19 ก.พ. 2020 เวลา 06:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
🔥🌪 พูดได้ไม่เต็มปากว่า "เครื่องกรองอากาศบนรถเมล์" ช่วยลดปัญหา PM2.5 ได้แค่ไหน ?
ยังจำเครื่องเก็บเงินบนรถเมล์ได้หรือเปล่า ? ครั้งนั้นยังไม่ทันติดตั้งครบ 2,600 คัน ในปี 2561 ก็เกิดปรากฎการณ์กลายเป็นที่ทิ้งขยะ ทิ้งตั๋ว ดูโสโครกจนต้องถอนออกแทบไม่ทัน แต่บางคันก็ยังมีซากเหลืออยู่ ไม่รู้ว่าครั้งนั้นไทยเราเสียงบประมาณไปกี่บาทกับการติดตั้งเจ้าเครื่องนี้
ที่มาจาก https://www.posttoday.com/social/hot/526868
เพียง 1 ปีเท่านั้น ก็ได้มีการติดตั้งเครื่อง EDC บนรถเมล์ ขสมก. เพื่อรองรับการชำระเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งถือว่ายังมีความปราณีหน่อยตรงที่ได้ใช้จริงอยู่บ้าง
ภาพจาก https://www.thaipost.net/main/detail/30808
และไม่รู้ว่าเกิดอุตริวิสัยอะไรขึ้น คิดว่าการติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนรถเมล์ 3,000 คัน แล้วจะช่วยลดมลภาวะจาก PM2.5 ขึ้นมาได้ ทั้ง ๆ ที่อากาศในกรุงเทพนั้นเป็นระบบเปิด
ซึ่งเราจะสามารถลด PM2.5 ได้อย่างไรในขณะที่รถยนต์ยังปล่อย PM2.5 ออกมาทวีคูณอยู่ทุกคันในขณะที่รถเมล์นี้อาจจะวิ่งอยู่ได้ตลอด
โดยใครสักคนหนึ่งผุดไอเดียนี้ขึ้นมา บอกว่าเป็นสิ่งที่อังกฤษเคยทำมาก่อนใน เซาท์แฮมป์ตั้น ซึ่งครั้งนั้นเขาทำสิบคัน (5-30 คัน) และยังไม่มีข้อมูลออกมายืนยันว่าทำออกมาเพื่อใช้จริง ซึ่งใน สหราชอาณาจักร เขามีรถประจำทาง 5,000 คัน และเป็นแนวคิดว่ารถเมล์ที่ออกใหม่จะติดตั้งเจ้าเครื่องกรองอากาศนี้
เครื่องกรองอากาศ 3 ตัว ถูกติดตั้งบนหลังคา เพื่อให้ดูดอนุภาคสารพิษที่ดักจับได้ด้วย Filter โดยคำนวณได้ว่าจะช่วยทำความสะอาดอากาศ 3.2 ล้านคิวบิกเมตร ในใ 100 วัน โดยใช้งบประมาณ 6 ยูโร
ที่มา : https://edition.cnn.com/2020/01/24/uk/pollution-sucking-buses-scli-gbr-intl-scn/index.html
ซึ่งโมเดลนี้ ฟังดูเจ๋ง แต่หากนำมาใช้กับไทย พี่ช่วยดูระบบท่อไอเสียของรถบ้าน รถประจำทางในปัจจุบันด้วย รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมรอบเมือง และลมประจำทิศ ที่พัดผ่านมาจากประเทศจีน
โมเดย Bluestar ติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนรถเมล์อังกฤษ
โดย การทดสอบเครื่องกรองอากาศต้นแบบบนหลังคารถ ขสมก. ไทยนั้นระบุว่าจะช่วยกรองอากาศได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการวิ่ง 1 เที่ยว ด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
ฟังแล้วสวยงามมาก
แต่ลืมไปว่าไม่ใช่ระบบปิด
ทีนี้ เหมือนเราจะมีคนที่มีความรู้ มาบอกกล่าวไม่มากนัก หรือไม่มีการ Research กันเท่าไหร่ กระทั่งมีอาจารย์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ออกมาคำนวณให้ดู ดั่งแผนภาพด้านล่างนี้
ดร.ระชา เดชชาญชัยวงศ์
โดยสามารถสรุป Air Filtration Bus Model ได้ดังนี้
1. ระบบจะสามารถทำได้ดีดั่งที่กล่าวตามหลักการได้จริง ต่อเมื่อไม่มีฝุ่นในอากาศเกิดขึ้นใหม่เลย เพื่อให้อากาศที่กรองมาใหม่แล้วไปผสมกับฝุ่นที่เกิดขึ้นใหม่
2. ต่อให้สามารถทำให้กรุงเทพ เป็นระบบปิดได้จริง อากาศในกรุงเทพจะมี 156,900 ล้านลูกบาศก์เมตร (โดยคำนวณจากพื้นที่ความกว้างของกรุงเทพ 1,569 ตารางกิโลเมตร)
3. หากติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนรถเมล์ครบ 3,000 คัน โดยกรองได้ชั่วโมงละ 20,000 ลูกบาศก์เมตร ในเวลา 12 ชั่วโมง เครื่องกรองอากาศจะกรองได้ 720 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
🔥🌪 ซึ่งมันผิดหลักตั้งแต่แรก ที่เราไม่สามารถทำให้กรุงเทพ เป็นระบบปิดได้
🚥 สรุปสั้น ๆ ก็คือ ถ้าเราต้องการฟอกอากาศในกรุงเทพให้ได้ทั้งหมดใน 1 วัน ต้องใช้รถเมล์ที่ติดเครื่องกรองอากาศ 530,000 คัน...
เกือบจะสรุปได้ว่า เครื่องกรองอากาศ 3,000 คัน กรองอากาศได้ 0.46% เท่านั้น แต่สรุปแบบนี้ไม่ได้ เพราะอากาศในกรุงเทพไม่ใช่ระบบปิด เพราะฉะนั้นเครื่องกรองนี้ไม่ช่วยอะไรเลย เพราะมีฝุ่นเกิดใหม่ตลอดเวลา..
โปรไฟล์ ดร.ระชา เดชชาญชัยวงศ์
🎇 ทั้งหมดนี้ต้องไปปรบมือให้กับ ดร.ระชา เดชชาญชัยวงศ์ ซึ่งหากไม่อธิบายออกมาให้เห็นภาพ จะมีอีกกี่คนที่เข้าใจผิด และไม่เห็นข้อมูลจริงว่าเกิดอะไรขึ้น
สังเกตได้จากสมการที่ ดร. ยกมา มันไม่ยากเลย คำนวณด้วยโจทย์ปัญหาแบบเด็ก ป.6 ก็ตอบได้
หยุดทำร้ายประเทศไทย ด้วยการใช้งบกองทุนอะไรสักอย่างไปละลายแม่น้ำเถอะครับ
เห็นข่าว คลังเพิ่งกู้เงินธนาคาร 20,000 ล้านบาท
ต่อให้การติดเครื่องกรองอากาศบนรถเมล์ใช้งบเพียง 9 - 15 ล้านบาท แต่มันก็ไม่ใช่เศษเงิน
เศรษฐกิจแบบนี้ ประหยัดได้ก็ประหยัดเถอะครับ
19.02.2020

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา