
3. ความเสี่ยงต่อสังคม และ วิถีชีวิตท้องถิ่นที่จะเปลี่ยนแปลงไป
คนไทยในบริเวณนั้นจะต้องอพยพไปอยู่ที่ไหน ? จะทำอาชีพอะไร ? แล้วมีอะไรรองรับเป็นหลักประกัน ?
4. ความเสี่ยงทางด้านอธิปไตย
ไทยจะบริหารอย่างไร ถ้าหากปล่อยให้มหาอำนาจเข้ามามีผลประโยชน์ในคลองไทยมากเกินไป อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับคลองสุเอซ และคลองปานามา
5. ความเสี่ยงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 1
ว่าด้วยราชอาณาจักรไทยมิอาจแบ่งแยกได้ ซึ่งการขุดคลองไทยจะต้องตอบโจทย์ด้านนี้ให้ดี (แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครคิดว่าการตัดผ่านคลองจะเป็นการแบ่งแยกดินแดน)
6. ความเสี่ยงในการจูงใจ
จะทำอย่างไรให้สายการเดินเรือขนาดใหญ่ของโลกเปลี่ยนมาเป็น คลองไทย แทนที่คู่แข่งที่มีความพร้อมสูง อย่างสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย
7. ทางเลือกในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้
มีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการขุดคลองไทยหรือไม่ ?
1
8. ความท้ายทายด้านการวิเคราะห์ประโยชน์-ต้นทุน
หากวิเคราะห์ต้นทุนหรือประมาณการต่าง ๆ ได้ไม่ดีอาจเป็นาเหตุให้โครงการต้องสูญเสียงบประมาณหลายพันถึงหลายแสนล้านบาทโดยเปล่าประโยชน์
9. ความเสี่ยงจากทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ทำนายว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะทำให้เกิดเส้นทางเดินเรือเส้นใหญ่ในขั้วโลกเหนือขึ้นภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางเดือนเรือทั่วทั้งโลก และเมื่อนั้นอาจจะทำให้คลองไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก
บทสรุป
1
ข้อดีของเส้นทาง 9A
1
1. ไม่มีปัญหาด้านความมั่นคง เป็นตำแหน่งศูนย์กลางภาคใต้ ห่างจากชายแดนพม่าประมาณ 500 ก.ม. และห่างจากประเทศสิงคโปร์ประมาณ 1,200 กม. นับจากเส้นทางที่ขุด
2. ทางภูมิรัฐศาสตร์บริเวณคลองที่ขุดส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธร้อยละ 95 และรวมพื้นที่ใกล้เคียงในแนวคลองทั้งหมดเป็นชาวไทยพุทธ ทำให้เกิดปัญหาแบ่งแยกดินแดนได้ยาก
3. อยู่ในเส้นทางเดินเรือสากล และสามารถพัฒนาท่าเรือหลบมรสุมได้ทั้ง 2 ฝั่งทะเล
4. ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีความพร้อม มีถนน และเครือข่ายทางบกที่สมบูรณ์ และอยู่ศูนย์กลางการเส้นทางต่าง ๆ (ถนนทางหลวงหมายเลข 4, รถไฟ 2 สาย และสนามบินอยู่ใกล้ 3แห่ง)
5. มีแหล่งน้ำจืดที่ใช้ในกิจการบริการคลองและสนุบสนุนอุตสาหกรรมได้เพียงพอ
6. มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นเมืองใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
7. มีความหนาแน่นของประชากรน้อย ลดต้นทุนค่าขนย้ายและค่ารื้อ
8. ระดับน้ำทะเลทั้ง 2 ฝั่งต่างกัน 25-50 เซนติเมตร จึงไม่ต้องมีประตูน้ำปากครอง
9. ประชาชนในแนวคลองทั้ง 23 อบต. สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการปรับแนวคลองตลอดแนวขุด
1
ข้อเสียของเส้นทาง 9A
1. ระยะทางยาวประมาณ 135 กิโลเมตร ยาวกว่าเส้นทางอื่นอีก 3 เส้นทาง
2. มีพื้นที่พาดผ่านเนินเขาประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช
3. มีแนวคลองบางส่วนผ่านป่าพรุควนเคร็ง ต้องพัฒนาพื้นที่ให้เหมาะสม ไม่งั้นจะเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
4. ไม่สามารถสร้างท่าเรือริมทะเลตะวันออกได้ ต้องพัฒนาป่าพรุควนเคร็งบางส่วนเป็นท่าเรือ
5. ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องคำนวณถึงอย่างรอบคอบตามที่ได้ชี้แจงไปข้างต้น
1
***ทิ้งท้าย***
ยังมีข้อมูลอีกด้านที่ไม่สนับสนุนการขุด "คลองไทย" โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจและน่าติดตาม ซึ่งทางเพจเรายังนำเสนอข้อมูลด้านนี้ได้ไม่เพียงพอ ท่านผู้อ่านสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ https://www.facebook.com/NoThaiCanal/
การกดไลค์ของคุณเป็นกำลังใจให้เราในการพัฒนาผลงานต่อไป
Money Maker

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา