27 ก.พ. 2020 เวลา 01:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"Thermoscan" ใช้ได้จริงแค่ไหน
ทำไมเราปล่อยคนป่วยเข้าประเทศ?
Thermoscan หรือเรียกชื่อทางการว่า Non-contact infrared thermometer หรือปรอทวัดการแผ่รังสีอินฟราเรดแบบไม่สัมผัส
หลักการคือใช้กล้องจับรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวของคนนั่นเอง ตัวเครื่องไม่สามารถวัดอุณหภูมิแกนกลางที่บ่งว่าเป็นไข้จริงๆได้ ถ้าผิวภายนอกไปอังแอร์ หรือเอาน้ำแข็งโปะมาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่เจอคนเป็นไข้ นอกจากนี้ระยะห่างการตั้งเครื่องกับคนที่ถูกวัดก็สัมพันธ์กับความแม่นยำเช่นกัน
ตัวปรอทวัดไข้เหน็บรักแร้เองก็ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น เหงื่อ หรือปริมาณไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้อุณหภูมิคลาดเคลื่อนได้ถึง 0.5 องศาเซลเซียส ขณะที่ thermoscan รุ่นถูกหน่อยคลาดเคลื่อนได้ถึง 2 องศาเลยทีเดียว
1
ตัวเครื่องจะให้เราตั้งค่าว่าจะให้ร้องเตือนที่อุณหภูมิเท่าไหร่ ถ้าเกินเครื่องจะร้องเตือน ทำให้ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีวาทศิลป์นั่งเฝ้าเครื่องตลอดเวลา
3
- แถลงการณ์วันที่ 25/2/63 มีถ้อยแถลงจากท่านอธิบดีว่า
"เคยมีองค์กรระหว่างประเทศบอกว่า *มาตรการการคัดกรองตามด่าน (Entry screening) มันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ* แต่ก็ต้องทำอยู่ดี"
1
- มีคำถามมากมายว่าเราปล่อยคนเสี่ยงผ่านสนามบินเข้ามาได้ยังไง เพราะคนไม่มีไข้ย่อมผ่าน Thermoscan ง่ายดาย แพร่เชื้อจนหนำใจก่อนตระหนักได้ว่าฉันเริ่มมีอาการแล้วนะ น่ากลัวไหมนะ ไปรพ.หน่อยละกัน
วันนี้เรามาวิเคราะห์ตัว Thermoscan กันครับ
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคล่าสุด ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ 1,798 ราย มาจากสนามบินเพียง 70 ราย (ตามข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ยังหาไม่เจอว่าผู้ป่วยยืนยัน 40 คน มาจากการคัดกรองที่สนามบินกี่คน)
มาดูข้อมูลจากงานวิจัย
[1] ในประชากรผู้เดินทางจากประเทศออสเตรเลียไปประเทศนิวซีแลนด์ทั้งสิ้น 5,274 คนร่วมตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย
- ความไว (Sensitivity) ของการใช้ Thermoscan ในการตรวจจับไข้ เท่ากับ 84%
(เทียบกับวัดอุณหภูมิทางหู โดยใช้เกณฑ์มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งตรงกับเกณฑ์บ้านเรา)
หมายความว่าถ้ามีคนที่เรายิงหูวัดอุณหภูมิแล้วเจอไข้ 100 คน Thermoscan จะตรวจจับได้เพียง 84 คน! (ซึ่งถือว่าเก่งอยู่นะ วางทิ้งไว้รอร้องเตือน สะดวกสบาย)
1
ข้อมูลที่น่าสนใจมาก(จากงานวิจัย[1])คือ
- มี 1,275 คนยินยอมให้ตรวจไข้หวัดใหญ่ และพบเชื้อทั้งสิ้น 30 คน แต่มีเพียง 2 คนจาก 30 เท่านั้นที่มีอุณหภูมิตรวจทางหู มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส แปลว่า 30 คนนี้เดินผ่าน Thermoscan จะเตือนแค่คนกว่า ๆ เท่านั้นเอง ที่เหลือก็เข้าประเทศแบบฟรีสไตล์
1
งานวิจัยที่[2] อันนี้สรุปจากหลายประเทศที่ใช้มาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1
- สรุปว่าการใช้ Thermoscan ไม่มีผลในการถ่วงเวลาในเกิดการแพร่ระบาดอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ
1
สรุปได้อย่างชัดเจนว่า Thermoscan นั้นมีประสิทธิภาพต่ำในการคัดกรอง และยิ่งเทียบกับต้นทุนที่สูง ทั้งตัวเครื่อง กำลังคนที่ต้องไปเปลี่ยนผลัดกันเฝ้าในแต่ละจุดตลอด 24 ชั่วโมง!!
1
เลิกทำเลยสิ?
- คงจะเลิกทำไม่ได้ เพราะการคัดกรองที่ด่านเช่นสนามบิน ถือเป็นหน้าตาของประเทศ ที่จะโชว์ความจริงจัง ให้ทั้งคนไทยและต่างชาติเห็น
- และถ้าหากจับเชื้อได้เพิ่ม 1 คนที่ด่าน("ถ้าหาก") ถือว่าเรายับยั้งการแพร่กระจายเชื้อได้แทบจะสมบูรณ์ทีเดียว
1
- เราจึงต้องมีมาตรการอื่นมากมาย เช่นมีการคัดกรองเฉพาะกลุ่มเพิ่มเติม เรือโดยสาร Westerdam และ Diamond Princess ในการห้ามเข้าประเทศ และกักตัวคนไทยทุกราย ซึ่งก็คงจะทำไม่ได้หากไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำด่านเพียงพอ
- และอย่าลืมหลักการตะแกรงสามชั้น ชั้นแรกที่ด่าน ชั้นสองโรงพยาบาล และชั้นสามที่ชุมชน ซึ่งก็เข้มข้นทุกขั้น
- จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องช่วยกันวิเคราะห์และนำเสนอ ว่าตอนนี้เรายังควรทุ่มทรัพยากรทั้งคน เงิน และของ (เช่นเครื่องป้องกัน) กับตะแกรงตาห่างชั้นที่หนึ่ง หรือเราควรลด และหันไปจัดทรัพยากรให้ตะแกรงอื่นเพิ่มแทน
1
- เพราะคงจะกล่าวไม่ได้เต็มปากว่าคุ้มทุน ในการแลกด้วยการอดหลับอดนอนของเจ้าหน้าที่หลายชีวิต
โฆษณา