Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ
•
ติดตาม
26 เม.ย. 2020 เวลา 07:00 • การศึกษา
เหตุเกิดจากความเหงา
โดยทั่วไปแล้วความเหงาเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ ใหญ่ ใคร ๆ ก็มีความเหงาได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะคนที่เพิ่งพลัดพรากจากคนรักไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม นอกจากนั้นอาจจะเป็นคนที่ต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างถิ่น ต่างแดน ห่างไกลจากคนรู้จักห่างไกลจากเพื่อนและคนคุ้นเคย เป็นต้น
โดยทั่วไปผู้ที่อยู่ในสภาวะเหล่านี้ มักจะมีอารมณ์ความรู้สึกว่าตัวคนเดียว เวลานี้ไม่มีใครเหลืออีกแล้ว ซึ่งคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็มีความเหงาได้ เพราะเหงาหรือไม่เหงานั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของผู้ที่มาชื่นชอบเรา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเพื่อนของเรา หรือคนในครอบครัวมากน้อยเพียงใดมากกว่า“ปริมาณของเพื่อนไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของเพื่อน” เพื่อนที่คุยกันได้ทุกเรื่อง เวลาที่เรามีความสุข เพื่อนก็ยินดีกับเรา เวลาที่เรามีความทุกข์ เพื่อนก็รับฟังและคอยปลอบใจเรา ดีกว่าเพื่อนที่วางอุเบกขา เฉยเมยอยู่เสมอ คือไม่ยินดียินร้ายกับเรา ไม่ได้สนใจเราเป็นต้น
ประเภทของคนเหงา
ประเภทที่ 1
บางทีเราจะเห็นว่าคนเหงาแสดงออกหลายอย่าง ลักษณะแรกคือ “แสดงออกตรง ๆ” เช่น อาจจะโพสต์สเตตัสตนเองในเฟซบุ๊กว่าตอนนี้รู้สึกเหงา หรือเขียนในไดอารี่ตนเอง หรือเขียนผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อระบายให้เพื่อน ๆ รู้ว่าตอนนี้รู้สึกเหงา
ประเภทที่ 2
“แสดงอาการบึ้งตึง ขึงขัง และก้าวร้าว” และอาจจะหงุดหงิดพาลใส่คนอื่น
ประเภทที่ 3
ชอบเก็บตัว “ปลีกวิเวก แยกตนเองออกจากสังคม”
ประเภทที่ 4
“สร้างภาพว่าตนเองมีความสุข” สนุกกับงานประจำที่ทำอยู่ไม่มีเวลาที่จะเหงาเลย แต่ความจริงลึก ๆ ในใจมีความเหงาซ่อนอยู่ตลอดเวลา เข้ากับสำนวนไทยที่ว่า “หน้าชื่นอกตรม” คือ แสร้งทำเป็นว่าภายนอกสนุกสนานเต็มที่ แต่จริง ๆ ภายในนั้นโดดเดี่ยวมาก
ประเภทที่ 5
“แสร้งทำตลกกลบเกลื่อน” บางคนพยายามแสดงอารมณ์ว่าตนเองมีอารมณ์ขัน เป็นตัวตลกของเพื่อน ๆ เพื่อกลบเกลื่อนความเหงาของตนเอง
ประเภทที่ 6
“ซึมเศร้าหงอยเหงา” คิดว่าตนเองไม่มีค่า ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจตนเองอย่างแท้จริง
ประเภทที่ 7
“มีพฤติกรรมติดเหล้า ติดบุหรี่” มักจะออกไปเที่ยวกลางคืนเพื่อปลดปล่อยอารมณ์เหงา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นบ่อเกิดแห่งการทำร้ายตัวเองและคนรอบข้าง
ประเภทที่ 8
“ชอบแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ” เช่น ชอบส่งเสียงดัง หรือเปิดเพลงดัง ๆ ให้คนอื่นได้ยินด้วย ซึ่งการแสดงพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการเรียกร้องความสนใจ
ซึ่ง 2 ประเภทสุดท้ายนี้ มีลักษณะของพฤติกรรมที่อาจจะดู
เผิน ๆ เหมือนไม่ใช่คนที่มีความเหงา
จากการแสดงออกของคนเหงาทั้ง 8 ประเภท มีทั้งแบบเปิดเผยและแบบปกปิด แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของตนเองทั้งนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมี “วิธีเอาชนะความเหงา”
เจริญพร
5 บันทึก
31
1
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตามหลวงพี่ไป go inter in Japan
5
31
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย