16 เม.ย. 2020 เวลา 18:13 • การศึกษา
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ 2546
มีผลบังคับใช้เมื่อ 12 มิถุนายน 2546
4 หมวด 90 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
มาตรา 4 วิชาชีพ หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตลอดจนการสนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา หมายความว่า
1 ครู
2 ผู้บริหารสถานศึกษา
3 ผู้บริหารการศึกษา
4 บุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศน.)
ครู หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตการศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
บุคลากรทางการศึกษาอื่น หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนการนิเทศ และการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
หน่วยงานการศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่กำกับดูแลสนับสนุนส่งเสริมให้บริการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
ศึกษาธิการกำหนดให้สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นหน่วยงานการศึกษา
สถานศึกษา หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงาน ตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์)
ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการวิทยาลัย รองผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ เป็นต้น
หมวด 1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 7 ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเรียกว่า คุรุสภา มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีฐานะเป็นนิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา 8 คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1 กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
2 กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
3 ประสานส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
มาตรา 9 คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1 กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2 ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
3 ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
4 พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
5 สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
6 ส่งเสริม สนับสนุนยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
7 รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆตามมาตรฐานวิชาชีพ
8 รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
9 ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
10 เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
11 ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้บังคับใช้ได้
12 ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
13 ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฎกระทรวงระเบียบและประกาศต่างๆ
14 กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
15 ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
กำหนด + ควบคุม + ออก + พัก +เพิ่ม + รับรู้ + รับญา
มาตรา 10 คุรุสภาอาจมีรายได้ดังนี้
1 เงินค่าธรรมเนียม
2 เงินอุดหนุน จากงบประมาณแผ่นดิน
3 ผลประโยชน์ จริงๆจากการจัดการทรัพย์สิน และจะการดำเนินกิจการของคุรุสภา
4 เงินทรัพย์สิน ซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
5 ดอกผลของเงิน และทรัพย์สินตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณรวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมอื่น ฉบับละ 500 บาท
ค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ครั้งละ 200 บาท
ค่าหนังสือรับรองขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 300 บาท
ค่าหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ฉบับละ 400 บาท
ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท
จำ**
ต่อ 200 แทน 200 รอง 300 อนุมัติ 400 ขึ้น 500
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการคุรุสภา
มาตรา 12 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการคุรุสภา จำนวน 39 คน ล่าสุดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2560 มีคณะกรรมการคุรุสภาจำนวน 12 คน ให้เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ
ส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา 21 ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพจำนวน 17 คน
1 ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเกี่ยวกับวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
2 คณะกรรมการโดยตำแหน่ง 5 คน ได้แก่
2.1 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา
2.3 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
2.4 เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2.5 เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน
4 กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์หรือการศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 2 คน
5 กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวน 4 คน
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ซึ่งดำรงวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าเชี่ยวชาญ
ให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 25 อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
1 พิจารณาการออกใบอนุญาต ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
2 กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ
3 พัฒนาและเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ส่วนที่ 4 การดำเนินงานของคุรุสภา
มาตรา 39 เลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่ดูแลรักษาทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาต
ส่วนที่ 5 การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา 43 ให้วิชาชีพ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัตินี้ 46
การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่น ศึกษานิเทศก์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 49
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1 ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2 ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3 นักเรียนนักศึกษาหรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอนซึ่งทำ การฝึกหัดหรืออบรมในการควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรมทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4 ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5 ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6 คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7 ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8 บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
1 พระภิกษุที่ทำหน้าที่สอนหรือบริหารการศึกษา
2 ผู้สอนตามโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ
3 ข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่ทำหน้าที่สอนหรือบริหารโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
4 ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมผู้ทำหน้าที่สอนหรือบริหารโรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา
มาตรา 44 ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
คุณสมบัติ
1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2 มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
3 ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี
ลักษณะต้องห้าม
1 เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
2 เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
3 เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
เสื่อม + ไร้ + คุก
มาตรา 49 ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพมี 3 มาตรฐานประกอบด้วย
1 มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2 มาตรฐานการปฏิบัติงาน
3 มาตรฐานการปฏิบัติตน
รู้ + งาน + ตน
มาตรา 50 มาตรฐานการปฏิบัติตนให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ 5 ด้านประกอบด้วย
1 กันยายนต่อตนเอง
2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5 จรรยาบรรณต่อสังคม
ตน ชีพ รับ ร่วม คม
มาตรา 51 บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ของผู้ได้รับใบอนุญาต มีสิทธิ์กล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตผู้นั้นโดยทำเรื่องยื่นต่อ คุรุสภา
กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรือบุคคลอื่นมีสิทธิ์กล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพว่าผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพโดยแจ้งเรื่องต่อ คุรุสภา
สิทธิการกล่าวหาสิ้นสุดลงเมื่อพ้น 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่อง
มาตรา 52 เมื่อคุรุสภาได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ ให้เลขาธิการคุรุสภาเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า
มาตรา 53 ให้ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มพิจารณา
ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษมีสิทธิ์ทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานใดๆ ส่งให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรืออนุกรรมการภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
มาตรา 54 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
1 ยกข้อกล่าวหากรณีที่ไม่ผิด
2 ตักเตือน
3 ภาคทัณฑ์
4 พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5 ปี
5 เพิ่มถอนใบอนุญาต
ยก ตัก ภาค พัก เพิก
วินิจฉัยโทษ 5 สถาน
กรณีที่ผิด 4
ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 54 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอน จะยื่นขออีกไม่ได้จนกว่าจะพ้น 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน
ส่วนที่ 6 สมาชิกคุรุสภา มี 2 ประเภท ดังนี้
1 สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้มีใบอนุญาต
2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้ง
หมวด 2
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา สกสค. ทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 9 คน
หมวด 3 การกำกับดูแล
มาตรา 75 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงาน
1 คุรุสภา
2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา สกสค.
รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณของรัฐให้คุรุสภาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพและบุคลากรทางการศึกษา
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพิ่มเติม เช่น ผู้อำนวยการอาชีวศึกษาหรือวิทยาลัย ผอ. กศน. หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้อำนวยการกองการศึกษา อบจ. ครูโรงเรียนเอกชน
หมวด 4 บทกำหนดโทษ
1 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ประกอบอาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต
2 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่แสดงด้วยวิธีใดๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ์ หรือพร้อมประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา หรือ รับผู้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา หรือ อยู่ในระหว่างพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุม
1 2 ไม่มีใบอนุญาตแล้วไปสอน
3 6 แอบอ้าง พักใช้ รับผู้ไม่มีใบอนุญาตมาสอน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ
1 พัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2 เพื่อปรับสภา ในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู
2.1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเรียกชื่อว่า คุรุสภา มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ
2.2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงการศึกษา
3 เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมย์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา