🚩ที่ดินก็ไม่ได้...เงินก็ต้องเสีย...😥
สภาพพื้นที่ดินในจังหวัดผมส่วนใหญ่จะเป็น พื้นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ บางอำเภอก็อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติก็มีหลายอำเภอ ถ้าส่วนไหนเป็นประเภทป่าเสื่อมโทรมที่ไม่สามารถบำรุงรักษาเป็นผืนป่าได้แล้ว หรือกลายเป็นแหล่งชุมชน ก็จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน หรือที่รู้จักกัน ก็คือ ส.ป.ก.
แล้วยังมีที่ดินประเภท ภ.บ.ท.5 ซึ่งเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจว่า ใบ ภ.บ.ท. 5 เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ บางที่ก็ต้องอธิบายให้ฟังจนเหนื่อยกว่าจะเข้าใจ 😓
บางปีก็จะมีราชกิจจานุเบกษาประกาศเดินสำรวจที่ดินเพื่อออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ให้แก่ที่ดินที่ไม่หลักฐานทางทะเบียน เช่นไม่มีโฉนด ไม่มี นส นส. 3 ที่ดินที่ได้ออกเอกสารสิทธิประเภทนี้จะห้ามโอน 10 ปี พูดง่าย ๆ ห้ามซื้อขายภายใน 10 ปี นั้นแหละครับ
แต่อย่างว่า ห้ามกันไม่ได้ ก็ในเมื่อโอนทางทะเบียนไม่ได้ก็ขายกันปากเปล่าทำสัญญากันไว้เฉย ๆ ก็ได้..ฟะ 😄
ขอบคุณภาพจาก pixabay
😏😏 มีชาวบ้านที่ได้รับเอกสารสิทธิจากการที่รัฐออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ มาปรึกษาบ่อย ๆ ว่าอยากจะขายที่ดินก่อนพ้นกำหนดห้ามโอน ผมก็บอกว่ามันทำไม่ได้ กฎหมายเขาห้าม ถ้าทำสัญญาซื้อขายก็จะเป็นโมฆะ บางคนเข้าใจ บางคนก็รั้นก็ไปทำสัญญาซื้อขายกันเอง
เหตุผลที่เป็นโมฆะ เพราะมันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ⛔
การทำสัญญาก็เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 149 ก็คือ เป็นการกระทำการใด ๆ ด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิ ครับ
1
แต่การที่คิดว่า ทำสัญญากันแล้ว ไม่น่ามีปัญหา มันไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพราะนิติกรรมที่ทำกันนั้นต้องดูวัตถุประสงค์ของนิติกรรมด้วยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 😈 ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์มาตรา 150 บัญญัติไว้ว่า
การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ 😉
โดยเฉพาะถ้ามีการจ่ายเงินค่าที่ดินกันแล้วไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เงินที่จ่ายไปนั้นก็เรียกคืนไม่ได้ เพราะเป็นการชำระหนี้อันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานชย์มาตรา 411 ที่บัญญัติว่า
บุคคลใดการทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี บุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องทรัพย์คืนได้ไม่ 😏
😏😏 ธรรมดาครับเมื่อกระทำการทั้งที่กฎหมายห้าม มันก็เกิดปัญหา มีคดีเกิดขึ้นเรื่องนึง ผู้ซื้อทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นโฉนดที่มีกำหนดห้ามโอน 10 ปี ในราคา 1,000,000 บาท วางมัดจำ 400,000 บาท อีก 600,000 บาทจะชำระวันโอนกรรมสิทธิ์ ในอีก 1 เดือน ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน และผู้ซื้อรู้มาโดยตลอดว่าที่ดินห้ามโอน และเมื่อโอนไม่ได้ก็เรียกเงินคืน ซิครับ
ผู้จะซื้อนำคดีขึ้นสู่ศาล สู้คดีจนถึงศาลฎีกา ครับ ศาลฎีกามีคำพิพากษา โดยเป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 6399/2551 วินิจฉัยว่า
🚩โจทก์ทราบดีมาแต่แรก ว่าขณะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท นั้น มีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี แต่โจทก์ก็ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญาดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินมัดจำไปเป็นเงิน 400,000 บาทจึงเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฏหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ว่าด้วยเรื่องลาภมิควรได้ มาตรา 411 บัญญัติว่า บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี บุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม๋ โจทก์จึงไม่อาจเรียกเงิน มัดจำ
400,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยคืนจากจำเลย 😥😥😥
เป็นไงครับ ผู้จะซื้อก็เงิบไปซิครับ ที่ดินก็ไม่ได้ แถมต้องเสียเงินไปฟรี ๆ อีก 😖😖😖😖
จริง ๆ มันทีช่องทางออกครับเหมือนหมอที่ต้องหาวิธีรักษา ผมเป็นทนายความ ผมก็ต้องหาทางออกที่ไม่ผิดกฏหมายเช่นเดียวกัน
แต่มันบอกไม่ได้ครับเดี๋ยวไม่มีงานทำ 🤐🤐🤐
ถ้ามีประโยชน์กดไลค์ครับ ,ใช่กดแชร์ไม่มีรังแค กดติดตามครับ
บุญรักษาทุก ๆ ท่าน ขอบคุณครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา