5 พ.ค. 2020 เวลา 12:42 • ประวัติศาสตร์
เจาะลึกวิธีการประหารชีวิตด้วยการตัดศรีษะและสถานที่ใดในยุครัตนโกสินทร์ที่เคยใช้ประกอบพิธีดังกล่าวในอดีต?
ภาพที่เชื่อว่าเป็น ‘นางล้วน’
ย้อนไปในยุคที่ประเทศยังมีการประหารโดยใช้วิธีกุดหัว อย่างที่ทราบดี วิธีประหารนี้ได้ใช้มาอย่างยาวนานหลายร้อยปี และต่อมาได้ยกเลิกเปลี่ยนเป็นการยิงเป้าแทน
โดยผู้ที่ถูกประหารด้วยวิธีตัดศรีษะเป็นคนสุดท้าย บ้างก็ว่าเป็นบุญเพ็งหีบเหล็ก แต่เจาะเวลาหาอดีตได้ค้นคว้าในเรื่องนี้ กลับพบว่า ผู้ที่ถูกประหารเป็นคนสุดท้ายคือ นางล้วน ในช่วง พ.ศ. 2477 บ้างก็ว่าเป็น พ.ศ. 2478 โดยมีเพชรฆาตดาบสุดท้าย มีชื่อว่า นายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง อ้างอิงจากข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์เรือนจำกรุงเทพมหานคร (สวนรมณีนาถ)
เพชรฆาตดาบคนสดท้าย
ผมจะพาท่านผู้อ่านเจาะลึกวิธีการว่าเขาทำกันอย่างไร รวมทั้งจะบอกสถานที่ที่ในอดีตนั้นเคยใช้เป็นลานประหารกุดหัวนักโทษ
2
ในยุคช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นถึงกลาง การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบมักจะทำพิธีกันที่วัด เพื่อสะดวกต่อการประกอบพิธี
เริ่มจากเมื่อคณะลูกขุน ณ ศาลหลวง วางโทษประหารชีวิต จะนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงกรุณาโปรดเกล้าให้ลงโทษตามความผิด
1
เมื่อศาลตัดสินประหารแล้ว นักโทษจะถูกนำตัวมาถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือไว้เป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันการเปลี่ยนตัว จากนั้นนักโทษจะถูกส่งตัวเข้าไปจองจำในห้องขังของนักโทษประหารโดยเฉพาะในกองมหันตโทษ ภายในระยะเวลา 1 ปี เพื่อรอกำหนดวันประหารจากกระทรวงมหาดไทยส่งมา
ภาพคุกเก่า
เมื่อกรมราชทัณฑ์ได้รับหมายกำหนดคำสั่ง ก็จะทำการเบิกตัวนักโทษมาพิมพ์ลายนิ้วมืออีกครั้งเพื่อตรวจสอบว่าเป็นคนเดิมจริง รวมทั้งให้โจทย์ พยานในเหตุการณ์หรืออัยการมายืนยันตัวอีกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เบิกตัวไปประหารผิดคน
การนำนักโทษไปประหารมักจะเริ่มทำตั้งแต่วันเสาร์ดำเนินการเพื่อให้ทันไปประหารในวันจันทร์ ผู้คุมจะคุมตัวนักโทษที่ต้องโทษประหารออกมาช่วงเย็น ประมาณ 16.00 น. ทำการถอดตรวนที่เท้าและเปลี่ยนมาใส่กุญแจมือแทนเพื่อให้สะดวกต่อการถอดและให้เปลี่ยนชุด ผู้ชายจะให้ใส่กางเกงและเสื้อสีขาว ส่วนผู้หญิงจะให้นุ่งผ้าพื้นสีเขียวและใส่เสื้อสีขาว นักโทษส่วนใหญ่จะรู้ชะตากรรมที่กำลังจะมาถึง หากมีการดำเนินการในลักษณะนี้เกิดขึ้น
คุกเก่า
พอเช้าวันอาทิตย์จะมีการนำคำพิพากษามาอ่านให้นักโทษฟัง ต่อมาจะมีพระมาเทศน์เรื่องบาปบุญ 1 กัณฑ์ โดยทำการนิมนต์มาจากวัดแคนางเลิ้ง(วัดสุนทรธรรมทาน) และจะมีการจัดอาหารคาวหวานมื้อสุดท้ายให้นักโทษกินในเย็นวันอาทิตย์ แต่ส่วนมากนักโทษก็มักจะกินมื้อสุดท้ายนี้ไม่ลง
ท่าเรือบริเวณกรมเจ้าท่าปัจจุบัน
เมื่อวันประหารมาถึง จะนำนักโทษออกจากเรือนจำเวลาตี 2 ขึ้นรถยนต์ไปต่อเรือที่กรมเจ้าท่า ตลาดน้อย ซึ่งเรือที่เช่าไว้ดำเนินการคือเรือขนข้าวเปลือก และใช้เรือยนต์ของกรมเจ้าท่าลากจูงไปตามแม่น้ำ ถ้ามีเรือไทยมุงตามมาดู ตำรวจจะกำชับไม่ให้เข้าใกล้
ดำเนินการมุ่งสู่ลานประหาร
มีการทำพิธีบวงสรวง ณ จุดที่ประหาร โดยมีเจ้าเมืองและกรมการเมืองมาตรวจดูความถูกต้องและเป็นสักขีพยาน จากนั้นจึงปล่อยให้ญาติเข้าร่ำลาครั้งสุดท้าย
3
ส่วนสถานที่ประหารที่ทางการกำหนดไว้ต้องให้ห่างไกลจากตัวเมืองหลวง เช่น ในรัชกาลที่ 5 ได้ ใช้วัดโคกหรือวัดพลับพลาชัยเป็นแดนประหาร ต่อมาชุมชนบ้านเรือนกลับหนาแน่นขึ้น จึงได้ย้ายออกห่างไปใช้วัดมักกะสัน วัดภาษีริมคลองแสนแสบและวัดหนองจอก ส่วนฝั่งธนก็จะเป็นย่านสำเหร่และวัดคลองบางปลากด พระประแดง สมุทรปราการ ซึ่งต่อมาก็ย้ายจากวัดคลองบางปลากดไปใช้วัดโบสถ์แทน
1
วัดมักกะสัน
วัดภาษี
วัดบางปลากด ภาพจาก: https://m.facebook.com/MindMint06/posts/403617580319237
วัดพลับพลาชัย : https://www.edtguide.com/travel/90581/wat-phlabphlachai
ก่อนเพชรฆาตจะเริ่มพิธีการ นักโทษจะถูกนำตัวไปมัดติดกับแท่นประหารกลางลานกว้าง พนมมือถือดอกไม้ธูปเทียน ใช้ปูนเขียนรอยรอบคอ บ้างก็ใช้ดินเหนียวอุดปาก อุดหู และแปะไว้ที่ต้นคอของนักโทษ เพื่อกำหนดจุดฟัน
เพชรฆาตจะมีสองนาย คือ ดาบหนึ่งและดาบสอง เพชรฆาตทั้งสองจะร่ายรำดาบ รอจังวะให้จิตนักโทษสงบลง หรือดึงความสนใจนักโทษจากด้านหน้า เมื่อดาบหนึ่งที่ยืนอยู่ด้านหลังฟันคอไม่ขาด ดาบสองที่อยู่ตรงหน้าจะรีบซ้ำทันทีเพื่อให้นักโทษเสียชีวิตแบบไม่ทุกข์ทรมาน
เมื่อคอขาดเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสอบพร้อมลงนามรับรองการประหาร จากนั้นเจ้าหน้าที่จะตัดส้นเท้า เพื่อถอดตรวนแล้วสับร่างแล่เนื้อให้แก่กาแร้ง
1
จบพิธี.....
ขอยกตัวอย่างเคสนักโทษประหารผู้หนึ่ง คือ
“อีทองเลื่อน” นักโทษประหารหญิงที่ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตขณะตั้งครรภ์ แต่ศาลสั่งให้เลื่อนเวลาออกไป โดยเมตตาให้ลากลับไปอยู่บ้านเพื่อคลอดลูก หลังจากนั้นจึงกลับมาเข้าหลักประหาร
“อีทองเลื่อน” ก่อคดีฆ่าคนตาย โดยหักคอเด็กหญิงซึ่งเป็นน้องสาวของผัวตัวเองตายที่พระประแดง เพื่อแย่งชิงมรดก อย่างไรก็ตามศาลเมตตาให้เวลาจนคลอดบุตรแล้วเสร็จ รวมทั้งจัดหาเพชรฆาตมือดี เพื่อให้ไม่ต้องทรมาน แต่เมื่อช่วงเวลาการลงดาบมาถึง เพชรฆาตกลับพลาด ดาบสองต้องลงมือซ้ำ จนเป็นที่ร่ำลือกันมากในครั้งนั้นว่า นักโทษ”อีทองเลื่อน” คงก่อกรรมไว้สาหัสนักจึงตายยากลำบากเพียงนี้
สุดท้ายแล้วการประหารที่ใช้กันมาหลายร้อยปีจึงถูกยกเลิกไปในที่สุด เพื่อให้ทันต่อยุคสมัย ซึ่งการประหารที่น่ากลัวเช่นนี้ถูกมองว่ามีความรุนแรงและดูเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน จึงเปลี่ยนมาเข้าสู่วิธีประหารโดยใช้การยิงเป้าแทนในกาลต่อมา
1
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
1
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- หนังสือกรมราชทัณฑ์ พ.ศ. 2525
- หนังสือโทษประหาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา