8 มี.ค. 2020 เวลา 23:31
กองทุน RMF : #2 เรื่องที่หลายคน...เข้าใจคลาดเคลื่อน
เมื่อจะลงทุนกับ RMF เราก็ต้องทราบกฎกติกาต่างๆ ของ RMF เพราะ RMF มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ในเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาหลายครั้ง และในปี 2563 นี้ก็มีการปรับเปลี่ยน คือ
1. การขยายสิทธิจาก 15% เป็น 30% ของรายได้ แต่ยังคงเพดานสูงสุดที่ 500,000 บาท และ
2. ไม่กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำต่อปีแต่ต้องมีการซื้ออย่างต่อเนื่อง
2
รวมทั้งอาจมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เราต้องถูกปรับเงินจากการผิดเงื่อนไขการใช้สิทธิทางภาษี มาดูกันในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นที่คงมักเข้าใจคลาดเคลื่อนกันครับ
Cr. Pexels.com
1) กองทุน RMF มีรูปแบบการลงทุนที่หลากหลายให้เราเลือก
RMF มีกองทุนหลากหลายที่มีนโยบายการลงทุนให้เลือกตามระดับความเสี่ยงน้อย เสี่ยงมาก เหมือนกับกองทุนรวมแบบเปิดที่มีอยู่ในตลาด อาทิ กองทุนหุ้น ทองคำ อสังหาฯ ต่างประเทศ สินทรัพย์ทางเลือก ตราสารหนี้ และกองทุนผสม ฯลฯ ซึ่งต่างจากกองทุน LTF ที่เป็นกองทุนรวมประเภทหุ้น (ก็เพราะวัตถุประสงค์เริ่มแรกของ LTF คือการช่วยพัฒนาตลาดทุนไทยนั่นเอง) กองทุน RMF ทุกกองจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล
2
RMF เป็นการออมระยะยาว จึงควรพิจารณาจัดพอร์ตการลงทุน (Asset Allocation) ซึ่งเป็นการจัดสรรเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการลงทุนและเป็นการสร้างผลตอบแทนให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ
2) ผลตอบแทนของ RMF เทียบกับ LTF และผลตอบแทน SET
ที่ผ่านมากองทุน LTF และ กองทุน RMF ที่มีนโยบายการลงทุนคล้ายกัน ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตใกล้เคียงกัน และเมื่อเทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาเดียวกันก็ถือว่ามีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่สอดคล้องกัน (ข้อมูลจาก ตลาดฯ อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี ณ สิ้นปี 2561 เท่ากับ 16.87%)
สำหรับข้อมูล 9 เดือนปี 2562 ขอลงให้เห็นตัวเลขเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้เพราะระยะเวลาที่สั้นและความผันผวนของตลาด
ข้อมูลจาก Morning Star Direct
ถ้าต้องการดูผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุน RMF ที่ถืออยู่ สามารถเข้าไปดูได้ด้วยตัวเองที่ Morningstar Thailand หรือ AIMC หรือสอบถามจากผู้แนะนำการลงทุนฯ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนนะครับ
3) เรามีสิทธิลดหย่อนภาษีจาก RMF เท่าไหร่
1
สิทธิลดหย่อนทางภาษีของ RMF ที่กรมสรรพากรกำหนดและเริ่มใช้ในปีภาษี 2563 คือสูงสุด 30% ของรายได้ที่เสียภาษี และเมื่อรวมกับการออมเพื่อการเกษียณที่กำหนดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3.1 เรามีการออมเพื่อการเกษียณอายุต่อไปนี้อยู่แล้วเท่าไหร่
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข)
- กองทุนครูโรงเรียนเอกชน
- ประกันบำนาญ (เบี้ยที่จ่ายในปี)
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช)
หากทั้งหมด รวมกับ SSF แล้วยังไม่เกิน 500,000 บาท ก็สามารถซื้อ RMF ได้ตามจำนวนเงินที่คำนวณได้ แต่เมื่อรวมกับการออมเหล่านี้ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
4
3.2 ฐานรายได้ที่ใช้คำนวณ คือเงินได้ทุกประเภทที่ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น ไม่ว่าเราจะนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณภาษีหรือเลือกที่จะแยกเสียภาษีตามเงินได้แต่ละประเภทก็ตาม ฉะนั้นเงินได้ที่เราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและเราเลือกการเสียภาษีแบบไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีในแบบ ภงด 90/91 (ส่วนมากเป็นรายได้แบบ passive income) ก็ถือเป็นรายได้ที่เราสามารถเอามาคูณ 30% เพื่อได้จำนวนเงินที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนในปีนั้น เงินได้เหล่านี้มีอะไรบ้าง
1
กลุ่มประเภทเงินได้ที่ได้รับเป็นประจำ ได้แก่
(1) เงินเดือน และเงินค่าตอบแทนต่างๆ (ยื่นคำนวณ ภงด 90 / 91)
(2) ค่าเช่าบ้านและทรัพย์สิน และลิขสิทธิ์
(3) เงินปันผล และเครดิตภาษีเงินปันผล (ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย) จากธุรกิจที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
(4) เงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวม (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย)
(5) ดอกเบี้ยรับจากธนาคารพาณิชย์ (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย) ทั้งนี้ยกเว้นธนาคารที่ได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก เช่นธนาคารออมสิน
3
กลุ่มประเภทเงินได้ที่ได้รับเฉพาะคราว เช่น
(6) เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน (ซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้) ไม่ว่าจะรวมคำนวณหรือแยกคำนวณ
(7) เงินค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ส่วนที่เกินจากค่าชดเชยค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000 บาท (เป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้)
(8) เงินบำเหน็จ
(9) กำไรจากการขายหน่วยลงทุน LTF (LTF ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีในส่วนของ capital gain แต่ RMF ได้รับการยกเว้นตามหลักเกณฑ์)
2
เรามาดูตัวอย่างของการคำนวณ RMF จากฐานเงินได้ที่ได้รับเป็นประจำกันครับ
1
4) หลักเกณฑ์การซื้อ RMF เพื่อใช้สิทธิลดหย่อน
1
ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปเงื่อนไขใหม่ของ RMF คือ ไม่กำหนดการซื้อขั้นต่ำ (กองทุน RMF มักกำหนดการซื้อขั้นต่ำต่อครั้งไม่น้อยกว่า 500 บาท) แต่ต้องลงทุน 5 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ระงับการซื้อเกิน 1 ปีติดต่อกัน
1
แต่ว่า RMF ที่ซื้อก่อนปี 2562 ยังเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม คือกำหนดขั้นต่ำ 3% หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดต่ำกว่า หากซื้อต่ำกว่าข้อกำหนดถือเสมือนเป็นการระงับการซื้อกองทุนในปีนั้น
1
ดังนั้น...หากในปี 2562 เราเกิดมีการระงับการซื้อกองทุนโดยการซื้อไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ในปี 2563 นี้ เราจะต้องมีการซื้อ RMF เพื่อไม่ให้เป็นการระงับการซื้อ 2 ปีติดต่อกัน
- ถ้าหากเราระงับการซื้อเกิน 2 ปีติดต่อกัน หรือเราซื้อไม่ครบ 5 ปีบริบูรณ์ จะมีผลให้เราต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง (โดยนับเฉพาะปีที่ซื้อ)
1
- RMF นับการซื้อแบบวันชนวัน คือจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เราซื้อ RMF ในปีแรก ไม่ใช่การนับแบบปีปฎิทิน การขายกองทุนจึงต้องดูวันที่ซื้อกองทุนในปีที่ 1 ประกอบด้วย
5) หลักเกณฑ์การขาย RMF เพื่อใช้สิทธิลดหย่อน
2
- เงื่อนไขลงทุน 5 ปี ไม่ใช่ปีปฎิทิน แต่เป็นการนับเฉพาะปีที่ซื้อ RMF อย่างน้อยตามเกณฑ์ขั้นต่ำ เช่น ถ้าเราซื้อปีที่ 1/2/3/5/6 โดยระงับการซื้อในปีที่ 4 การนับ 5 ปีก็คือครบในปีที่ 6
- เมื่อเราถือ RMF จนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนมาไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว จะเลือกซื้อ หรือ ไม่ซื้อต่อก็ได้ และจะขายทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยกำไรที่ได้ไม่ต้องเสียภาษี
1
- กรณีขายคืนก่อนอายุ 55 ปี แต่ถือมากกว่า 5 ปี ต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง แต่ได้รับการยกเว้นภาษีจาก capital gain จากการถือครบ 5 ปี
1
- กรณีขายคืนก่อนอายุ 55 ปี และถือไม่ถึง 5ปี ต้องคืนภาษีย้อนหลัง และเสียภาษีจาก Capital gain เหมือนกองทุนอื่นๆ หากมีการหัก ณ ที่จ่ายสามารถเลือกไม่นำรายได้มารวมคำนวณ โดยจะเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย 10%
3
- กำไรจากการขาย RMF ส่วนเกินสิทธิ จะต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ในปีที่ขาย RMF
1
บทสรุป.... เงื่อนไขต่างๆ ในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ซับซ้อน ทำให้หลาย ๆ คนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และอาจมีการซื้อหรือขาย RMF ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีคืนพร้อมเงินดอกเบี้ยปรับ โดยเฉพาะการขายคืนก่อนอายุครบ 55 ปี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ไม่ยาก
หากถูกเรียกคืนภาษี พร้อมดอกเบี้ยย้อนหลัง จะเป็นอัตราภาษีขั้นบนสุดที่เราเสียภาษี จึงไม่คุ้มค่ากับการเลือกทำผิดเงื่อนไขของ RMF
การลงทุนใน RMF แล้วจึงควรปฎิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนด หลักเกณฑ์ใหม่ที่เริ่มในปี 2563 ไม่กำหนดขั้นต่ำเป็นการช่วยผ่อนปรนภาระและความรู้สึกว่าต้องลงทุนจำนวนมากทุกปี เราจึงควรซื้อทุกปีและหลีกเลี่ยงการระงับการซื้อในช่วง 5 ปี
1
RMF มีประโยชน์และช่วยสร้างการออมเพื่อการเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใช้สิทธิทางภาษีด้วย RMF
1
บทความนี้รวบรวมประเด็นหลักๆ มาเพื่อให้คนอ่านมีความเข้าใจในเบื้องต้น ปฎิบัติเพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการออมใน RMF ได้อย่างสบายใจครับ
1
ข้อมูลเพิ่มเติม :
SSF กองทุนการออมใหม่ที่หลายคนเข้าใจว่ามาแทน LTF (และก็มีข่าวจากกระทรวงการคลังที่จะใช้ SSF แก้ปัญหาของตลาดจากการหายไปของ LTF ในระยะสั้น) SSF มีการจัดตั้งกองทุนได้หลากรูปแบบไม่ต่างจาก RMF เพียงแต่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 นี้ SSF ยังไม่เปิดตัวออกมา ทราบเพียงว่า ขณะนี้มีกองทุนแบบไม่ซับซ้อนและส่วนมากเป็นกองทุนหุ้นได้รับอนุมัติจาก กลต แล้วจำนวน 17 กองทุน ( ณ วันที่ 6 มีค 63) และน่าจะมีกองทุนรวมบางกองทุนที่มีในตลาดอยู่แล้วทำเพิ่มเป็น SSF เพื่อความรวดเร็วในการออกกองทุน และตัดสินใจได้ง่ายขึ้นจากศึกษาผลงานของกองที่มีแล้ว ก็คงต้องรอดูรายละเอียดกันต่อไป
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา